โปรแกรม ITAP สวทช. เครือข่าย ม.พะเยา ช่วยพัฒนา SME เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพแก่ผู้ประกอบการภาคเหนือ


โปรแกรม ITAP สวทช. เครือข่าย ม.พะเยา ช่วยพัฒนา SME เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพแก่ผู้ประกอบการภาคเหนือ

เครือข่ายโปรแกรม iTAP ภาคเหนือ

โปรแกรมสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม (ITAP) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ร่วมกับมหาวิทยาลัยพะเยา ซึ่งเป็นเครือข่ายโปรแกรม iTAP ภาคเหนือ เข้าพัฒนาและปรับปรุงเพื่อสนับสนุนผู้ประกอบการ SME ในจังหวัดลำปางและพะเยา เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพให้แก่ผู้ประกอบการรายเล็กให้เติบโตอย่างยั่งยืน

ดร.นันทิยา วิริยบัณฑร

ดร.นันทิยา วิริยบัณฑร ผู้อำนวยการโปรแกรมสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม (ITAP) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กล่าวว่า โปรแกรม ITAP สวทช. ภายใต้ กระทรวง อว. เป็นกลไกที่สำคัญและมีประสิทธิภาพอันหนึ่งของรัฐบาลในการพัฒนา SME ไทย เพื่อพัฒนาเทคโนโลยี นวัตกรรม ช่วยลดต้นทุน และเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต “ปัจจุบัน ITAP มีเครือข่ายทั่วประเทศ 19 แห่ง และมีผู้เชี่ยวชาญจากมหาวิทยาลัยและสถาบันวิจัยต่าง ๆ ไม่น้อยกว่า 1,500 ราย และพร้อมเปิดรับผู้ประกอบกสนทีกกลุ่ม ทุกพื้นที่ เข้าร่วมโครงการนี้” ดร.นันทิยา กล่าว

รศ.ดร.ต่อพงศ์ กรีธาชาติ

รศ.ดร.ต่อพงศ์ กรีธาชาติ ผู้จัดการเครือข่าย ITAP-UP มหาวิทยาลัยพะเยา กล่าวว่า ม.พะเยาได้เข้าไปเป็นเครือข่ายในปี 2561 โดยทางเครือข่ายจะรับโจทย์จากผู้ประกอบการและช่วยสรรหาผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง เข้าไปช่วยเหลือบริษัทในโจทย์ต่าง ๆ ซึ่งตลอด 3 ปีที่ผ่านมา สามารถสนับสนุนธุรกิจในระดับ SME ให้สามารถพัฒนาประสิทธิภาพได้ผลเป็นที่น่าพอใจ

“ปัจจุบันผู้ประกอบการรายเล็ก ๆ ต่างหันมาให้ความสำคัญกับการพัฒนาเทคโนโลยี นวัตกรรม และสิ่งแวดล้อมมากขึ้น จึงเป็นโอกาสดีที่ทางมหาวิทยาลัยซึ่งเป็นเครือข่าย iTAP จะได้ร่วมทำงานกับผู้ประกอบการที่กำลังประสบปัญหา เช่น บริษัท รวมพรมิตรฟาร์ม จำกัด ที่ประสบปัญหาระบบบำบัดน้ำเสียแบบไม่ใช้อากาศ และ โครงการ “การพัฒนาระบบอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์แบบเรือนกระจก เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการผลิตเส้นขนมจีนอบแห้ง” ของ ห้างหุ้นส่วนจำกัด ไฮ โซ แซ่บ เป็นโครงการที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้แก่ผู้ประกอบการได้ตามวัตถุประสงค์ของโครงการ”

บริษัท รวมพรมิตรฟาร์ม จำกัด ประสบปัญหาเศษขนไก่จากโรงเรือนหลุดเข้าไปบ่อรวบรวมน้ำเสีย ซึ่งเป็นบ่อพักเพื่อนำน้ำเสียเข้าสู่ระบบบำบัดน้ำเสียแบบไร้อากาศ เป็นผลให้การทำงานของจุลินทรีย์แบบไม่ใช้อากาศภายในบ่อหมักไม่เต็มประสิทธิภาพ ส่งผลถึงผลพลอยได้จากระบบคือ ก๊าซชีวภาพได้ไม่เต็มตามที่ควรจะได้

