สมาคมไฟฟ้าและพลังงานไอทริปเปิลอี (ประเทศไทย) ได้จัดงาน IEEE PES DAY 2024 ในหัวข้อ เสริมสร้างศักยภาพนวัตกรรมการขับเคลื่อนไฟฟ้า (Empowering Electric Mobility Innovation) เมื่อวันที่ 23 เมษายน 2567 และได้รับเกียรติจาก วิลาศ เฉลยสัตย์ ผู้ว่าการ MEA หรือการไฟฟ้านครหลวง ในฐานะประธานสมาคมไฟฟ้าและพลังงานไอทริปเปิลอี (ประเทศไทย) หรือ IEEE POWER & ENERGY SOCIETY (THAILAND) เป็นประธานเปิดงานเสวนา IEEE PES DAY 2024 โดยมี จาตุรงค์ สุริยาศศิน รองผู้ว่าการ MEA สุโรจน์ แสงสนิท อุปนายกสมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทย มนต์ชัย ชุ่มอินทรจักร์ หัวหน้ากลุ่มเทคโนโลยีการขนส่งและจราจร สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร ดร.อัครินทร์ สุวรรณรัตน์ Executive Vice President บริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน) กิตพน กิตติอำพน หัวหน้าโครงการ A C Energy Solution บริษัทภายใต้ Arun Plus Group ร่วมเสวนา พร้อมด้วย รศ. ดร.สมพร สิริสำราญนุกูล มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือและกรรมการบริหาร สมาคมไฟฟ้าและพลังงานไอทริปเปิลอี (ประเทศไทย) เป็นผู้ดำเนินรายการ
วิลาศ เฉลยสัตย์ ผู้ว่าการ MEA กล่าวว่า MEA ในฐานะหน่วยงานรัฐวิสาหกิจสังกัดกระทรวงมหาดไทย ที่มีความมุ่งมั่นในการขับเคลื่อนนวัตกรรมและเทคโนโลยี ได้ร่วมจัดสัมมนาในครั้งนี้เพื่อแสดงให้เห็นว่า สมาคมฯ และทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ตระหนักดีถึงความจำเป็นในการร่วมมือกับภาครัฐในการขับเคลื่อนนวัตกรรมและเทคโนโลยีด้านยานยนต์ไฟฟ้า เพื่อผลักดันให้ประเทศไทยได้เป็น HUB สำคัญของการผลิตรถ EV ในภูมิภาคอาเซียน ด้วยแรงงานที่มีทักษะ เสริมด้วยโครงสร้างพื้นฐานด้านการขนส่งผ่านท่าเรือแหลมฉบัง ที่เชื่อมโยงกับประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาค รวมทั้งปริมาณไฟฟ้าสำรองในประเทศซึ่งมีเพียงพอที่จะรองรับการใช้งาน และการประกอบรถ EV ในปริมาณมาก ตลอดจนภาครัฐได้มีนโยบายกระตุ้น demand ในประเทศด้วยการลดภาษีนำเข้าเหลือ 40% สำหรับรถ EV ที่มีราคาขายไม่เกิน 2 ล้านบาทต่อคัน ทั้งนี้เพื่อเพิ่มปริมาณการใช้รถยนต์ที่ปล่อยมลพิษเป็นศูนย์ภายในประเทศ และบรรลุเป้าหมายก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ให้เร็วที่สุด เพื่อการปรับตัวต่อภาวะโลกร้อนได้อย่างยั่งยืน
จาตุรงค์ สุริยาศศิน รองผู้ว่าการ MEA กล่าวว่า เป็นความกังวลเสียมากกว่าที่ทางการไฟฟ้านครหลวง เราเป็นห่วงสำหรับผู้ที่ใช้รถ EV ผู้ใช้รถเวลาเลือกดูรถก็ดูจากรูปลักษณ์ สมถนะของรถ ว่ารถวิ่งได้กี่กิโลเมตร ความเร่งเป็นอย่างไร แต่ท่านอย่าลืมนึกไปอีกอย่างหนึ่งว่ากำลังนำรถ EV ออกมา แล้วกำลังไปทำสถานีชาร์จในบ้านท่าน ตรงนี้การไฟฟ้านครหลวงเราเป็นห่วง ของแถมชาร์จเจอร์ที่แถมมากำลังรถนั้นไม่มีประเด็น แต่อาจจะมีประเด็นเรื่องของการติดตั้งที่ได้มาตรฐานเพียงพอหรือไม่ เพราะว่าการติดตั้งไม่ได้ทำด้วยผู้เชี่ยวชาญ ถึงจะทำให้ชาร์จไฟได้แต่จะชาร์จได้กี่ครั้ง กว่ารถจะพังแล้วชาร์จในบ้านกี่พันกี่หมื่นครั้ง ทางการไฟฟ้านครหลวงเป็นห่วงหากมีการใช้ช่างที่ไม่ได้มีความเชี่ยวชาญอาจจะเกิดอันตรายทัง้ตัวรถและคนก็เป็นได้ เรียดกได้ว่าอาจจะเป็นระเบิดเวลา โอกาสที่จะเกิดเพลิงไหม้จากการชาร์จ
