ข้อมูลจากองค์การพลังงานระหว่างประเทศ (The International Energy Agency: IEA) ระบุว่าในปี 2565 ที่ผ่านมา ภาคอุตสาหกรรมเป็นกลุ่มที่ใช้พลังงานภาพรวมมากที่สุดถึง 37% ขณะเดียวกันภาคอุตสาหกรรมยังเผชิญความท้าทายในการเดินหน้าสู่ Net Zero ซึ่งส่งผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงรอบด้านในการดำเนินงาน โดยเฉพาะพลังงานไฟฟ้าจะมีความซับซ้อนในระบบจำหน่ายไฟฟ้าที่จะมีการนำพลังงานหมุนเวียนมาใช้ในระบบมากขึ้น ผู้ประกอบการในภาคอุตสาหกรรมต้องเร่งเสริมนวัตกรรมและเทคโนโลยีอัตโนมัติ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการต่าง ๆ ให้สามารถใช้พลังงานได้อย่างคุ้มค่า ลดต้นทุน และสนับสนุนการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ไปสู่ความยั่งยืน
ซีเมนส์ บริษัทเทคโนโลยีชั้นนำทางด้านอุตสาหกรรม โครงสร้างพื้นฐาน การคมนาคมขนส่ง และการดูแลสุขภาพพร้อมส่งเสริมศักยภาพและสนับสนุนอีโคซิสเต็มส์ในภาคอุตสาหกรรมให้มีความสามารถในการบริหารและจัดการพลังงานไฟฟ้าได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด โดยคำนึงถึงการลดคาร์บอนจากอุปกรณ์ไฟฟ้าที่เกี่ยวข้องในกระบวนการปฏิบัติงาน
เมื่อเร็วๆนี้ ซีเมนส์ได้นำเทคโนโลยีและโซลูชันอัจฉริยะจากกลุ่มผลิตภัณฑ์ Siemens Xcelerator มาร่วมจัดแสดงในงาน “ASEAN Sustainable Energy Week 2023” ภายใต้แนวคิด “Accelerate Transformation Towards Decarbonization and Sustainable Industry” ระหว่างวันที่ 30 สิงหาคม – 1 กันยายน ศกนี้ ณ บูธ H9 ฮอลล์ 2 ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิต์ เพื่อสนับสนุนภาคอุตสาหกรรมไทยเดินหน้าสู่อุตสาหกรรมคาร์บอนต่ำอย่างยั่งยืน
สุวรรณี สิงห์ฤาเดช ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ซีเมนส์ ประเทศไทย กล่าวว่า ซีเมนส์มุ่งมั่นนำเสนอนวัตกรรม โซลูชันและเทคโนโลยีที่ช่วยให้ภาคอุตสาหกรรมสามารถปรับเปลี่ยนกระบวนการไปสู่ระบบดิจิทัล พร้อมรับมือกับต้นทุนด้านพลังงานที่สูงขึ้น โดยยึด 3 แกนหลัก ได้แก่ Decrease CAPEX & OPEX, Enhance Efficiency และ Replace with Technology ซึ่งหมายถึงการใช้เทคโนโลยีในการเข้ามาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงาน เพื่อส่งเสริมภาคอุตสาหกรรมให้สามารถขับเคลื่อนไปสู่เป้าหมายการเป็นอุตสาหกรรมคาร์บอนต่ำอย่างยั่งยืน
ปัจจุบันการเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานถือเป็นพื้นฐานสำคัญที่สร้างความสำเร็จให้กับภาคอุตสาหกรรม ส่งผลให้ Digital Transformation และเทคโนโลยี Internet of Things (IoT) มีส่วนสำคัญในการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ข้อมูลจาก Association of the Industrial Energy and Power Industry ชี้ว่าภาคอุตสาหกรรมกำลังเผชิญกับความท้าทายในด้านการบริหารและจัดการไฟฟ้า โดย 60% ของผู้ประกอบการในภาคอุตสาหกรรมต้องประสบปัญหาไฟฟ้าดับอย่างน้อย 1 ครั้ง/ปี และ 80% ต้องปิดระบบแบบกระทันหัน ทำให้เกิดความสูญเสียอย่างรุนแรงต่อโรงงาน นอกจากนี้ 53% ของผู้ผลิตไฟฟ้า ยังต้องทำการบำรุงรักษาเชิงป้องกันให้กับอุปกรณ์ไฟฟ้าบ่อยครั้ง เนื่องจากขาดการมองเห็นข้อมูลสถานะที่แท้จริงของอุปกรณ์ และ 50% ยังใช้อุปกรณ์จากซัพพลายเออร์ที่ต่างกัน ทำให้ขาดการเชื่อมต่อของข้อมูลเพื่อควบคุมและบริหารจัดการไฟฟ้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งหมดนี้นับเป็นปัญหาสำคัญของภาคอุตสาหกรรมในปัจจุบันที่ยังไม่ได้รับการแก้ไขอย่างเบ็ดเสร็จแต่อย่างใด
ซีเมนส์จึงได้พัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีระบบไฟฟ้าและโซลูชัน IoT (Internet of Things) ด้านพลังงาน ซึ่งจะช่วยเพิ่มขีดความสามารถของผู้ประกอบการด้านอุตสาหกรรม และขจัดความท้าทายดังกล่าวได้อย่างครบวงจร โดยแอปพลิเคชัน
IoT ดังกล่าวจะช่วยสนับสนุนให้เกิดการบริหารจัดการพลังงานไฟฟ้าที่มีความซับซ้อนจากการใช้พลังงานหมุนเวียนเข้ามาในระบบมากขึ้น รวมทั้งลดความสูญเสียจากการที่ไม่ทราบสถานะของอุปกรณ์ไฟฟ้าในสถานีไฟฟ้า ด้วยการมอนิเตอร์สถานะ (Health Status) ของอุปกรณ์ไฟฟ้า ทำให้ไม่ต้องกังวลปัญหาอุปกรณ์ไฟฟ้าเสียหาย และก่อให้เกิดความสูญเสียที่ไม่จำเป็น สามารถตรวจสอบการใช้พลังงานภายในโรงงานได้ด้วย ทำให้สามารถวางแผนใช้พลังงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ ยังมีเทคโนโลยีที่ส่งเสริมการใช้พลังงานสะอาดในระบบจำหน่ายไฟฟ้ามากขึ้น อันเป็นการช่วยลดคาร์บอนและส่งเสริมการมุ่งสู่อุตสาหกรรมคาร์บอนต่ำอย่างยั่งยืน
โซลูชันและเทคโนโลยีไฮไลท์ที่ซีเมนส์นำมาจัดแสดง ภายในงาน ASEW 2023 ประกอบด้วย
- โซลูชัน IoT ด้านพลังงานไฟฟ้า (Power IoT solutions) สำหรับภาคอุตสาหกรรม สามารถใช้งานได้ทั้งในโรงไฟฟ้า สถานีไฟฟ้าในนิคมอุตสาหกรรม สถานีไฟฟ้าย่อยในโรงงาน ใช้กับอุปกรณ์ไฟฟ้าโรงงานอุตสาหกรรม และโครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ ในนิคมอุตสาหกรรม
Power IoT solutions ประกอบด้วย
- Microgrids for Sustainability แอปพลิเคชันไมโครกริดช่วยบริหารจัดการพลังงานไฟฟ้าจากแหล่งผลิต/กำเนิด/ส่งไฟฟ้ามากกว่า 2 แหล่ง (สถานีไฟฟ้าทั่วไป ไฟฟ้าพลังน้ำ ไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ ฯลฯ) ทำให้สามารถใช้แหล่งพลังงานที่คุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด ในขณะที่คงความมีเสถียรภาพของระบบไฟฟ้า
