การ์ทเนอร์เผยในปี 2570 ประมาณ 80% ของโครงการธรรมาภิบาลด้านข้อมูลและการวิเคราะห์ (หรือ D&A) จะเผชิญกับความล้มเหลว เนื่องจากขาดวิกฤติที่เกิดขึ้นจริงหรือ Manufactured Crisis ซาอูล ยูดาห์ รองประธานฝ่ายวิจัยการ์ทเนอร์ กล่าวว่า “โปรแกรมธรรมาภิบาลข้อมูลและการวิเคราะห์ที่ไม่ตอบโจทย์ผลลัพธ์ทางธุรกิจจะพบกับความล้มเหลว ในช่วงที่ผ่านมาวิกฤติที่เกิดขึ้น เช่น โควิด-19 หรือการเพิ่มขึ้นของต้นทุนด้านพลังงาน ผู้บริหาร Chief Data & Analytics Officers หรือ CDAO ที่ช่วยให้องค์กรฝ่าฟันอุปสรรคเหล่านั้น เข้าใจวิกฤติและขับเคลื่อน D&A อย่างรวดเร็วสามารถช่วยให้ผู้นำธุรกิจรับมือสถานการณ์ได้อย่างรวดเร็ว”
การใช้แนวทางเชิงกลยุทธ์เพื่อกำกับดูแลข้อมูลและการวิเคราะห์ และวางตำแหน่งให้เป็นโมเดลธุรกิจหลักที่มีความสำคัญมากกว่าเชิงแทคติก โดยทีม D&A ดำเนินการกำกับดูแลแบบรีแอคทีฟ มุ่งเน้นไปที่สินทรัพย์เพียงรายการเดียว นั่นคือ ข้อมูล
“ผู้บริหาร CDAO ควรหยุดใช้แนวทางที่เน้นการสั่งการและควบคุม ไปเป็นการกำกับดูแล D&A และกำหนดขอบเขตการกำกับดูแลเพื่อเน้นผลลัพธ์ทางธุรกิจที่จับต้องได้ พร้อมปรับเปลี่ยนไปตามโอกาสและความเสี่ยง รวมถึงเพิ่มความคล่องตัวและปรับขนาดตามการเติบโตขององค์กร” ยูดาห์กล่าวเพิ่ม
นักวิเคราะห์การ์ทเนอร์กล่าวว่าแนวทางธรรมาภิบาลในแบบ “One-Size-Fits-All” ที่ใช้ในปัจจุบันไม่ใช่แนวทางที่องค์กรส่วนใหญ่มองหา (ดูรูปที่ 1)
ข้อจำกัดธรรมาภิบาล Data & Analytics ในโมเดล One Size Fits All ไม่เพียงพออีกต่อไป
การนำ GenAI มาใช้จะรีเฟรชการกำกับดูแล D&A ที่ล้าสมัย
จากที่มีการนำเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) และ Generative AI (GenAI) มาใช้มากขึ้น ผู้บริหาร CDAO สามารถดึงศักยภาพของเทคโนโลยีนี้มาใช้ปรับปรุงแนวทางปฏิบัติด้านการกำกับดูแล D&A ที่ล้าสมัย และรวม AI ไว้เป็นส่วนหนึ่งของโปรแกรมการกำกับดูแลที่ได้รับการพัฒนาต่อยอด ซึ่งธรรมภิบาล AI คือ กระบวนการมอบหมายและรับประกันความรับผิดชอบขององค์กร สิทธิ์การตัดสินใจ ความเสี่ยง นโยบาย และการตัดสินใจลงทุนเพื่อนำ AI มาใช้
นอกจากนี้ ผู้บริหาร CDAO ควรรวมความสามารถของ AI และ GenAI เข้ากับโปรแกรมธรรมาภิบาล D&A โดยการ์ทเนอร์คาดการณ์ว่าภายในปี 2570 การใช้ GenAI จะเร่ง Time to Value ของโปรแกรม D&A และโปรแกรมการจัดการข้อมูลหลัก หรือ Master Data Management Programs ได้มากถึง 40%
อนุรัก ราช นักวิเคราะห์หลักอาวุโสการ์ทเนอร์ กล่าวเพิ่มเติมว่า “ก่อนที่ผู้บริหาร CDAO จะเริ่มส่งมอบเคสการใช้งาน GenAI จะต้องตรวจสอบให้มั่นใจว่าข้อมูลพันธุกรรมหลักขององค์กร ได้รับการควบคุมอย่างดี ด้วยเหตุนี้พวกเขาควรใช้และจัดลำดับความสำคัญของความสามารถ GenAI ที่จะนำไปสู่คุณค่าที่เร็วขึ้นสำหรับโปรแกรมการกำกับดูแล โดยความสามารถของ GenAI สามารถช่วยเรื่องนี้ได้ด้วยการเพิ่มประสิทธิภาพในกิจกรรมการกำกับดูแล เช่น การจัดทำรายการและการจำแนกประเภทข้อมูล การนำข้อมูลไปใช้ในวงกว้างและง่ายขึ้น อาทิ ความสามารถในด้านการบริการตนเอง (Self-Service) ที่ดีขึ้น หรือความสามารถที่ช่วยแก้ปัญหาความท้าทายทางธุรกิจที่มีความเฉพาะเจาะจง เช่น การเพิ่มคุณค่าข้อมูลลูกค้าเพื่อกำหนดเป้าหมายได้ชัดเจนยิ่งขึ้น”