“ตราเสือ” พร้อมสนับสนุนยกระดับทักษะและมาตรฐานฝีมือช่างไทย สาขาช่างก่อสร้าง งานผนังและพื้นปูนซีเมนต์ อัพสกิลสถาบันเทคโนโลยีผนังและพื้นอย่างเป็นทางการ พร้อมทีมบุคลากรผู้เชี่ยวชาญมาอัพสกิลมาตรฐานฝีมือแรงงาน หวังแก้ปัญหาการขาดแคลนช่างฝีมือแรงงานและสร้างมูลค่าเพิ่มผ่านการฝึกอบรมทักษะวิชาชีพงานปูนซีเมนต์ชั้นสูง เสริมทักษะให้ช่างก่อสร้างไทยสามารถแข่งขันได้ในระดับเวทีโลก อีกทั้งร่วมมือพันธมิตรธุรกิจนำเสนอนวัตกรรมผ่านเครื่องมือ อุปกรณ์ เทคโนโลยีดิจิทัล และความร่วมมือทางธุรกิจใหม่ๆ
นพพร กีรติบรรหาร Deputy Chief Marketing Officer – Marketing and Branding Cement and Green Solutions Business – เอสซีจี กล่าวว่าตราเสือ ผู้นำนวัตกรรมปูนซีเมนต์จากรุ่นสู่รุ่นที่นำเสนอนวัตกรรมสินค้าและบริการอย่างต่อเนื่องกว่า 108 ปี ซึ่งที่ผ่านมาได้มุ่งเน้นการศึกษาวิจัยทางการตลาดนำไปต่อยอดพัฒนานวัตกรรมผลิตภัณฑ์ปูนซีเมนต์คุณภาพที่ครบครัน ตามประเภทการใช้งาน รูปแบบวิวัฒนาการงานก่อสร้าง พฤติกรรมการใช้งานของช่างก่อสร้างและผู้รับเหมา รวมถึงการประยุกต์เทคโนโลยี องค์ความรู้ใหม่มาปรับใช้ ทั้งนี้ปัญหาการขาดแคลนแรงงานที่มีทักษะฝีมือ มาตรฐานการทำงานของช่างก่อสร้างที่เรียนรู้จากประสบการณ์ และพฤติกรรมวิธีการทำงานที่คงต้องการผลลัพธ์คุณภาพของงานผนังและพื้นด้วยระยะเวลาการก่อสร้างรวดเร็วขึ้น อีกทั้งต้องสามารถบริหารจัดการงบประมาณ อันเป็นความท้าทายยิ่งสำหรับตราเสือ
จึงเป็นที่มาในการยกระดับมาตรฐานฝีมือแรงงานช่างก่อสร้างไทย สาขางานก่ออิฐ ฉาบผนังและที่เกี่ยวข้องกับปูนซีเมนต์ ด้วยการยกเครื่องสถาบันเทคโนโลยีผนังและพื้น ตราเสือ (Tiger Wall and Floor Technology Center) ให้ทันสมัย เข้าถึงสื่อสาร และรองรับพฤติกรรมความสนใจของช่าง ผู้รับเหมารุ่นใหม่ ทั้งการนำเสนอเครื่องมือ อุปกรณ์ที่พัฒนาขึ้นเอง ร่วมพัฒนากับพันธมิตรทางธุรกิจ หรือนำเข้าจากต่างประเทศ พร้อมองค์ความรู้ต่างๆ หลักสูตรการฝึกอบรมทั้งออฟไลน์ ออนไลน์ และ Virtual Reality โปรแกรมจำลองเสมือนจริง เหมือนได้มายังสถาบันฯ เพื่ออำนวยความสะดวก ลดระยะเวลาการเดินทาง อีกทั้งยังนับเป็นสถาบันเทคโนโลยีด้านผนังและพื้นปูนซีเมนต์รายแรกในอาเซียน พร้อมสิ่งอำนวยความสะดวกทั้งภาคทฤษฎีและส่วนปฏิบัติการ รวมถึงเป็นศูนย์เก็บตัวเสริมสร้างทักษะให้กันเยาวชนอาชีวะเป็นตัวแทนของประเทศไทยในหมวด สาขาก่ออิฐ ฉาบผนัง ในการแข่งขันทักษะฝีมือแรงงานระดับโลก (World Skill Competition) นับเป็นก้าวต่อไปของตราเสือ อยู่เคียงข้างช่างก่อสร้างไทย ยกระดับทักษะมาตรฐานฝีมือแรงงานให้ทัดเทียมในระดับสากล นายนพพรกล่าว