เพราะฉะนั้น เมื่อการไฟฟ้านครหลวงขออาสาเป็นหนึ่งในทางเลือกที่ะใช้ช่างมืออาชีพ ใช้อุปกรณ์ที่มีมาตราฐาน ดังนั้นเราขอเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ช่วยเหลือในการให้คำแนะนำและมีช่างมืออาชีพ KEN by MEA “ เสริมทัพธุรกิจเกี่ยวเนื่องตอบสนองงานบริการประชาชน เพื่อวิถีชีวิตเมืองมหานครอย่างยั่งยืน ” งานบริการธุรกิจเกี่ยวเนื่องของ MEA โดยทีมที่ปรึกษาที่มีความเชี่ยวชาญ และมีความเป็นมืออาชีพด้านธุรกิจไฟฟ้า เพื่อรองรับความต้องการของผู้ใช้ไฟฟ้าได้ครอบคลุม 4 บริการ โดยมุ่งเน้นการบริการและการบริหารลูกค้าที่เป็นเลิศ เน้นเรื่องความปลอดภัย บริการที่รวดเร็ว เข้าใจความต้องการของผู้ใช้ไฟฟ้า ทั้งด้านที่อยู่อาศัย อุตสาหกรรม พาณิชยกรรม และสอดรับกับชีวิตความเป็นอยู่ของเมืองมหานครสู่อนาคตอย่างยั่งยืน ด้วยบริการที่มีคุณภาพ สะดวก รวดเร็ว เข้าถึงง่าย standby 24 ชั่วโมง
สุโรจน์ แสงสนิท อุปนายกสมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทย กล่าวว่า ข้อมูล ณ ไตรมาสที่ 1 เมื่อ พ.ศ. 2566 ประเทศไทยเป็นประเทศเศรษฐกิจหลักในกลุ่มอาเซียนโดยมีสัดส่วนของยอดขายรถยนต์ไฟฟ้าในประเทศ (%) สูงสุดในภูมิภาค และปัจจุบันมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง หากกล่าวถึงเรื่องของการซ่อมบำรุง เรื่องช่างไฟไปแล้ว มากล่าวถึงเรื่องของช่างซ่อมบำรุงรถตอนนี้รถไฟฟ้าอาจจะเหมือนมีชิ้นส่วนที่น้อยมากแต่ไฟฟ้ามีกำลังมาถึง 400 โวลต์ ถ้าเกิดว่าคนไม่รู้อาจจะเกิดอัตรายขึ้นมาได้ ทาง EVAT ก็มีสิ่งหนึ่งที่กำลังพยายามทำอยู่คือมีการฝึกอบรมและนำเทคโนโลยีในการซ่อมรถไฟฟ้ามาเราได้มีการเชิญวิทยากรมาที่มีความเชี่ยวชาญและชำนาญจากประเทศจีนเพื่อมาเทรนให้กับช่างในประเทศไทย
และอีกประเด็นหนึ่ง ในเรื่องของราคารถไฟฟ้านั้นที่มีการคิดว่าราคาตกมากแต่อยากให้นึกถึงวันแรกที่ซื้อมานั้นผู้ใช้ประหยัดไปเท่าไหร่เพราะฉะนั้นรถไฟฟ้ามีจุดเด่นกว่ารถน้ำมันคือเรื่องการซ่อมบำรุงนั้นอาจจะต้องมีช่างเชี่ยวชาญเฉพาะจุดต่าง ๆ แต่ถ้าเป็นรถไฟฟ้าผู้ใช้สามารถนำรถให้ช่างผู้เชี่ยวชาญซ่อมบำรุงโดยการเสียบกับระบบคอมฯ เพื่อดูว่ามีจุดบกพร่องในส่วนไหนได้เลยทันทีสามารถรับรู้ได้เลยว่าสภาพรถนั้นกี่ % ตัวเลขที่ชัดเจนแม่นยำโดยไม่ต้องคาดการณ์
สุดท้ายนี้ ประเทศไทยเกิดน้ำท่วมบ่อยครั้งรถไฟฟ้า ไฟฟ้ากับน้ำไม่ถูกกันหลาย ๆ คนเกิดความกังวลใจหากถามว่าจะต้องแก้ปัญหาอย่างไรนั้นหรือมีวิธีรับมืออย่างไร แต่ต้องเรียนว่าวิศวกรที่มีการออกแบบรถไฟฟ้าทุกยี่ห้อนั้นเค้ามีการออกแบบเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาตามมาอย่างแน่นอนอย่าให้คนไทยมั่นใจในการออกแบบและใช้รถไฟฟ้าอย่างปลอดภัย
