พพ. เชิญชวน สถาปนิก วิศวกร เจ้าของบ้าน ธุรกิจรับสร้างบ้าน ธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ทั่วประเทศ


กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) จับมือกับ สถาปนิก วิศวกร เจ้าของบ้านส่งผลงานการออกแบบบ้านเข้าร่วมโครงการส่งเสริมมาตรฐานประสิทธิภาพพลังงานของบ้านอยู่อาศัย หวังผลักดันให้เกิดมาตรฐานทางการออกแบบบ้านอยู่อาศัยเพื่อการประหยัดพลังงานที่ถูกต้องในระยะยาว

 

ดร.ประเสริฐ สินสุขประเสริฐ อธิบดีกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) กล่าวว่า ปัจจุบันการใช้พลังงานในบ้านอยู่อาศัยมีสัดส่วนกว่าร้อยละ 13 ของการใช้พลังงานรวมของประเทศ และมีอัตราเพิ่มมากขึ้นโดยลำดับ พพ. จึงได้เล็งเห็นถึงความสำคัญโดยได้ดำเนินการส่งเสริมเรื่องการประหยัดพลังงานในบ้านอยู่อาศัยมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2561 และได้ริเริ่มโครงการสำรวจ ศึกษา และวิเคราะห์ข้อมูลการใช้พลังงานของบ้านอยู่อาศัยตัวอย่างในประเทศไทยกว่า 2,500 หลัง เพื่อจัดทำเป็นเกณฑ์มาตรฐานประสิทธิภาพพลังงานของบ้านอยู่อาศัยขึ้น ซึ่งถือเป็นมาตรฐานที่สามารถนำไปพัฒนาต่อให้อยู่ในรูปแบบ Residential Energy Code (REC) สำหรับส่งเสริมการออกแบบบ้านอยู่อาศัยที่จะก่อสร้างใหม่ในอนาคต ให้เกิดผลในวงกว้างเช่นเดียวกับกฎหมายควบคุมด้านพลังงานในอาคารขนาดใหญ่ (มาตรฐาน Building Energy Code หรือ BEC) เกิดการประหยัดพลังงานได้ตามเป้าหมายของแผนอนุรักษ์พลังงาน รวมทั้งเพื่อยกระดับบ้าน ทั้งในส่วนบ้านจัดสรรของผู้ประกอบการในกลุ่มอสังหาริมทรัพย์ และในส่วนบ้านของประชาชนทั่วไป ผลักดันให้เกิดมาตรฐานทางการออกแบบบ้านอยู่อาศัยเพื่อการประหยัดพลังงานที่ถูกต้องในระยะยาว

ดร.ประเสริฐ กล่าวว่า โดยโครงการส่งเสริมมาตรฐานประสิทธิภาพพลังงานของบ้านอยู่อาศัยในปีนี้ จะแบ่งหลักเกณฑ์การพิจารณาออกเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 เกณฑ์การรับรองแบบบ้านประหยัดพลังงาน ซึ่งแบบบ้านที่จะได้รับการรับรองว่าผ่านเกณฑ์มาตรฐานประสิทธิภาพพลังงานบ้านอยู่อาศัย จะต้องผ่านการตรวจประเมินจากโปรแกรมการตรวจสอบการใช้พลังงานในบ้าน อยู่อาศัย (Residential Energy Code Programming) ซึ่งจัดทำขึ้นโดย พพ. ร่วมกับ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง โดยจะพิจารณาค่าเกณฑ์มาตรฐานฯ อาทิ ค่ามาตรฐานประสิทธิภาพของวัสดุ     และค่าเกณฑ์มาตรฐานประสิทธิภาพพลังงานโดยรวม และส่วนที่ 2 เกณฑ์การประกวดแบบบ้านประหยัดพลังงาน ซึ่งแบบบ้านที่ผ่านเกณฑ์การรับรองจาก ส่วนที่ 1 แล้ว พพ. จะทำการพิจารณา คะแนนจากเกณฑ์ตัดสินการประกวดทั้งหมด 4 หมวด ประกอบด้วย 1) ด้านแนวคิด การออกแบบ 2) ด้านงานสถาปัตยกรรม 3)ด้านงานวิศวกรรม และ 4) ด้านอื่นๆ เช่น ประโยชน์ของข้อมูลที่เกิดต่อสาธารณะ การออกแบบเพื่อรองรับเทคโนโลยีพลังงาน เป็นต้น
ดร.ประเสริฐ กล่าวเพิ่มเติม พพ. ขอเชิญชวนสถาปนิก วิศวกร เจ้าของบ้าน ธุรกิจรับสร้างบ้าน ธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ หรือที่เกี่ยวข้องที่สนใจเข้าร่วมส่งผลงานการออกแบบบ้านเข้าร่วมโครงการส่งเสริมมาตรฐานประสิทธิภาพพลังงานของบ้านอยู่อาศัย  สามารถสมัครเข้าร่วมโครงการได้ 3 ประเภท ได้แก่ บ้านเดี่ยว บ้านแฝด และ บ้านแถว (ทาวน์เฮาส์) ซึ่งสามารถส่งผลงานได้โดยไม่จำกัดจำนวน โดยสามารถสมัครเข้าร่วมโครงการเพื่อขอรับรองแบบบ้านประหยัดพลังงานแต่เพียงอย่างเดียวก็ได้ (โดยในกรณีนี้ไม่จำเป็นต้องมีบ้านที่สร้างแล้วเสร็จจริง)

“ปัจจุบันการออกแบบบ้านมีการพัฒนาสู่การเป็นบ้านอัจฉริยะ หรือสมาร์ทโฮม (Smart Home) มากขึ้น โดยการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยเข้ามาใช้ในระบบต่าง ๆ ภายในบ้าน ไม่ว่าจะระบบไฟฟ้า ระบบรักษาความปลอดภัย ระบบพลังงาน หรือระบบควบคุมต่าง ๆ เพื่อช่วยอำนวยความสะดวกสบายกับผู้อยู่อาศัยได้มากขึ้น ซึ่ง พพ. หวังเป็นอย่างยิ่งว่า โครงนี้จะเป็นอีกหนึ่งแรงผลักดันให้ประชาชนได้หันมาสนใจบ้านประหยัดพลังงาน ที่จะเป็นอีกสิ่งที่เจ้าของบ้านให้ความสนใจมากไม่แพ้กัน และจะเทรนด์ยุคใหม่ที่ตอบโจทย์ทุกไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิตในบ้าน” ดร.ประเสริฐ กล่าวทิ้งท้าย


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เอง โดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save