ชาญวิทย์ เวชชากุล

จากปัญหาดังกล่าว ชาญวิทย์ เวชชากุล กรรมการผู้จัดการ บริษัท รวมพรมิตรฟาร์ม จำกัด จึงเข้าไปขอคำปรึกษาจากโปรแกรม iTAP เครือข่ายม.พะเยา ทำให้ปัญหาได้รับการแก้ไขอย่างตรงจุด ตอบโจทย์ความต้องการได้ดี ช่วยบริษัทลดความเสี่ยงในเรื่องการลงทุนเทคโนโลยีเพื่อแก้ไขปัญหา และเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันได้มากขึ้น

“รวมพรมิตรฟาร์ม เป็นผู้ผลิตไข่ไก่รายสำคัญ หากผลิตเต็มกำลังการผลิตสามารถผลอตได้ประมาณ 400,000 ฟองต่อวัน มีไก่ประมาณ 500,000 ตัว จากปริมาณดังกล่าวทำให้มีน้ำเสียเกิดขึ้น ทางฟาร์มได้นำน้ำเสียมาผลิตเป็นก๊าซชีวภาพสำหรับใช้ภายในฟาร์ม แต่ก็มีปัญหาว่าไม่สามารถผลิตได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ จึงขอรับการช่วยเหลือจาก โปรแกรม iTAP เครือข่าย ม. พะเยา ซึ่งปัจจุบันบริษัทสามารถแก้ไขปัญหาน้ำเสียได้แล้ว หมดปัญหาเรื่องกลิ่นเหม็นและจำนวนแมลงวัน อีกทั้งยังสามารถนำก๊าซชีวภาพที่ผลิตได้ไปใช้ประโยชน์ในการผลิตเป็นพลังงานไฟฟ้าสำหรับใช้ภายในฟาร์มได้ถึง 70% ของการใช้ไฟฟ้าทั้งหมดภายในฟาร์ม”

ดร.ศตวรรษ ทนารัตน์

ดร.ศตวรรษ ทนารัตน์ อาจารย์ประจำคณะพลังงานและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยพะเยา ผู้เชี่ยวชาญโปรแกรม ITAP กล่าวว่า เมื่อทางผู้วิจัยรับทราบถึงปัญหของผู้ประกอบ ผู้เชี่ยวชาญโปรแกรม ITAP สวทช. เข้าไปแก้ไขปัญหาโดยทำการปรับปรุงระบบกวนตะกอนในบ่อหมักย่อยน้ำเสีย รวมทั้งทำการติดตั้งเครื่องกวนผสมแบบเชิงกลที่ไม่ทำให้เกิดการเติมอากาศภายในบ่อหมักแบบอัตโนมัติ (PLC) แบบ Airlift เพื่อทำการกวนตะกอนภายในบ่อหมัก เพื่อให้ระบบบำบัดน้ำเสียแบบไม่ใช้อากาศทำงานได้เต็มประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
“น้ำที่ผ่านการบำบัดจะสะอาดได้มาตรฐานตามที่กรมควบคุมมลพิษกำหนดไว้ ซึ่งทีมผู้เชี่ยวชาญมีความพยายามที่จะพัฒนาอย่างต่อเนื่อง โดยจะมุ่งเน้นในเรื่องเพิ่มประสิทธิภาพ สามารถผลิตก๊าซชีวภาพในปริมาณที่สูงขึ้น” ดร.ศตวรรษ กล่าวเพิ่มเติม

การพัฒนาระบบอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์แบบเรือนกระจก เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการผลิตเส้นขนมจีนอบแห้ง

โครงการ “การพัฒนาระบบอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์แบบเรือนกระจก เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการผลิตเส้นขนมจีนอบแห้ง” เป็นโครงการวิจัยที่ทางโปรแกรม iTAP เครือข่าย ม.พะเยา ร่วมกับทางผู้ประกอบการแปรรูปพืชผลทางการเกษตรเป็นเส้นขนมจีนอบแห้งของ “ห้างหุ้นส่วนจำกัด ไฮ โซ แซ่บ” จ.พะเยา เพื่อเพิ่มกำลังการผลิต เพิ่มมูลค่าให้กับพืชผลทางการเกษตรไทย และมีคุณภาพถูกต้องตามหลักอาหารปลอดภัย