มนต์ชัย ชุ่มอินทรจักร์ หัวหน้ากลุ่มเทคโนโลยีการขนส่งและจราจร สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร กล่าวว่า อยากจะให้มีการดูว่านวัตกรรมที่นำมาใช้ในภาคการขนส่งเพื่อที่จะได้เป็นกานส่งเสริมให้กับ E-mobility ทางบก ทางน้ำและทางราง เพื่อการขนส่งที่มีประสิทธิภาพและยังเป็นการไม่สร้างมลพิษให้กับประชาชนในประเทศ พร้อมทั้งยังเป็นการส่งเสริมการขนส่งภายในประเทศให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นอีกด้วย
และอยากจะให้มีการ Support ในเรื่องของความปลอดภัยในการใช้รถใช้ถนน อาจจะมีนวัตกรรมที่เป็นตัวช่วยและส่งเสริมการป้องกันการเกิดอัคคีภัย เพื่อการป้องกันการเกิดเพลิงใหม่ของรถยนต์ที่ใช้แบตเตอรี่เพื่อความปลอดภัยที่มากยิ่งขึ้นในการใช้ถนนร่วมกัน อยากจะให้ช่วยสนับสนุนและส่งเสริมในเรื่องของเทคโนโลยีในส่วนนี้ เพื่อเป็นแรงจูงใจให้ประชาชนมั่นใจและไว้ใจในการใช้รถสาธารณะและทาง สนข. มองว่าเป็นเรื่องที่ท้าทายที่จะต้องผลักดันทำให้ได้เช่นกัน
ดร.อัครินทร์ สุวรรณรัตน์ Executive Vice President บริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า สิ่งหนึ่งที่ขาดไม่ได้เลยว่าเราจะต้องทำอย่างไรให้เราไปถึง Net Zero Carbon เมื่อเรามีการเปลี่ยนจากรถยนต์เครื่องสันดาปมาเป็นรถยนต์ไฟฟ้าเราจะต้องมีการใช้พลังงานไฟฟ้าที่สะอาดร่วมด้วยเช่นกันเป็น Green Electricity ที่มาจากพลังงานไฟฟ้าที่มาจากพลังงานทดแทน ซึ่งต้องเรียนว่า ณ ปัจจุบันเรากยังคงไม่มีพลังงานทดแทนที่มากเพียงพอที่จะมา Supply ในส่วนนี้และในอนาคต
อีกเรื่องหนึ่งในแง่ของ ESS ถ้าเรามีพลังงานทดแทนมากขึ้นสิ่งที่จะทำให้ระบบเสถียรอันหนึ่งที่เป็นส่วนประกอบสำคัญคือต้องเป็น ESS ถ้าเกิดมีการชาร์จแบบ Ultra-Fast Charger ที่มีการใช้โหลดเยอะที่มีจำนวนขึ้น ๆ ลง ๆ ESS ไม่ได้ช่วยแค่ต้นทางแต่ยังช่วยปลายทางด้วยเช่นกันดังนั้นแล้ว Renewable Energy และ ESS เป็นส่วนประกอบสำคัญเกี่ยวกับการขับเคลื่อนยานยนต์ไฟฟ้า
กิตพน กิตติอำพน หัวหน้าโครงการ A C Energy Solution บริษัทภายใต้ Arun Plus Group กล่าวว่า เชื่อว่าปริมาณของคนไทยที่จะใช้รถไฟฟ้าจะเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ ต้องขอเรียนว่าโดยส่วนตัวใช้รถไฟฟ้ามาร่วม 3 ปี แล้วไม่ได้มีปัญหาอาจจะมีในช่วงแรกที่มีความกังวลเรื่องของการชาร์จ แต่ในปัจจุบันในทุก ๆ ตามสถานีปั๊มน้ำมันไม่ว่าจะเป็นทั้งในกรุงเทพฯ หรือต่างจังหวัดเริ่มมีสถานชาร์จมากขึ้นเรื่อย ๆ รวมไปถึงที่พักโรงแรมหรือระหว่างทาง เชื่อการใช้งานในประเทศจะผู้บริโภคจะเปลี่ยนจากรถยนต์ที่ใช้น้ำมันมาเป็นรถยนต์ไฟฟ้ามากขึ้นเรื่อ ๆ เพราะรยนต์ในอนาคตอันใกล้นี้จะมีตัวเลือกที่หลากหลายและมีราคาที่ถูกลง พร้อมทั้งยังมีสถานีชาร์จที่เพิ่มมากขึ้นและสามารถขับรถยนต์ไฟฟ้าได้อย่างไร้ความกังวลไม่ว่าจะต้องวิ่งระยะทางที่ไกลแค่ไหน