EECi …เมืองนวัตกรรมเพื่อผลิกโฉมนวัตกรรมของประเทศสู่เชิงพาณิชย์


EECi ...เมืองนวัตกรรมเพื่อผลิกโฉมนวัตกรรมของประเทศสู่เชิงพาณิชย์

ศ. (พิเศษ) ดร.อเนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ลงพื้นที่ตรวจความคืบหน้าการก่อสร้างอาคารสำนักงานใหญ่ EECi และเยี่ยมชมสถาบันวิทยสิริเมธี (VISTEC) และโรงเรียนกำเนิดวิทย์ (KVIS) รวมถึงเยี่ยมชมสวนทุเรียนใน อ.วังจันทร์ จ.ระยอง ซึ่งได้รับการสนับสนุนและส่งเสริมด้วยการนำเทคโนโลยี IoT มาพัฒนาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตแก่เกษตรกร โดยมีผู้บริหารสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ให้การต้อนรับและนำเยี่ยมชมกิจกรรมดังกล่าว

ศ. (พิเศษ) ดร.อเนก เหล่าธรรมทัศน์

ศ. (พิเศษ) ดร.เอนก กล่าวว่า “จากการติดตามและลงพื้นที่พบว่า EECi มีความคืบหน้าอย่างน่าพอใจ โดยทุกอย่างเป็นไปตามแผนที่วางไว้ และคาดว่าเมืองนวัตกรรม EECi จะพรอ้ มเปดิ ดำเนนิ การได้ในช่วงปลายปี พ.ศ. 2564 นี้ ได้อย่างแน่นอน ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นผลงานของหน่วยงานที่รับผิดชอบที่ร่วมมือทำงานกันอย่างแข็งขัน โดยมีเป้าหมายเพื่อผลักดันให้ EECi เป็นเมืองนวัตกรรมที่จะช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน และจะช่วยพลิกโฉมการทำนวัตกรรมของประเทศสู่เชิงพาณิชย์อย่างแท้จริง ช่วยให้ประเทศหลุดพ้นจากกับดักรายได้ปานกลาง ยกระดับและพัฒนาอุตสาหกรรมเดิม รวมถึงสร้างให้เกิดอุตสาหกรรมใหม่ตลอดจนนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนต่อไปในอนาคต”

ขณะนี้การก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์สำคัญที่สามารถรองรับการทำวิจัยขยายผลที่จะเกิดขึ้นในอนาคตของ EECi คืบหน้าไปกว่าร้อยละ 40 แล้ว ทั้งโรงงานต้นแบบไบโอรีไฟเนอรี โรงเรือนฟีโนมิกส์ ศูนย์นวัตกรรมการผลิตยั่งยืน นอกจากนั้นหน่วยงานที่รับผิดชอบได้เร่งหาพันธมิตรทั้งในและต่างประเทศจากหน่วยงานรัฐ เอกชน สถาบันการศึกษา/สถาบันวิจัย โดยขณะนี้มีพันธมิตรกว่า 70 รายแล้ว นอกจากนี้ EECi ยังดำเนินกิจกรรมพัฒนาชุมชนด้วยการนำวิทยาศาสตร์และนวัตกรรมเข้าไปส่งเสริมและสนับสนุนภาคการเกษตร ภาคการศึกษา และวิสาหกิจชุมชนบนพื้นที่ EEC (ฉะเชิงเทรา ชลบุรี และระยอง) เพื่อตอบโจทย์การใช้งานของผู้ใช้ประโยชน์ด้วย

EECi

เขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก หรือ Eastern Economic Corridor of Innovation (EECi) จะเป็นเมืองนวัตกรรมแห่งใหม่ของจังหวัดระยองและของประเทศ บนพื้นที่ EEC เป็นแหล่งพัฒนางานวิจัยขยายผล (Translational Research) และเป็นแหล่งปรับแปลงเทคโนโลยีขั้นสูงจากต่างประเทศ (Technology Localization) ให้เข้ากับบริบทของประเทศไทยและภูมิภาคอาเซียน เพื่อปิดช่องว่างทางเทคโนโลยีของไทย รวมทั้งการพัฒนาและใช้ประโยชน์จากทรัพยากรชีวภาพของไทยที่มีอย่างหลากหลายออกสู่ตลาดโลกที่ด้านหนึ่งมีขีดความสามารถสร้างผลงานแล้วในระดับห้องปฏิบัติการแต่ผลงานที่ได้ส่วนใหญ่ยังส่งไม่ถึงผู้ใช้ประโยชน์ เพราะที่ผ่านมาประเทศไทยไม่ได้ลงทุนกับโครงสร้างพื้นฐานและกลไกขยายผลงานวิจัย และอีกด้านหนึ่งก็ไม่สามารถใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีขั้นสูงจากต่างประเทศได้มากนัก เพราะขาดโครงสร้างพื้นฐานและกลไกที่จะรองรับการปรับแปลงเทคโนโลยีให้เข้ากับบริบทของไทย