ในปัจจุบันที่พลังงานสะอาดเข้ามามีบทบาทมากขึ้น การใช้พลังงานในโรงงานจึงอาจไม่ได้พึ่งพาไฟฟ้าจากหน่วยงานการไฟฟ้าเพียงอย่างเดียว แต่ยังผลิตไฟฟ้าได้จากแสงอาทิตย์หรือจากแหล่งพลังงานหมุนเวียนอื่นๆ อีกด้วย โซลูชัน Micro Grid Control ช่วยในการบริหารจัดการแหล่งผลิตพลังงานไฟฟ้าหลายรูปแบบ ให้สามารถตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้า ซึ่งมีการใช้งานแล้วโดยกฟผ.ในโครงการโรงไฟฟ้าโซลาร์เซลล์ลอยน้ำไฮบริดเขื่อนสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี โดยแอปพลิเคชันของซีเมนส์ได้ถูกปรับแต่งให้เข้ากับแนวคิดการออกแบบการทำงานของระบบควบคุมการบริหารจัดการพลังงานของกฟผ. เพื่อให้ระบบทำงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- IoT Applications and Cybersecurity แอปพลิเคชัน IoT ที่ช่วยควบคุมและตรวจสอบสถานะ
อุปกรณ์ไฟฟ้า ซึ่งแสดงผลข้อมูลและสร้างรายงานดิจิทัลผ่านระบบเซิร์ฟเวอร์ในองค์กร (On-Premises) หรือผ่านระบบคลาวด์ (On-Cloud) ช่วยลดการเกิดไฟดับและการซ่อมบำรุงอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ไม่จำเป็น ทำให้การผลิตมีความต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพมากขึ้น นอกจากนี้ยังมั่นใจถึงความปลอดภัยของข้อมูลด้วยกลุ่มผลิตภัณฑ์ Energy Automation ที่ได้รับการรับรองด้าน Cybersecurity ตามมาตรฐาน IEC 62443-4-1 เป็นแห่งแรกของโลกจาก TÜV Nord ในปี 2023 ทำให้มั่นใจได้ถึงความปลอดภัยของข้อมูลตลอดวงจรชีวิตผลิตภัณฑ์ - Smart Power Monitoring and Management แอปพลิเคชันที่ช่วยตรวจสอบและบริหารจัดการ
พลังงานไฟฟ้าสำหรับตู้ควบคุมระบบจำหน่ายไฟฟ้าหลัก ทำให้ทราบสถานะของอุปกรณ์และระบบไฟฟ้าแรงดันต่ำภายในโรงงาน จึงสามารถวางแผนใช้พลังงานไฟฟ้าในกระบวนการการผลิตได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด ช่วยวางแผนประหยัดพลังงานและพบกระแสผิดพร่อง (fault)ได้อย่างรวดเร็ว ลดการสูญเสียที่ไม่จำเป็น - Scale Up E-Mobility and Manage Loads แอปพลิเคชันควบคุมสถานีบริการชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าทราบสถานะจุดชาร์จและสามารถควบคุมได้จากระยะไกล ช่วยลดค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการและซ่อมบำรุง ทำให้จุดชาร์จทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ
2. นวัตกรรมสวิตช์เกียร์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Medium-Voltage blue GIS) ที่ใช้ก๊าซสะอาด (Clean Air) ปราศจากก๊าซฟลูออรีน (100% F-gas free) ลดการเกิดภาวะโลกร้อน ไม่ต้องบำรุงรักษา ทำให้ระบบจำหน่ายไฟฟ้ามีความยั่งยืน
ปัจจุบันสวิตช์เกียร์จะใส่ก๊าซ SF6 ซึ่งเป็น 1 ใน 6 ก๊าซที่ทำลายชั้นบรรยากาศโลก เพื่อลดการเกิดภาวะโลกร้อน ซีเมนส์จึงได้พัฒนา นวัตกรรมสวิตช์เกียร์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Medium-Voltage blue GIS) โดยใช้เทคโนโลยีก๊าซสะอาด (Clean Air) ปราศจากก๊าซฟลูออรีน (100% F-gas free) ลดการปล่อยก๊าซที่ส่งผลให้เกิดภาวะเรือนกระจก