ด้าน ธีระยุทธ พันธ์มีเชาว์ Technical Service Strategy Director บริษัท ผลิตภัณฑ์และวัตถุก่อสร้าง จํากัด กล่าวว่า สถาบันเทคโนโลยีผนังและพื้น ตราเสือ มุ่งยกระดับมาตรฐานทักษะฝีมือแรงงานและต้องการให้ช่างก่อสร้าง เกิดการพัฒนายกระดับคุณภาพชีวิต ผ่านการฝึกอบรมทักษะวิชาชีพ และประยุกต์เพิ่มมูลค่าฝีมือแรงงาน หรือปรับใช้เทคโนโลยีใหม่เข้ามาอำนวยความสะดวก ทั้งในรูปแบบองค์ความรู้ที่ตราเสือพัฒนาขึ้นเอง หรือร่วมกับลูกค้าพันธมิตรทางธุรกิจ มาช่วยเสริมทักษะให้กับช่างและบุคลากรที่เกี่ยวข้อง ให้ก้าวสู่ความเป็นมืออาชีพ ผ่านองค์ประกอบ 4M : Man (การพัฒนาทักษะฝีมือแรงงานของบุคคล) Machine (การพัฒนาเครื่องมือ อุปรณ์ตลอดจนประยุกต์ใช้เทคโนโลยี) Method (การพัฒนาขั้นตอนการทำงาน) และ Material (การพัฒนาปูนซีเมนต์และต่อยอดวัสดุใหม่ๆ) ที่จะตอบโจทย์กลุ่มผู้ประกอบการรับเหมาก่อสร้าง กลุ่มผู้ประกอบการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ตลอดจนผู้รับเหมาใหญ่ กลาง เล็ก ที่สามารถบริหารจัดการเวลา ต้นทุน งบประมาณ และคุณภาพ
นอกจากนี้ ตราเสือ ยังได้มีหลักสูตร ฝึกอบรมในเบื้องต้น รองรับมากกว่า 15 หลักสูตร ครอบคลุมความรู้เกี่ยวกับตัวผลิตภัณฑ์และการใช้งานปูนซีเมนต์ มาตรฐานการทำงานก่ออิฐ-ฉาบปูน มาตรฐานการทำงานเทปรับพื้น มาตรฐานการทำงานปูกระเบื้องขนาดใหญ่ งานตกแต่งเพื่อเพิ่มมูลค่าสำหรับงานฉาบและงานฉาบ Décor and Loft Wall และมาตรฐานงานก่ออิฐ ฉาบปูนตามมาตราฐาน และทีมผู้เชี่ยวชาญ มากด้วยประสบการณ์ สมาร์ทไทเกอร์ทีม (Smart Tiger Team) พร้อมให้คำปรึกษา อบรม สาธิต และบริการ ณ ไซต์งานก่อสร้าง ทั้งช่องทางออฟไลน์และออนไลน์ และอีก 5 หลักสูตร ที่ได้รับการรับรองจากกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กระทรวงแรงงาน เป็นการทดสอบตามมาตรฐานวิชาชีพในหมวดสาขาอาชีพช่างก่อสร้าง
“สถาบันเทคโนโลยีผนังและพื้น ตราเสือ เป็นเสมือน สำนักตักศิลา (ศูนย์บ่มเพาะพัฒนาทักษะฝีมือแรงงานช่างก่อสร้าง) (Incubator Center) แหล่งรวมองค์ความรู้เทคนิคการก่อสร้าง งานปูนซีเมนต์งานผนังและพื้นอย่างครบวงจรแห่งแรกของอาเซียน มีการพัฒนาองค์ความรู้ในด้านงานก่อ-ฉาบ งานตกแต่งพื้น และผนัง ด้วยปูนซีเมนต์ ทั้งในด้านประยุกต์วิธีการใช้งาน นำเสนอเทคนิคการใช้งานใหม่ๆ เพื่อยกระดับมาตรฐานฝีมือแรงงาน ทั้งในด้านความรู้ การประยุกต์ ลงมือปฏิบัติจริง นำเสนอเทคนิคการใช้งาน รวมถึงรวมพัฒนาความมือใหม่ๆ (Open Innovation) ทั้งจากพัฒนาขึ้นเองจากการสำรวจความต้องการลูกค้า ความร่วมมือจากลูกค้าหรือพันธมิตรทางธุรกิจ สถาบันการศึกษา ตลอดจนการประยุกต์จากต่างประเทศ ที่วันนี้พร้อมเปิดรับทุกภาคส่วน เพื่อร่วมกันยกระดับมาตรฐานทักษะฝีมือแรงงานของช่างก่อสร้างไทย” ธีระยุทธ กล่าว
