สมาคมไฟฟ้าและพลังงานไอทริปเปิลอี (ประเทศไทย) หรือ IEEE Power & Energy Society (Thailand) ร่วมกับ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) และชมรมไฮโดรเจนประเทศไทย จัดสัมมนา หลักสูตร “ไฮโดรเจนสีเขียว: เทคโนโลยี การผลิต กักเก็บ การขนส่ง การออกแบบ โครงสร้างพื้นฐาน และการประยุกต์ใช้งาน (Green Hydrogen: Technology, Production, Storage, Transportation, Design, Infrastructure and Applications” ในระหว่างวันที่ 10 – 12 มิถุนายน 2567 เวลา 08.30 – 16.30 น. ณ โรงแรมเดอะ สุโกศล กรุงเทพฯ
หลักการและเหตุผล
พลังงานไฟฟ้าเป็นพลังงานที่มนุษย์นำมาใช้เป็นพลังงานสำหรับเครื่องมือ เครื่องใช้ต่างๆ ให้สามารถทำงานได้ พลังงานไฟฟ้าเป็นสิ่งจำเป็นต่อการดำเนินชีวิต ของมนุษย์ในปัจจุบัน และเป็นตัวแปรสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจประเทศในด้านต่างๆ ได้แก่ ด้านคมนาคม ด้านเศรษฐกิจ ด้านอุตสาหกรรม ด้านเกษตรกรรม ด้านบริการ และด้านคุณภาพชีวิต การใช้พลังงานไฟฟ้ามีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปีตามอัตราการเพิ่มจำนวนประชากรและความเจริญเติบโตทางด้านเศรษฐกิจ พลังงานไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าผ่านมายังผู้ใช้ไฟฟ้าทางระบบสายส่งและสถานีไฟฟ้าปรับแรงดันที่เหมาะสม ความเข้าใจในการออกแบบสถานีไฟฟ้าจึงมีความสำาคัญต่อความมั่นคง และเชื่อถือได้ของระบบไฟฟ้า
สมาคมไฟฟ้าและพลังงานไอทริปเปิลอี (ประเทศไทย) หรือ IEEE Power & Energy Society (Thailand) ร่วมกับสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) และชมรมไฮโดรเจนประเทศไทย ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญจึงได้จัดให้มีการสัมมนาเชิงวิชาการเรื่อง “ไฮโดรเจนสีเขียว : เทคโนโลยี การผลิต กักเก็บ การขนส่ง การออกแบบ โครงสร้างพื้นฐาน และ การประยุกต์ใช้งาน” ซึ่งจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการพัฒนาภาคขนส่ง และอุตสาหกรรมการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน ที่ช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศไทย และลดผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อสิ่งแวดล้อม โดยการสนับสนุนวิชาการจาก สนพ. กฟผ. ปตท. สภาอุตสาหกรรม องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) บัณฑิตวิทยาลัยร่วมด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม (JGSEE) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี สถาบันวิจัยและพัฒนาพลังงานนครพิงค์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ บริษัทผู้ผลิต ผู้ประกอบการ และสถาบัน อุดมศึกษาในประเทศไทย ซึ่งเป็นผู้มีประสบการณ์ในงานภาคปฏิบัติโดยตรง
วัตถุประสงค์การจัดสัมมนา
- สร้างความรู้ ความเข้าใจพื้นฐานของเทคโนโลยีการผลิตไฮโดรเจน และเซลล์เชื้อเพลิง การออกแบบ โครงสร้างพื้นฐาน การกักเก็บ การขนส่ง และการประยุกต์ใช้งานแก่ผู้สนใจลงทุน ผู้ให้บริการออกแบบและติดตั้ง ตลอดจนวิศวกรและเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานเกี่ยวข้อง
- เปิดโอกาสให้ปรึกษาแลกเปลี่ยนประสบการณ์ระหว่างผู้เข้าสัมมนาทุกคน และรับทราบแนวทางในการดำเนินการและเตรียมความพร้อมในการเข้าสู่อุตสาหกรรมเทคโนโลยีไฮโดรเจนสีเขียว
กลุ่มเป้าหมาย
- วิศวกรและเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานเกี่ยวกับไฮโดรเจนและพลังงานหมุนเวียน
- ผู้ให้บริการออกแบบและติดตั้งระบบโครงสร้างพื้นฐานของกริดไฟฟ้าและสถานีเชื้อเพลิงไฮโดรเจน
- ผู้สนใจลงทุนการซื้อขายคาร์บอนเครดิต
- บุคลากรและนักวิจัยจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชนที่ปฏิบัติงานเกี่ยวข้อง และบุคคลทั่วไปที่สนใจ
ผู้สนใจเข้าร่วมสัมมนา สามารถดูรายละเอียดหัวข้อการบรรยายเพิ่มเติม และลงทะเบียนออนไลน์ ได้ที่ https://www.greennetworkseminar.com/hydrogen
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม โทรศัพท์ 0-2354-5333 ต่อ 500 / 503 e-mail : seminar@greennetworkseminar.com