EECi

นอกจากนี้ยังได้ดำเนินงานการขยายผลและสนับสนุนถ่ายทอดเทคโนโลยีพร้อมใช้ ตลอดจนองค์ความรู้ด้านการจัดการเกษตรสมัยใหม่ ร่วมกับพันธมิตรทั้งภาคเกษตรกร หน่วยงานภาครัฐภาคสถาบันการศึกษา และภาคเอกชนในพื้นที่ ในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเกษตรอัจฉริยะทั้งในด้านพืชผัก ผลไม้ และประมง ได้แก่ เทคโนโลยีโรงเรือนเพาะปลูกและการบริหารจัดการครบวงจรเพื่อการจัดการการปลูกพืชผักครบวงจร ตั้งแต่การผลิตเมล็ดพันธุ์การเพาะปลูกในโรงเรือน การผลิตสารชีวภาพเพื่อควบคุมโรคพืชและแมลงศัตรูพืชผัก ระบบการผลิตเพื่อให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพและปลอดภัยได้มาตรฐาน เทคโนโลยีโรงเรือนอัจฉริยะพร้อมระบบติดตามและควบคุม เพื่อสาธิตและถ่ายทอดการปลูกพืชมูลค่าสูงเพื่อส่งต่อภาคอุตสาหกรรมแปรรูปในกลุ่ม อาทิ มะเขือเทศ พริกเทคโนโลยีระบบตรวจวัดด้วยเซนเซอร์แบบเครือข่ายไร้สายเพื่อการจัดการและควบคุมอัตโนมัติ สำหรับการจัดการแปลงเพาะปลูกและเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำได้อย่างเหมาะสมและแม่นยำ เทคโนโลยีระบบการให้น้ำตามสภาวะความต้องการของพืชในระบบแปลงเปิด เพื่อการประยุกต์ใช้ในการจัดการทรัพยากรน้ำในสวนทุเรียน สวนมังคุดให้มีประสิทธิภาพและคุ้มค่า โดยถ่ายทอดเทคโนโลยีให้แก่เกษตรกร 29 ชุมชน รวมถึงเกษตรกรแกนนำ และ Young Smart Farmer รวม 29 ราย และร่วมพัฒนาศูนย์เรียนรู้เพื่อการขยายผลการถ่ายทอดเทคโนโลยีร่วมกับภาคเอกชนและภาคการศึกษา 3 แห่ง

พื้นที่ EEC

พร้อมทั้งจัดกิจกรรมการเตรียมพร้อมเพื่อรองรับอุตสาหกรรมฐานชีวภาพ จากงานวิจัยขยายผล (Translational Research) มีการพัฒนาและติดตั้งต้นแบบแพลตฟอร์มอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะเพื่อเกษตรสมัยใหม่ในพื้นที่ ได้แก่ ระบบเกษตรแม่นยำ ฟาร์มอัจฉริยะ (Handy Sense) ติดตั้งในฟาร์มเกษตรกร รวม 34 แห่ง ระบบติดตามแจ้งเตือนสภาพทั้งกายภาพ เคมี และชีวภาพ พร้อมระบบเฝ้าระวังและติดตามการระบาดของโรค สำหรับประมงอัจฉริยะ (Aqua IoT) ขยายผลการใช้งานในฟาร์มของผู้ประกอบการเลี้ยงสัตว์น้ำเศรษฐกิจ (กุ้ง ปลา) รวม 15 แห่ง และอยู่ในระหว่างการพัฒนาระบบบ่อไร้ดินสำหรับการเลี้ยงกุ้งแนวใหม่ที่มีการควบคุมคุณภาพน้ำ มีระบบหมุ่นวนน้ำเติมออกซิเจนประสิทธิภาพสูง ต้นทุนต่ำ เป็นแหล่งข้อมูลการควบคุมสภาพแวดล้อมและการจัดการอาหารตลอดระยะเวลาการเลี้ยงกุ้ง เพื่อการพัฒนาระบบปัญญาประดิษฐ์ในอนาคตอีก 1 ต้นแบบ เพื่อยกระดับรายได้และคุณภาพชีวิตภาคเกษตรกรในพื้นที่ EEC ให้เทียบเท่ากลุ่มการบริการและภาคอุตสาหกรรมด้วย วทน. เพื่อหนุนให้การบริหารและส่งเสริมเขตนวัตกรรม EECi เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ตอบโจทย์การพัฒนาประเทศต่อไป