วารัทชญา อรรถอนุกูล

วารัทชญา อรรถอนุกูล ผู้จัดการ ห้างหุ้นส่วนจำกัด ไฮ โซ แซ่บ กล่าวว่า “ไฮ โซ แซ่บ เริ่มต้นจากร้านขายข้าวซอยเล็ก ๆ ต่อมาขยายใหญ่ขึ้น จึงเริ่มผลิตสินค้าเกี่ยวกับข้าวซอยจำหน่ายให้แก่ลูกค้า โดยเฉพาะเส้นขนมจีนที่มีจุดเด่นคือ ใช้แป้งข้าวโพดเป็นวัตถุดิบการผลิต แต่ที่ผ่านมามีปัญหาว่าไม่สามารถควบคุมคุณภาพสินค้าได้ตามต้องการ ซึ่งในกระบวนการผลิตนั้นจะต้องนำเส้นขนมจีนไปตากแดดให้แห้ง บางครั้งต้องใช้เวลาถึง 4-5 วัน นอกจากนั้นคุณภาพเส้นยังไม่สม่ำเสมอ ไม่เรียงตัวสวย ต่อมาเราได้พบกับนักวิจ้ย ม.พะเยา ซึ่งได้แนะนำให้เข้าร่วมกับโครงการกับโปรแกรม ITAP ม.พะเยา และได้ทำการติดตั้งระบบอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์แล้ว ช่วยให้กิจการสามารถเพิ่มกำลังการผลิตเส้นข้าวโพดได้มากขึ้น ใช่เวลาน้อยลง โดยเส้นข้าวโพดอบในระบบอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์ จะใช้เวลาเพียง 3 – 4 ชั่วโมง ระบบดังกล่าวยังช่วยให้ผลิตภัณฑ์ที่ผลิตได้ มีความสะอาด ไม่ปนเปื้อนจากฝุ่นหรือแมลงวัน นอกจากนั้นยังนำไปใช้ประโยชน์ในการแปรรูปวัตถุดิบอื่น ๆ เช่น พริก ดอกอัญชัน ดอกงิ้ว และขมิ้น ได้อีกด้วย”

สุรศักดิ์ ใจหลัก และ ศุภฤกษ์ ขาวแดง

ด้าน สุรศักดิ์ ใจหลัก นักวิจัย คณะพลังงานและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยพะเยา ผู้เชี่ยวชาญโครงการ iTAP และ ศุภฤกษ์ ขาวแดง ที่ปรึกษาเทคโนโลยี (ITAP) กล่าวร่วมกันว่า โปรแกรม ITAP เครือข่าย ม.พะเยา ได้ให้ความช่วยเหลือ ห้างหุ้นส่วนจำกัด ไฮ โซ แซ่บ ในด้านการออกแบบและการจัดทำระบบอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์ที่มีมาตรฐาน ศึกษาต้นแบบจากกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงาน และนำมาปรับใช้ให้เหมาะสมกับสภาวะการปฏิบัติงานในพื้นที่ของผู้ประกอบการ และมีความเหมาะสมสำหรับกระบวนการแปรรูปเส้นข้าวโพดอบแห้งที่มีส่วนผสมของพืชผลทางการเกษตร.

ระบบอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์

“ในระบบอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์ จะมีอุปกรณ์ที่สำคัญได้แก่ พัดลมระบายอากาศหรือระบายความชื้น เป็นอุปกรณ์ที่สำคัญยิ่งในการควบคุมอุณหภูมิของอากาศในโรงอบ ผลการดำเนินโครงการ พบว่า ระบบอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์ จะใช้เวลาในการอบเหลือไม่เกินครึ่งวัน อีกทั้งยังไม่มีค่าใช้จ่ายด้านพลังงานต่าง ๆ อีกด้วย” สุรศักดิ์ กล่าว


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เอง โดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save