3. นวัตกรรมระบบบริหารจัดการมอเตอร์อัจฉริยะ (SIMOCODE pro) ติดตั้งภายในตู้ควบคุมระบบไฟฟ้าหลักในโรงงาน SIVACON S8 Low-Voltage Switchboard ช่วยให้ทราบสถานะการทำงาน การแจ้งเตือนและตัดวงจรก่อนที่มอเตอร์จะเกิดความเสียหาย จากข้อมูลที่ได้จากการติดตั้งPower IoT Solutions ที่ช่วยในการมอนิเตอร์อุปกรณ์มอเตอร์ ช่วยลดค่าใช้จ่ายในการซ่อมบำรุงมอเตอร์ ส่งผลให้ระบบการผลิตเป็นไปอย่างต่อเนื่อง
4. สถานีไฟฟ้าย่อยแบบ E-House ลักษณะคล้ายตู้คอนเทนเนอร์ ภายในติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้าที่จำเป็น สามารถใช้ทดแทนสถานีไฟฟ้าที่เป็นอาคารคอนกรีต ซึ่งใช้เวลาในการก่อสร้างนาน ช่วยลดเวลาในการทำโครงการให้เสร็จเร็วขึ้น สนับสนุนภาคอุตสาหกรรมที่ต้องการขยายตัวด้านโครงการอย่างยั่งยืนและรวดเร็ว โดย E-House สามารถเคลื่อนย้าย ดัดแปลง หรือนำไปใช้งานซ้ำในโครงการใหม่ได้ ตอบโจทย์ความต้องการของโรงงานอุตสาหกรรมที่ต้องการเปลี่ยน Lay out สถานีไฟฟ้า ย้ายโรงงาน สามารถยก E-House ไปวางเพื่อผลิตไฟฟ้าเหมือนสถานีไฟฟ้าที่เป็นอาคาร เนื่องจากตู้คอนเทนเนอร์สามารถต่อขยายได้ จึงรองรับการใช้งานมีความยืดหยุ่นในการทำงานโครงการในนิคมอุตสาหกรรม
สำหรับหน่วยงานรัฐวิสาหกิจหรือผู้ประกอบการที่ต้องการสถานีไฟฟ้าใหม่อย่างรวดเร็ว หรือต้องการปรับปรุงสถานีไฟฟ้า แต่ในขณะเดียวกันต้องจ่ายไฟฟ้าให้แก่ลูกค้าอย่างต่อเนื่อง โซลูชัน E-House เป็นทางเลือกที่ตอบโจทย์และช่วยลดต้นทุนเมื่อพิจารณาถึงค่าใช้จ่ายรวมทั้งหมด (Total Cost) นอกจากนี้ซีเมนส์ยังได้นำ SICHARGE D เครื่องชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าแบบ DC Charger ประสิทธิภาพสูง ซึ่งได้รับรางวัล iF Design Award 2023 ประเภทยานยนต์ (Automotive) มาจัดแสดงเป็นครั้งแรกในประเทศไทยด้วย
“ภาคอุตสาหกรรมที่กำลังมุ่งสู่สังคมคาร์บอนต่ำจำเป็นต้องเตรียมพร้อมและมีเทคโนโลยีที่สอดรับกับการเปลี่ยนแปลงทางด้านพลังงาน เพราะนอกจากระบบโครงข่ายไฟฟ้าที่จะมีความซับซ้อนมากขึ้นในอนาคต ยังมีความท้าทายในการนำพลังงานหมุนเวียน (Renewable Energy) เข้ามาใช้ร่วมกันในระบบอย่างเหมาะสม รวมถึงความซับซ้อนของโหลดงานที่มาเชื่อมต่อกับระบบโครงข่ายไฟฟ้าก็มีบทบาทที่เป็นได้ทั้งผู้บริโภค (Consumer) และผลิตโดยผู้บริโภค (Prosumer) ดังนั้นเทคโนโลยีระบบไฟฟ้าในอนาคตจึงต้องพร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ เพื่อให้การบริหารจัดการพลังงานให้มีประสิทธิภาพสูงสุด มีเสถียรภาพ ยืดหยุ่นต่อการใช้งานที่หลากหลาย และส่งเสริมความยั่งยืน” สุวรรณี กล่าวสรุป