ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2567 ผลิตรถยนต์ 138,331 คัน ลดลงร้อยละ 23.08 ขาย 56,099 คัน ลดลงร้อยละ 29.83 ส่งออก 95,089 คัน ลดลงร้อยละ 3.35 ผลิตรถยนต์ไฟฟ้า 1,226 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 2,965 ขายรถยนต์ไฟฟ้า (BEV) 4,615 คัน ลดลงร้อยละ 28.38 นำโดย สุรพงษ์ ไพสิฐพัฒนพงษ์ รองประธานและโฆษกกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยจำนวนการผลิต ยอดขายภายในประเทศ และการส่งออกรถยนต์และรถจักรยานยนต์ของประเทศ ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2567 ดังต่อไปนี้
การผลิต จำนวนรถยนต์ทั้งหมดที่ผลิตได้ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2567 มีทั้งสิ้น 138,331 คัน ลดลงจากเดือนมีนาคม 2566 ร้อยละ 23.08 ลดลงจากการผลิตขายในประเทศลดลงร้อยละ 41.01 จากการผลิตรถกระบะและรถยนต์นั่งที่ลดลงตามยอดขายในประเทศที่ลดลงจากการเข้มงวดในการอนุมัติสินเชื่อของสถาบันการเงิน รวมไปถึงการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทยยังไม่มาก เพราะโรงงานผลิตรถยนต์บางบริษัทยังไม่พร้อม ซึ่งคาดว่าการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าจะเพิ่มมากขึ้นในไตรมาสที่ 3 แต่เพิ่มขึ้นจากเดือนกุมภาพันธ์ 2567 ร้อยละ 3.47
จำนวนรถยนต์ที่ผลิตได้ในเดือนมกราคม – มีนาคม พ.ศ. 2567 มีจำนวนทั้งสิ้น 414,123 คัน ลดลงจากเดือนมกราคม – มีนาคม 2566 ร้อยละ 18.45 รถยนต์นั่ง เดือนมีนาคม พ.ศ. 2567 ผลิตได้ 52,099 คัน ลดลงจากเดือนมีนาคม พ.ศ. 2566 ร้อยละ 18.39 โดยแบ่งเป็น
ยอดผลิตของรถยนต์นั่ง ตั้งแต่เดือนมกราคม – มีนาคม 2567 มีจำนวน 155,049 คัน เท่ากับร้อยละ 37.44 ของยอดการผลิตทั้งหมด ลดลงจากเดือนมกราคม – มีนาคม 2566 ร้อยละ 13.62
ผลิตเพื่อส่งออกเดือนมีนาคม พ.ศ. 2567 ผลิตได้ 91,808 คัน เท่ากับร้อยละ 66.37 ของยอดการผลิตทั้งหมด ลดลงจากเดือนมีนาคม 2566 ร้อยละ 9.09 ส่วนเดือนมกราคม – มีนาคม 2567 ผลิตเพื่อส่งออกได้ 273,680 คัน เท่ากับร้อยละ 66.09 ของยอดการผลิตทั้งหมด ลดลงจาก พ.ศ.2566 ระยะเวลาเดียวกันร้อยละ 5.02
รถยนต์นั่ง เดือนมีนาคม พ.ศ. 2567 ผลิตเพื่อการส่งออก 28,719 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนมีนาคม 2566 ร้อยละ 10.97 และตั้งแต่เดือนมกราคม – มีนาคม พ.ศ. 2567 ผลิตเพื่อส่งออกได้ทั้งสิ้น 81,805 คัน เท่ากับร้อยละ 52.76 ของยอดผลิตรถยนต์นั่ง ซึ่งเพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม – มีนาคม พ.ศ. 2566 ร้อยละ 4.06
