พัทยาเป็นแหล่งท่องเที่ยวสำคัญของประเทศไทย ทั้งยังเป็นเมืองเศรษฐกิจและมีชื่อเสียงในหมู่นักท่องเที่ยวทั่วโลก ด้วยการให้บริการพลังงานไฟฟ้าอย่างมีประสิทธิภาพของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ควบคู่กับการพัฒนาระบบส่งและจำหน่ายไฟฟ้าอย่างต่อเนื่อง ตลอดจนความรับผิดชอบต่อสังคม และสิ่งแวดล้อม ทำให้ระบบไฟฟ้าในพื้นที่มีเสถียรภาพและมีความมั่งคงตอบสนองการเติบโตของเมืองนี้มาโดยตลอด ด้วยภารกิจที่สำคัญพร้อมก้าวสู่การเป็นองค์กร PEA Digital Utility
ตอบสนองความต้องการของลูกค้าให้เกิดความพึงพอใจสูงสุดทั้งในด้านคุณภาพและการบริการ ภายใต้ความร่วมมือทางวิชาการและเทคนิคระหว่างการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค กับ บริษัท ฮิตาชิ เอนเนอร์ยี่ (ประเทศไทย) จำกัด จึงได้นำระบบและอุปกรณ์นวัตกรรมดิจิทัลแบบเรียลไทม์ มาติดตั้งใช้งาน ณ สถานีไฟฟ้าแรงสูงพัทยาใต้ 3 แห่งนี้ เพื่อเพิ่มความมั่นคงและความเชื่อถือได้ให้กับระบบการส่งจ่ายกระแสไฟฟ้า ประกอบด้วย
TXpert Ecosystem เป็นระบบเปิด สำหรับหม้อแปลงไฟฟ้าดิจิทัล ที่มีความยืดหยุ่นในการออกแบบ ติดตั้ง ไม่ว่าจะเป็นผู้ผลิตหม้อแปลงไฟฟ้ารายใด ก็สามารถเข้าถึงระบบดิจิทัล ที่ออกแบบมา เพื่อการเข้าถึงข้อมูลสถานะของหม้อแปลงไฟฟ้าอย่างอัจฉริยะ เพื่อการตัดสินใจในการเดินเครื่องและบำรุงรักษาหม้อแปลงไฟฟ้าอย่างมีประสิทธิภาพ
Modular Switchgear Monitoring (MSM) : Condition Monitoring เป็นระบบตรวจสอบสำหรับสวิตช์เกียร์แรงสูง ตรวจสอบสภาพของ Gas Insulated Switchgear (GIS) ใช้กำกับดูแล จัดการ และวิเคราะห์ประสิทธิภาพของสวิตช์เกียร์ไฟฟ้าแรงสูงทุกประเภทในการติดตั้งใหม่ ตลอดจนโซลูชันสำหรับติดตั้งใหม่เพิ่มเติมหรือในสินทรัพย์ไฟฟ้าแรงสูงที่มีอยู่เดิม
Online Surge Arrester Excount III เป็นระบบตรวจสอบสำหรับกับดักเสิร์จ ให้ผู้ใช้ได้รับการตรวจสอบแบบเรียลไทม์จากระยะไกล และการป้อนข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการประสานฉนวน (Insulation Co-ordination) ของสถานีไฟฟ้าโดยรวม
Relcare เป็นดิจิทัลแพลตฟอร์มที่รวมองค์ประกอบระหว่างระบบการบริหารจัดการสินทรัพย์และความเชี่ยญชาญทางเทคโนโลยีของ Hitachi Energy ซึ่งสามารถช่วยในการเข้าถึงและจัดการสินทรัพย์ เพิ่มประสิทธิภาพการจัดการ O&M ในการเพิ่มของความน่าเชื่อถือและช่วยในการบริหารจัดการต้นทุนตลอดจนเพิ่มประสิทธิภาพในการดูแลสินทรัพย์ เพื่อยืดอายุการใช้งาน
Digital Metal–clad Switchgear เป็นเทคโนโลยีตู้ควบคุมกระแสไฟฟ้าที่มีมาตรฐานระดับสูงและมีความน่าเชื่อถือที่มาพร้อมกับความเรียบง่าย นอกจากนี้ยังได้รวมเทคโนโลยีระบบการควบคุมแบบดิจิทัล เพื่อเพิ่มความปลอดภัยและความหลากหลายในการใช้งาน
นับเป็นก้าวย่างที่สำคัญ สำหรับการพัฒนาระบบโครงข่ายไฟฟ้าของไทย ทำให้สถานีไฟฟ้าแห่งนี้ เป็นสถานีไฟฟ้าแห่งแรกของไทย ที่มีระบบนวัตกรรมดิจิทัล เป็นระบบตรวจสอบสภาพของอุปกรณ์ในสถานีไฟฟ้าแบบเรียลไทม์ สำหรับสวิตช์เกียร์แรงสูง หม้อแปลงไฟฟ้า กับดักเสิร์จ สวิตช์เกียร์แรงดันปานกลาง และดิจิทัลแพลตฟอร์มที่รวมองค์ประกอบระหว่างระบบการบริหารจัดการสินทรัพย์และเทคโนโลยีดิจิทัลเข้าด้วยกัน