กองทุน RAC NAMA กับการผลักดันอุตสาหกรรมเครื่องปรับอากาศ และความเย็นของประเทศไทย


การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ร่วมกับ สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) ภายใต้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) และองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน (GIZ) ประกาศความสำเร็จของกองทุน RAC NAMA ผลักดันอุตสาหกรรมเครื่องปรับอากาศและเครื่องทำความเย็นของประเทศไทย จำนวน 9 ราย หันมาใช้สารทำความเย็นธรรมชาติที่มีประสิทธิภาพสูงและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม พร้อมทั้งจัดตั้งศูนย์ฝึกอบรมช่างฯ จำนวน 8 แห่งทั่วประเทศ โดยมีครูต้นแบบที่ผ่านการอบรมแล้วกว่า 150 คน

วราวุธ ศิลปอาชา

วราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นประธานเปิดงาน “Green Cooling Revolution: RAC NAMA Fund and the Future of Thai Industry” โดยมี เทพรัตน์ เทพพิทักษ์ รองผู้ว่าการพัฒนาโรงไฟฟ้าและพลังงานหมุนเวียน กฟผ. พัฒนา แสงศรีโรจน์ รองผู้ว่าการยุทธศาสตร์ กฟผ. เกออร์ก ชมิดท์ เอกอัครราชทูตสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีประจำประเทศไทย มาร์กาเร็ต ทังก์ อุปทูตอังกฤษประจำประเทศไทย และผู้ประกอบการอุตสาหกรรมเครื่องปรับอากาศและเครื่องทำความเย็น ร่วมงานเป็นจำนวนมาก ณ ห้องบอลรูม โรงแรมอนันตรา สยาม กรุงเทพฯ

ในการนี้ วราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กล่าวปาฐกถาพิเศษ ในหัวข้อ “การส่งเสริมการลดก๊าซเรือนกระจกจากอุตสาหกรรมเครื่องปรับอากาศและเครื่องทำความเย็น” ว่า รัฐบาลกำหนดนโยบายให้มีการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอย่างจริงจัง เพราะประชากรได้ใช้ทรัพยากรธรรมชาติไปอย่างมหาศาล ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศอย่างรุนแรง ประเทศไทยจึงวางเป้าหมายว่าจะต้องลดก๊าซเรือนกระจกให้ได้ร้อยล่ะ 20-25 ภายในปี พ.ศ. 2573 ซึ่งเริ่มดำเนินการอย่างจริงจังมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2560 แต่การดำเนินการจะประสบความสำเร็จได้นั้นจะต้องได้รับความร่วมมือและผลักดันจากพันธมิตรที่มีเทคโนโลยีที่เหมาะสม ดังนั้นกองทุน RAC NAMA จึงเป็นโครงการที่จะช่วยสนับสนุนให้รัฐบาลบรรลุเป้าหมายได้อย่างแน่นอน

กองทุน RAC NAMA กับการผลักดันอุตสาหกรรมเครื่องปรับอากาศ และความเย็นของประเทศไทย

กองทุน RAC NAMA ก่อตั้งเมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2560 อยู่ภายใต้โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน และการลดก๊าซเรือนกระจกที่เหมาะสมของประเทศในอุตสาหกรรมเครื่องปรับอากาศและเครื่องทำความเย็นหรือ Thailand RAC NAMA โดยมีองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน (GIZ) ดำเนินโครงการร่วมกับรัฐบาลไทย ได้แก่ สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) และการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ในการสนับสนุนทั้งด้านเทคนิค ผลักดันด้านนโยบายและส่งเสริมมาตรการทางการเงิน โดยมีระยะเวลาดำเนินโครงการถึงเดือนมีนาคม พ.ศ. 2564

เทพรัตน์ เทพพิทักษ์ รองผู้ว่าการพัฒนาโรงไฟฟ้าและพลังงานหมุนเวียน กฟผ. กล่าวว่า กฟผ. ในฐานะผู้รับทุนในนามรัฐบาลไทย ได้ร่วมกับ GIZ ดำเนินโครงการที่สร้างการเปลี่ยนแปลงในอุตสาหกรรมเครื่องปรับอากาศและเครื่องทำความเย็นของประเทศไทยสู่การใช้สารทำความเย็นที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดย กฟผ. ทำหน้าที่บริหารจัดการกองทุน RAC NAMA มาตั้งแต่ปี 2560 จำนวน 8.3 ล้านยูโร (ประมาณ 300 ล้านบาท) เพื่อส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีสารทำความเย็นธรรมชาติ ทั้งด้าน การผลิต การบริโภค และภาคบริการ โดยในระยะเวลากว่า 2 ปี กฟผ. ได้สนับสนุนเงินทุนผ่านมาตรการทางการเงินต่าง ๆ ได้แก่

  1. เงินสนับสนุนกระตุ้นการใช้ผลิตภัณฑ์ของผู้บริโภค จำนวนกว่า 10 ล้านบาท สำหรับสินค้าที่ออกสู่ตลาดแล้ว ทำให้สามารถกระตุ้นยอดการซื้อตู้เย็นที่ใช้สารทำความเย็นธรรมชาติได้กว่า 15,000 เครื่อง และประหยัดพลังงานไฟฟ้าได้ประมาณ 1.1 ล้านหน่วยต่อปี
  2. เงินสนับสนุนระยะสั้นปลอดดอกเบี้ย ระยะเวลา 1 ปี ให้กับผู้ผลิตในอุตสาหกรรมเครื่องทำความเย็นไทยเพื่อช่วยสร้างสภาพคล่องทางการเงินในการลงทุนสำหรับการปรับเปลี่ยนสายการผลิตไปสู่การใช้เทคโนโลยีสารทำความเย็นธรรมชาติ จำนวน 52 ล้านบาท
  3. เงินอุดหนุนแบบให้เปล่าให้กับผู้ผลิตในอุตสาหกรรมเครื่องทำความเย็นไทย สำหรับการปรับเปลี่ยนสายการผลิตไปสู่การใช้เทคโนโลยีสารทำความเย็นธรรมชาติ จำนวนกว่า 90 ล้านบาท
  4. เงินอุดหนุนสำหรับการจัดหาอุปกรณ์สำหรับฝึกอบรมและจัดตั้งศูนย์ฝึกอบรม 8 แห่งทั่วประเทศ จำนวน 15 ล้านบาท
  5. เงินสนับสนุนปลอดดอกเบี้ยสำหรับการดำเนินงานมาตรการทางการตลาดเพื่อเพิ่มยอดขายของเครื่องปรับอากาศและเครื่องทำความเย็น จำนวนกว่า 155 ล้านบาท

สำหรับปีนี้ผลิตภัณฑ์ที่ใช้เทคโนโลยีสารทำความเย็นธรรมชาติจะเริ่มออกสู่ตลาดในประเทศ โดยคาดว่าจะมีผลิตภัณฑ์กว่า 100,000 เครื่อง และจะมีส่วนแบ่งการตลาด กว่าร้อยละ 50 ในอีก 3 ปีข้างหน้า นอกจากนี้ยังมีแผนที่จะส่งออกผลิตภัณฑ์ดังกล่าวไปยังตลาดภูมิภาคยุโรปและประเทศญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นด้วย ทั้งนี้คาดว่าปริมาณผลิตภัณฑ์ที่ออกสู่ตลาดจนถึงปี 2573 จะสามารถช่วยประหยัดการใช้พลังงานได้สูงถึง 3,500 ล้านหน่วยต่อปี


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เอง โดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save