ไปรษณีย์ไทย เชื่อมศักยภาพขนส่ง “ไทย – ลาว” เตรียมเดินหน้าปั้นแผนเชื่อมพื้นที่ อีสานสู่จีน ผ่านรถไฟเร็ว “เวียงจันทน์ – คุนหมิง”


บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด เดินหน้ากระตุ้นเศรษฐกิจและการค้าระหว่างประเทศผ่านเส้นทางการขนส่ง และการทำตลาดในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว หรือ สปป.ลาว โดยเตรียมดำเนินความร่วมมือกับรัฐวิสาหกิจไปรษณีย์ลาว หรือ ปนล ทั้งในด้านเส้นทางขนส่ง โดยเฉพาะการอาศัยเส้นทางรถไฟลาว – คุนหมิง เพื่อขนส่งสินค้าไปยังประเทศจีน การเปิดให้บริการไปรษณีย์ระหว่างประเทศทางภาคพื้นหลังจากโควิด – 19 คลี่คลาย และยังได้ยกระดับค้าปลีก- อีคอมเมิร์ซ เช่น การนำสินค้าท้องถิ่นของ สปป.ลาว มาจำหน่ายบนเว็บไซต์ tmart.com การนำอาหารทะเลสด/แห้งมาจำหน่ายด้วยบริการฟิ้วซ์ โพสต์ บริการการเงินรูปแบบใหม่ เช่น eWallet และบริการจ่ายเงินปลายทาง (COD) ระหว่างประเทศ เพื่อรองรับการเติบโตของการค้าระหว่างประเทศ

ดร.ดนันท์ สุภัทรพันธุ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด กล่าวว่า บริการขนส่งข้ามพรมแดนเป็นหนึ่งในธุรกิจที่สร้างรายได้ให้กับไปรษณีย์ไทยและผู้ประกอบการไทย โดยเฉพาะในกลุ่มค้าปลีกและอีคอมเมิร์ซ ซึ่งหนึ่งในปลายทางที่มีโอกาสในการสร้างรายได้ในปัจจุบัน – อนาคต ได้แก่ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) เนื่องจากให้ความนิยมสำหรับการเลือกซื้อสินค้าที่ผลิตจากไทย อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง มีการเปิดรับการซื้อสินค้าผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ รวมถึงการเปิดพื้นที่เพื่อรับการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน และธุรกิจหลายประเภท

ทั้งนี้ เพื่ออาศัยประโยชน์จาก สปป.ลาวให้มากยิ่งขึ้น ล่าสุดไปรษณีย์ไทยจึงได้เดินหน้าสร้างความร่วมมือทางด้านขนส่งกับรัฐวิสาหกิจไปรษณีย์ลาว (Entreprise des Postes Lao : ปนล) เพื่อกระตุ้นให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจของทั้ง 2 ประเทศมีความคึกคัก รวมถึงขยายตลาดสินค้าประเภทต่าง ๆ ไปสู่หัวเมืองที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ พร้อมทั้งเพิ่มศักยภาพของทั้ง 2 หน่วยงานด้วยแนวทางที่สำคัญดังนี้

 

 