ทั้งนี้ ตราเสือ ยังได้ยกระดับอัพเลเวล ทั้งในส่วนพัฒนาประยุกต์ใช้เทคโนโลยี เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการทำงานด้วยเครื่องมือกลุ่ม Smart Tiger Tools ที่ได้ทำการยื่นจดสิทธิบัตร ไปแล้ว 5 ผลงาน คือ รางก่ออิฐ เกรียงก่ออิฐมวลเบา เกรียงก่ออิฐพันปี เครื่องเช็คความพร้อมก่อนปั่นหน้าปูน และ เครื่องผสมเทปูน โดยในระยะแรก ทางตราเสือได้สนับสนุนเครื่องมือเหล่านี้ให้กับกลุ่มช่างโครงการที่เป็นพันธมิตรกับตราเสือ ทั้งนี้การวางจำหน่ายในท้องตลาดทั่วไปนั้นยังอยู่ในการวางแผนงานต่อไป นอกจากนี้ ตราเสือ ยังได้ร่วมกับพันธมิตรทางธุรกิจพัฒนาเครื่องมือใหม่ๆ อาทิเช่น เกรียงก่ออิฐพันปี ร่วมกับ เครือ Rothenburg Group ช่วยเพิ่มความรวดเร็ว ได้มาตรฐานในการก่อผนัง และเครื่องพ่นฉาบผนังปูนซีเมนต์เครื่องยนต์ดีเซล ร่วมกับ บริษัท สยามคูโบต้าคอร์ปอเรชั่น จำกัด และ บริษัท ไทย อชิเทค จำกัด ช่วยตอบโจทย์งานขึ้นปูนฉาบผนังให้ได้มาตรฐาน และลดระยะเวลาในการทำงาน ณ ไซต์งาน เป็นต้น นับเป็นแนวมิติใหม่ในการช่วยยกระดับมาตรฐานฝืมือทักษะวิชาชีพของช่างก่อสร้างไทย เพิ่มมูลค่าในงานผนังและพื้นปูนซีเมนต์ ให้แข่งขันและทัดเทียมได้ในเวทีโลก
แม้ว่าสถาบันฯ จะตั้งอยู่ที่อำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี แต่ด้วยความพร้อมของสถาบันฯ ที่มีช่องทางการสื่อสาร ติดต่อ ฝึกอบรม พร้อมบริการ ให้คำปรึกษาทั้งช่องทางออฟไลน์ ออนไลน์ และ Virtual Tour ทำให้มั่นใจได้ว่าช่างก่อสร้าง ผู้รับเหมา ผู้ประกอบการ ตลอดจนผู้ที่สนใจสามารถติดต่อ แจ้งความสนใจ หรือเข้าอบรมได้ทุกที่ทุกเวลา ผ่าน https://tech.tigerbrandth.com/ รวมถึงยังมีหน่วยรถโมบายเคลื่อนที่ พร้อมทีมผู้เชี่ยวชาญ (Smart Tiger Team) พร้อมบริการถึงหน้าไซต์งาน ครอบคลุมทุกจังหวัดทั่วประเทศ ธีระยุทธ กล่าวสรุป
“ตราเสือ” ผู้นำด้านผลิตภัณฑ์ปูนซีเมนต์คุณภาพที่มุ่งมั่นพัฒนาตลอด 108 ปี ก้าวต่อไป ชูเทคโนโลยีนวัตกรรมต่างๆ ทั้งผลิตภัณฑ์ปูนซีเมนต์และเกี่ยวเนื่อง บริการ และโซลูชั่น ที่จะยกระดับมาตรฐานทักษะฝีมือแรงงานของช่างก่อสร้างไทย เพิ่มมูลค่างานฝีมือและคุณภาพความเป็นอยู่ของบุคคลากรภาคการก่อสร้าง ให้สามารถทัดทียมนระดับเวทีโลก