บริษัท เบย์วา อาร์.อี. (ไทยแลนด์) จำกัด บริษัทผู้ให้บริการโซลูชันพลังงานทดแทน จับมือบริษัท อุบล ไบโอ เอทานอล จำกัด (มหาชน) หรือ UBE ผู้ผลิตและผู้จัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์แปรรูปมันสำปะหลังครบวงจรชั้นนำของไทย – ติดตั้งแพลตฟอร์มโซล่าเซลล์แบบลอยน้ำแห่งแรกในประเทศไทย ที่จังหวัดอุบลราชธานี
เบย์วา อาร์.อี.ฯ สร้างแพลตฟอร์ม Floating Photovoltaic Farm (ฟาร์มผลิตพลังงานจากแสงอาทิตย์แบบลอยน้ำ) หรือเรียกว่า “floatovoltaic” ซึ่งสามารถผลิตพลังงานไฟฟ้ากำลังการผลิต ขนาด 2.83 เมกะวัตต์ ประมาณ 4,440 MWh (เมกะวัตต์-ต่อชั่วโมง) ได้เริ่มจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบเชิงพาณิชย์ (Commercial Operation Date: COD) ช่วงต้นปี 2565 โดยเป็นโครงการแพลตฟอร์มโซล่าเซลล์แบบลอยน้ำในรูปแบบ Corporate PPA แห่งแรกในประเทศไทย ด้วยเทคโนโลยีแพลตฟอร์มลอยน้ำสองชนิดได้ถูกนำมาปรับใช้ โดยชนิดแรกเป็นเทคโนโลยีแบบทุ่นลอยล้วน กับอีกชนิดปรับใช้โดยใช้เทคโนโลยีลอยน้ำโดยใช้ทุ่นลอยร่วมกับโครงสร้างสนับสนุนแบบเหล็ก นอกจากนี้แล้ว โครงการนี้ยังได้จัดทำขึ้นโดยใช้โมดูลเซลล์แผงโซล่าร์แบบ bifacial จำนวนถึง 6,900 หน่วย และระบบแรงดันไฟฟ้าปานกลางแบบสั่งทำเองที่ปรับแต่งมาเพื่อใช้งานกับฟาร์มลอยน้ำโดยเฉพาะ
ดาเนียล แกฟเคอ (Daniel Gaefke) ผู้อำนวยการ เบย์วา อาร์.อี. ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิค กล่าวว่า“สำหรับ เบย์วา อาร์.อี. แล้วโครงการที่ร่วมมือกับ UBE ในจังหวัดอุบลราชธานีได้วางรากฐานไปสู่โอกาสในอนาคตในการติดตั้งโซล่าเซลล์แบบลอยน้ำ ไม่เพียงแค่ในประเทศไทย แต่รวมถึงอีกในหลายประเทศและเขตเมืองต่าง ๆ ในทวีปเอเชีย ซึ่งต่างก็ประสบปัญหากับความขาดแคลนที่ดิน และอื่นๆ อีกมากมาย พวกเราพยายามมองหานวัตกรรมเพื่อนำไปปรับใช้และส่งมอบโซลูชันที่ใช้งานได้กับท้องถิ่นนั้นๆ เราจะขับเคลื่อนไม่เพียงแค่ระดับรัฐบาล แต่ยังคอยเติมเต็มโครงการริเริ่มการพัฒนาที่ภาคส่วนเอกชนเป็นผู้นำด้วย”
ในการพัฒนาฟาร์มโซลาร์เซลล์ลอยน้ำนั้น เบย์วา อาร์.อี. ได้รับเลือกให้เป็นพาร์ทเนอร์ของ UBE เพราะเป็นบริษัทที่มีผลงานความสำเร็จทั้งในระดับโลกและภูมิภาค
สุรียส โควสุรัตน์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท อุบล ไบโอ เอทานอล จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า“บริษัทให้ความสำคัญต่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนในมิติของสังคม และสิ่งแวดล้อม ซึ่งโครงการโซลาร์เซลล์ลอยน้ำเป็นหนึ่งในโครงการพลังงานหมุนเวียนที่สำคัญ เพิ่มเติม จากหลายโครงการที่บริษัทฯ มีการนำของเสียจากกระบวนการผลิตมาสร้างเป็นพลังงานหมุนเวียน ที่ช่วยสนับสนุนให้ UBE มีความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อมอย่างแท้จริง ปัจจุบัน UBE สามารถผลิตพลังงานไฟฟ้าได้มากกว่า 10 เมกะวัตต์ต่อชั่วโมง จากพลังงานทดแทน นับเป็นอีกก้าวหนึ่งที่สำคัญที่ทำให้ UBE บรรลุเป้าหมายที่จะใช้พลังงานสะอาด 100%”
สุรียส กล่าวต่อว่า “ทีมงานโครงการจากเบย์วา อาร์.อี. เป็นผู้เชี่ยวชาญมีประสบการณ์จากทั่วโลก เทคโนโลยีที่ทันสมัย รวมทั้งความรู้เทคนิคต่างๆ ทำให้เราเชื่อมั่นว่าจะทำให้ UBE บรรลุวัตถุประสงค์ในเรื่องการประหยัดพลังงานได้เร็วกว่าแผนที่ตั้งไว้” โครงการความร่วมมือในครั้งนี้ร่วมกับ UBE ในจังหวัดอุบลราชธานี นับเป็นการตอกยำเจตนารมย์ของเบย์วา อาร์.อี. ที่ต้องการจะเป็นพาร์ทเนอร์กับUBE และหน่วยงานรัฐบาลในไทยเพื่อช่วยพัฒนาโครงการพลังงานสะอาดในประเทศต่าง ๆ การร่วมมือกับ UBE ในการทำฟาร์ม floatovoltaic ที่อุบลราชธานีนั้นได้รับการบันทึกว่าเป็นโครงการโซล่าเซลล์แบบลอยน้ำโครงการแรกของ เบย์วา อาร์.อี. ที่ติดตั้งนอกยุโรปและเป็นโครงการแรกในเอเชียแปซิฟิก โดยจะยังมีโครงการอื่นๆ ต่อไปอีก และยังรวมถึงโครงการบางส่วนในเอเชียแปซิฟิกด้วย
เบย์วา อาร์.อี. พัฒนาโครงการพลังงานสะอาดต่าง ๆ มากมายในยุโรป เช่น ในเนเธอร์แลนด์ บริเตนใหญ่ มาลี รวันดา และที่อื่น ๆ ในเกาหลีใต้ เบย์วา อาร์.อี. ได้ลงนามบันทึกข้อตกลงร่วมกับเมืองอุลซานเพื่อพัฒนาโครงการพลังงานลมนอกชายฝั่งแบบลอยน้ำที่บริเวณนอกชายฝั่งอุลซานในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2564 และเป็นผู้สร้างฟาร์มโซล่าเซลล์แห่งแรกในประเทศเกาหลีใต้
ในประเทศเวียดนาม เบย์วา อาร์.อี. ได้เปิดตัวโกดังกระจายพลังงานแสงอาทิตย์และสิ่งอำนวยความสะดวกออฟฟิศใหม่ ๆ ในเมืองโฮจิมินห์เพื่อให้บริการแก่ผู้ติดตั้งและผู้รวมระบบในท้องที่ เบย์วา อาร์.อี. ยังได้รับรางวัลบริษัทพลังงานแสงอาทิตย์ประจำปี 2564 ประเภท ‘ผู้จัดจำหน่าย’ ที่งาน Philippines Solar Week Leadership Awards 2021 เป็นเครื่องพิสูจน์ถึงความเชี่ยวชาญ