รถกระบะขนาด 1 ตัน เดือนมีนาคม 2567 มียอดการผลิตเพื่อการส่งออก 63,089 คัน ลดลงจากเดือนมีนาคม 2566 ร้อยละ 16 และตั้งแต่เดือนมกราคม – มีนาคม พ.ศ. 2567 ผลิตเพื่อส่งออกได้ทั้งสิ้น 191,875 คัน เท่ากับร้อยละ 76.67 ของยอดการผลิตรถกระบะ ลดลงจากเดือนมกราคม – มีนาคม 2566 ร้อยละ 8.42
ผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศเดือนมีนาคม พ.ศ. 2567 ผลิตได้ 46,523 คัน เท่ากับร้อยละ 33.63 ของยอดการผลิตทั้งหมด ลดลงจากเดือนมีนาคม พ.ศ.2566 ร้อยละ 41.01 และเดือนมกราคม – มีนาคม พ.ศ. 2567 ผลิตได้ 140,443 คัน เท่ากับร้อยละ 33.91 ของยอดการผลิตทั้งหมด ลดลงจากเดือนมกราคม – มีนาคม พ.ศ. 2566 ร้อยละ 36.06
รถยนต์นั่ง เดือนมีนาคม พ.ศ. 2567 ผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศ 23,380 คัน ลดลงจากเดือนมีนาคม พ.ศ. 2566 ร้อยละ 38.41 แต่ตั้งแต่เดือนมกราคม-มีนาคม พ.ศ. 2566 ผลิตได้ 73,244 คัน เท่ากับร้อยละ 47.24 ของยอดการผลิตรถยนต์นั่ง โดยเมื่อเปรียบเทียบกับเดือนมกราคม–มีนาคม พ.ศ. 2566 ลดลงร้อยละ 27.40
รถกระบะขนาด 1 ตัน เดือนมีนาคม พ.ศ. 2567 มียอดการผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศ 20,121 คัน ลดลงจากเดือนมีนาคม พ.ศ. 2566 ร้อยละ 46.86 และตั้งแต่เดือนมกราคม-มีนาคม พ.ศ. 2567 ผลิตได้ทั้งสิ้น 58,375 คัน เท่ากับร้อยละ 23.33 ของยอดการผลิตรถกระบะ และลดลงจากเดือนมกราคม-มีนาคม พ.ศ. 2566 ร้อยละ 47.28รถจักรยานยนต์ เดือนมีนาคม พ.ศ. 2567 ผลิตรถจักรยานยนต์ได้ทั้งสิ้น 219,434 คัน ลดลงจากเดือนมีนาคม พ.ศ. 2566 ร้อยละ 4.05 แยกเป็นรถจักรยานยนต์สำเร็จรูป (CBU) 179,806 คัน ลดลงจาก พ.ศ. 2566 ร้อยละ 9.42 และชิ้นส่วนประกอบรถจักรยานยนต์ (CKD) 39,628 คัน เพิ่มขึ้นจาก พ.ศ. 2566 ร้อยละ 31.26
ยอดการผลิตรถจักรยานยนต์เดือนมกราคม-มีนาคม พ.ศ. 2567 มีจำนวนทั้งสิ้น 660,741 คัน ลดลงจาก พ.ศ. 2566 ร้อยละ 7.78 โดยแยกเป็นรถจักรยานยนต์สำเร็จรูป (CBU) 533,398 คัน ลดลงจากปี 2566 ร้อยละ 8.14 แต่ชิ้นส่วนประกอบรถจักรยานยนต์ (CKD) 127,343 คัน ลดลงจาก พ.ศ. 2566 ร้อยละ 6.22
ยอดขายรถยนต์ภายในประเทศของเดือนมีนาคม พ.ศ. 2567 มีจำนวนทั้งสิ้น 56,099 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567 ร้อยละ 6.16 และลดลงจากเดือนเดียวกันในปีที่แล้วร้อยละ 29.83 ลดลงจากการเข้มงวดในการอนุมัติสินเชื่อของสถาบันการเงินจากหนี้ครัวเรือนที่สูงมากและเศรษฐกิจที่อ่อนแอ เพราะความล่าช้าของงบประมาณรายจ่ายประจำ พ.ศ. 2567 ที่ล่าช้าไปหลายเดือน ทำให้การใช้จ่าย การลงทุน และการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลชะลอตัวไปด้วย ซึ่งคาดว่าครึ่งปีหลังยอดขายรถยนต์จะดีขึ้นจากการใช้จ่าย การลงทุนและการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลร่วมกับการลงทุนของเอกชนและการท่องเที่ยวที่เติบโตขึ้นมากกว่า 33 ล้านคน