สมบูรณ์ งามเสงี่ยม

สมบูรณ์ งามเสงี่ยม เกษตรกรเจ้าของสวนทุเรียนบัวแก้วในเขตพื้นที่บ้านวังจันทร์ อ.วังจันทร์ จ.ระยอง มีพื้นที่ปลูกทุเรียนประมาณ 50 ไร่ ในแต่ละปีต้องเสียค่าใช้จ่ายในการสูบน้ำสำหรับรดต้นทุเรียนประมาณ 560,000 บาท ที่ค่าใช้จ่ายสูงเพราะไม่สามารถทราบได้ว่าเวลานั้นพื้นดินต้องการน้ำหรือไม่ ทำให้บางครั้งสูบน้ำรดต้นทุเรียนโดยไม่จำเป็น จึงสูญเสียค่าใช้จ่ายจำนวนมากทางเกษตรกรจึงได้นำเทคโนโลยีการให้น้ำอัจฉริยะสำหรับเกษตรกรแปลงใหญ่ สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สก.) สวทช. มาใช้ในสวน

สมบูรณ์ งามเสงี่ยม
สมบูรณ์ งามเสงี่ยม

นริชพันธ์ เป็นผลดี ผู้ช่วยวิจัยอาวุโส ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) สวทช. เจ้าของผลงาน Handy Sense (ระบบเก็บข้อมูลเซนเซอร์และApplication ในการควบคุมสภาวะแวดล้อม) ได้นำผลงานวิจัยไปถ่ายทอดให้แก่เกษตรกร โดยใช้เซนเซอร์อุณหภูมิความชื้นอากาศร่วมกับเทคโนโลยีระบบให้น้ำอัจฉริยะ โดยจะมีเซนเซอร์วัดอุณหภูมิภาคและความชื้นอากาศ และแจ้งเตือนแบบ Real Time ไปยังเกษตรกรทาง Line เซนเซอร์นี้ใช้ควบคุมการให้น้ำตามความต้องการของพืช นอกจากนี้ เซนเซอร์ยังใช้วัดความเข้มแสงได้อีกด้วย ทำให้เกษตรกรสามารถใช้เป็นข้อมูลประกอบการดูแลพืชได้อีกทางหนึ่ง

การใช้เทคโนโลยีการให้น้ำอัจฉริยะสำหรับเกษตรแปลงใหญ่

ประโยชน์ของการใช้เทคโนโลยีการให้น้ำอัจฉริยะสำหรับเกษตรแปลงใหญ่ ทำให้ลดปริมาณการให้น้ำ ลดการสูญเสียปุ๋ยลดการสูบเสียของผลผลิต ประหยัดพลังงานไฟฟ้า และลงทุนต่ำเพราะใช้ปั๊มน้ำตัวเล็กลงนั่นเอง

ซึ่งการใช้เทคโนโลยีดังกล่าวทำให้ สมบูรณ์ สามารถลดค่าใช้จ่ายได้จำนวนมาก จาก 560,000 บาทต่อปี เหลือเพียง 250,000 บาทต่อปีเท่านั้น ถึงแม้ในปีแรกต้องลงทุนติดตั้งอุปกรณ์ต่างๆ ประมาณ 700,000 บาท แต่สามารถถึงจุดคุ้มทุนได้ในระยะ 3 ปีเท่านั้น นอกจากนั้นยังใช้คนงานน้อยลง ทำให้มีรายรับเพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัวอีกด้วย


Source: นิตยสาร Electricity & Industry Magazine ปีที่ 27 ฉบับที่ 5 กันยายน-ตุลาคม 2563
โดย สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษ ภาคตะวันออก (สกพอ.)


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เอง โดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save