  • ด้านความร่วมมือเส้นทางขนส่ง ได้เร่งหารือถึงความเป็นไปได้ในการขนส่งทางราง และทางภาคพื้นในเส้นทางลาว – คุนหมิง เพื่อรองรับการขนส่งข้ามแดนที่รวดเร็ว เช่น สินค้าทางการเกษตร สินค้าอุปโภคบริโภค จากไทยผ่านลาวไปถึงจีน และต้นทางจีนผ่านลาวมายังไทย โดยเป็นการหารือแบบพหุภาคีกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจากไทย สปป.ลาว เวียดนาม และจีน ซึ่งหากในอนาคตสามารถใช้การขนส่งทางรถไฟได้จะทำให้การขนส่งทั้ง 3 ประเทศมีความสะดวกยิ่งขึ้น อีกทั้งยังสามารถเชื่อมต่อไปยังปลายทางยุโรป ซึ่งจะช่วยแก้ปัญหาระวางขนส่งอากาศซึ่งมีจำกัดและอัตราค่าขนส่งค่อนข้างสูงได้อีกด้วย นอกจากนี้ หลังจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด – 19ที่ดีขึ้น ได้มีการเปิดพรมแดนระหว่างไทยและ สปป.ลาว ทำให้สามารถเปิดให้บริการไปรษณีย์ระหว่างประเทศทางภาคพื้นได้สะดวกยิ่งขึ้น เช่น บริการไปรษณียภัณฑ์ บริการพัสดุไปรษณีย์ โดยทั้ง 2 ประเทศจะแลกเปลี่ยนถุงไปรษณีย์ ณ บริเวณด่านตรวจ คนเข้าเมืองสะพานมิตรภาพไทย – ลาว แห่งที่ 1 แลกกัน 2 วัน/ สัปดาห์ ส่งผลให้ผู้ประกอบการสามารถ ทำการค้าได้สะดวกสบายกว่าเดิม
  • ด้านการขายสินค้า – อีคอมเมิร์ซ ด้วยการนำสินค้าท้องถิ่นของ สปป.ลาว มาจำหน่าย บนเว็บไซต์ thailandpostmart.com ของไปรษณีย์ไทย ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างคัดเลือกสินค้า เช่น งานคราฟท์ กาแฟ สินค้าหัตถกรรมจากไม้ ผ้าทอมือ ฯลฯ โดยจะเน้นกลุ่มสินค้าที่มีเรื่องราวหรือความน่าสนใจทั้งในเชิงการผลิต แหล่งที่มา อัตลักษณ์ของสินค้า รวมถึงการทำการตลาด – ขนส่งให้กับสินค้าไทยที่ต้องการขยายไปสู่ สปป.ลาว การส่งเสริมความร่วมมือระหว่างกันในด้านตลาดตราไปรษณียากรและสิ่งสะสม นอกจากนี้ ยังจะมีการนำอาหารทะเลสด/ แห้งที่เป็นที่ต้องการของชาว สปป.ลาว มาจำหน่ายผ่านช่องทางไปรษณีย์ด้วยบริการฟิ้วซ์ โพสต์ ซึ่งสามารถส่งอาหารทะเลให้ได้ทั้งแบบรถห้องเย็นและบรรจุภัณฑ์ที่ควบคุมอุณหภูมิ โดยจะมีการพิจารณาเรื่องพื้นที่ที่สามารถรับไปจัดจำหน่ายต่อเพื่อให้สามารถรักษาคุณภาพอาหารได้
  • บริการการเงิน ทั้ง 2 หน่วยงานได้เตรียมพัฒนาบริการการเงินในรูปแบบใหม่เพื่อรองรับการเติบโตของการค้าระหว่างประเทศ และธุรกิจอีคอมเมิร์ซ เช่น การจ่ายเงินผ่านแอปลิเคชันหรือ eWallet และบริการจ่ายเงินปลายทาง (COD) ระหว่างประเทศ ซึ่งจะทำให้สะดวกต่อการค้าขายกับผู้ประกอบธุรกิจ ผู้ซื้อ และส่งเสริมให้เศรษฐกิจดิจิทัลเติบโตได้เร็วขึ้นกับทั้ง 2 ประเทศ
  • การเพิ่มรูปแบบบริการขนส่ง ปัจจุบันสปป.ลาวและไทยมีการให้บริการไปรษณีย์ระหว่างประเทศ ได้แก่ บริการไปรษณียภัณฑ์ บริการ EMS World บริการพัสดุไปรษณีย์ระหว่างประเทศทั้งทางอากาศและทางภาคพื้น และล่าสุดได้เปิดบริการ ePacket การส่งสิ่งของที่เป็นซองหรือกล่องน้ำหนักไม่เกิน 2 กิโลกรัมในราคาประหยัด เพื่อรองรับลูกค้าทั้งที่เป็นรายย่อย และ SMEs ให้เกิดความคุ้มทุนในด้าน ค่าขนส่ง รวมถึงยังศึกษาบริการ ePacket Plus ซึ่งเป็นบริการเสริมเพื่อรับประกันความเสียหายและ สร้างความเชื่อมั่นในบริการให้ลูกค้าเพิ่มขึ้น

นอกจากนี้ ไปรษณีย์ไทยยังได้ลงนามความร่วมมือกับรัฐวิสาหกิจไปรษณีย์ลาวซึ่งจะร่วมกันพัฒนาบุคลากรทั้ง 2 ชาติให้มีความเชี่ยวชาญในด้านเทคโนโลยีและการขนส่ง การแลกเปลี่ยนข้อมูลที่สำคัญในด้านการตลาด องค์ความรู้ การปรับปรุงเครือข่ายเพื่อยกระดับการค้าอีคอมเมิร์ซ รวมถึงในมิติที่สำคัญอย่างการสำรวจรูปแบบการขนส่งที่มีศักยภาพและคุ้มค่า ทั้งทางถนน ทางรถไฟ น่านน้ำ เพื่อนำทุกเส้นทางมาเชื่อมต่อกับรูปแบบการขนส่งให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

“ปัจจัยการเติบโตของธุรกิจอีคอมเมิร์ซที่เติบโตขึ้น โดยเฉพาะในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่นอกจากการค้าขายภายในประเทศจะเติบโตแล้ว การค้าขายระหว่างประเทศก็เติบโตเช่นเดียวกัน โดยไปรษณีย์ไทยมีบริการที่รองรับรูปแบบการขนส่งไปยังปลายทางต่างประเทศ รวมทั้งปลายทาง สปป.ลาว ที่หลากหลาย ตอบโจทย์ทุกความต้องการ ทั้งบริการ EMS World ePacket ไปรษณียภัณฑ์ พัสดุไปรษณีย์และการขนส่งทางบกผ่านพรมแดน และมั่นใจว่า สปป.ลาวจะเป็นพื้นที่ยุทธศาสตร์ทั้งในเชิงการค้า เส้นทางที่สำคัญในการขนส่งสิ่งของไปสู่เมืองต่าง ๆ ในสปป.ลาว รวมทั้งพื้นที่ใกล้เคียงอย่างเวียดนาม และจีน อีกทั้งการเปิดรับเทคโนโลยีทางด้านระบบไปรษณีย์ใหม่ ๆ ของสปป.ลาว ยังจะช่วยทำให้รูปแบบและบริการขนส่งมีความครอบคลุม และได้รับประโยชน์ทั้งห่วงโซ่อุปทาน” ดร.ดนันท์ กล่าวสรุป


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เอง โดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save