รถยนต์นั่งและรถยนต์นั่งตรวจการณ์ มีจำนวน 30,894 คัน เท่ากับร้อยละ 55.07 ของยอดขายทั้งหมด ลดลงจากเดือนเดียวกันในปีที่แล้วร้อยละ 22.70 รถกระบะมีจำนวน 16,212 คัน ลดลงจากเดือนเดียวกันในปีที่แล้วร้อยละ 45.27 รถ PPV มีจำนวน 3,436 คัน ลดลงจากเดือนเดียวกันในปีที่แล้วร้อยละ 46.68 รถบรรทุก 5-10 ตัน มีจำนวน 1,582 คัน ลดลงจากเดือนเดียวกันในปีที่แล้วร้อยละ 38.87 และรถประเภทอื่นๆ มีจำนวน 3,975 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันในปีที่แล้ว 200.45
ส่วนรถจักรยานยนต์ มียอดขาย 149,938 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนกุมภาพันธ์ 2566 ร้อยละ 4.37 แต่ลดลงจากเดือนมีนาคม พ.ศ. 2566 ร้อยละ 18.72 ตั้งแต่เดือนมกราคม – มีนาคม พ.ศ. 2567 รถยนต์มียอดขาย 163,756 คัน ลดลงจาก พ.ศ. 2566 ในระยะเวลาเดียวกันร้อยละ 24.56 แยกเป็น รถยนต์นั่งและรถยนต์นั่งตรวจการณ์ มีจำนวน 96,794 คันเท่ากับร้อยละ 59.11 ของยอดขายทั้งหมด ลดลงจากเดือนเดียวกันในปีที่แล้วร้อยละ 8.23การส่งออก
รถยนต์สำเร็จรูป เดือนมีนาคม พ.ศ. 2567 ส่งออกได้ 95,089 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนที่แล้วร้อยละ 7.18 และลดลงจากเดือนมีนาคม พ.ศ. 2566 ร้อยละ 3.35 แยกเป็นรถยนต์สันดาปภายใน ICE 90,201 คัน ลดลงจาก พ.ศ. 2566 ร้อยละ 7.76 ส่งออกรถยนต์ HEV 4,888 คัน เพิ่มขึ้นจาก พ.ศ. 2566 ร้อยละ 728.47 แต่ส่งออกยังคงแข็งแกร่งตามยอดขายของประเทศคู่ค้าที่ยังเติบโต เช่น ประเทศออสเตรเลีย ฟิลิปปินส์ สหรัฐอเมริกา เม็กซิโก สหราชอาณาจักร เป็นต้น อย่างไรก็ตามยังต้องติดตามเรื่องความขัดแย้งระหว่างประเทศต่างๆอย่างใกล้ชิดเพราะอาจส่งผลกระทบต่อการส่งออกรถยนต์ มูลค่าการส่งออก 67,926.07 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนมีนาคม พ.ศ. 2566 ร้อยละ 12
เดือนมกราคม-มีนาคม พ.ศ. 2567 ส่งออกรถยนต์สำเร็จรูป 270,525 คัน ลดลงจากช่วงระยะเวลาเดียวกันร้อยละ 1.16 แยกเป็นรถยนต์สันดาปภายใน ICE 253,608 คัน ลดลงจาก พ.ศ. 2566 ร้อยละ 6.62 ส่งออกรถยนต์ HEV 16,917 คัน เพิ่มขึ้นจาก พ.ศ. 2566 ร้อยละ 698.35 มูลค่าการส่งออก 189,154.76 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม-มีนาคม พ.ศ. 2566 ร้อยละ 12.51