ยกระดับขีดความสามารถของธุรกิจการผลิตไทย ด้วย 5G และแนวคิด Smart Manufacturing


อุตสาหกรรมการผลิตเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมที่จะได้รับประโยชน์เป็นอย่างมากจากการปฏิรูปดิจิทัลและการเข้ามาของเทคโนโลยี 5G ในเซสชัน “Adaptability to Digital Manufacturing Transformation” ในงาน AIS – 5G for BUSINESS is NOW รศ.ดร. ชิต เหล่าวัฒนา ที่ปรึกษาพิเศษสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ได้มาเล่าให้เราฟังถึงการสนับสนุนธุรกิจไทยเข้าสู่ ยุค Industry 4.0 และโครงการเทคโนโลยีดิจิทัลต่างๆที่ภาครัฐได้วางแผนไว้ จะมีประเด็นใดน่าสนใจบ้าง ติดตามได้ในบทความนี้

ยกระดับความสามารถในการแข่งขันของไทยด้วย EEC

ในสถานการณ์ที่เศรษฐกิจและธุรกิจทั่วโลกได้มีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก ประเทศไทยได้วางเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก หรือ EEC เป็นนโยบายสำคัญในการยกระดับความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ส่งเสริมให้ธุรกิจไทยดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถปรับใช้เทคโนโลยีได้ทัดเทียมมาตรฐานสากล และในระยะเวลาเกือบ 2 ปีที่ผ่านมา แม้จะมีสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคโควิด 19 โครงการ EEC ก็ยังคงมีความคืบหน้าอย่างต่อเนื่อง

ในปี 2020 ที่ผ่านมา เป็นปีของการวางแผนและผลักดันกฎหมาย เพื่อสนับสนุนและเพิ่มความคล่องตัวให้กับโครงการของ EEC และในปี 2021 นี้ เป็นปีแห่งการวางโครงสร้างพื้นฐาน โดยมีงบประมาณกว่า 1.7 ล้านล้านบาท และมีเป้าหมายในการเร่งรัดและส่งเสริมการลงทุน เพื่อสร้างรายได้เพิ่มเติมขึ้นมาจากรายได้จากอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวที่ซบเซาลงในช่วงวิกฤตโรคระบาด

ยกระดับขีดความสามารถของธุรกิจการผลิตไทย ด้วย 5G และแนวคิด Smart Manufacturing

ในการนี้ รัฐบาลได้วางแผนส่งเสริมและดึงดูดนักลงทุนสำหรับอุตสาหกรรมใหม่ๆ เช่น อุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่ EV อุตสาหรรมดิจิทัลและอิเล็กทรอนิกส์ และอุตสาหกรรมเทคโนโลยีการแพทย์ เป็นต้น โดยมีการเปิดพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมสำหรับอุตสาหกรรมเหล่านี้โดยเฉพาะภายในพื้นที่ EEC

5G คือโครงสร้างพื้นฐาน เร่งรัดธุรกิจเข้าสู่ยุคดิจทัล

ในส่วนของโครงสร้างพื้นฐาน นอกจากสิ่งปลูกสร้างและพื้นที่แล้วที่ขาดไปไม่ได้เลยคือโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยี ซึ่งประเทศไทยก็ได้มีการเตรียมพร้อมล่วงหน้าด้วยการเปิดประมูลคลื่นเครือข่าย 5G พร้อมกำหนดให้ผู้ที่ชนะการประมูลติดตั้งเครือข่าย 5G ภายในพื้นที่ EEC ภายใน 1 ปี ซึ่งได้แล้วเสร็จไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ทำให้ธุรกิจในพื้นที่ EEC สามารถนำเทคโนโลยี 5G ไปประยุกต์ใช้งานได้อย่างเต็มที่

เทคโนโลยี 5G สำคัญอย่างไร? 5G นับว่าเป็นเทคโนโลยีที่สำคัญเป็นอย่างมากสำหรับธุรกิจในยุคดิจิทัล เพราะ 5G จะมอบความสามารถในการสื่อสารที่รวดเร็วฉับไว ความสามารถในการรับและส่งข้อมูลในปริมาณมาก และรองรับการสื่อสารระหว่างอุปกรณ์จำนวนมาก ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นพื้นฐานที่จำเป็นของเทคโนโลยีสมัยใหม่หลายประเภท เช่น Big Data Analytics, Internet of Things และ AI

นอกจากนี้ ดร.ชิตยังได้เน้นย้ำถึงความสำคัญของการเตรียมโครงสร้างทางเทคโนโลยีให้พร้อม เพื่อให้ธุรกิจสามารถเชื่อมต่อกับธุรกิจต่างประเทศภายใต้เทคโนโลยีที่เป็นมาตรฐานสากล ซึ่งมีความจำเป็นเป็นอย่างยิ่งสำหรับการดำเนินธุรกิจในปัจจุบันที่ Supply Chain นั้นเชื่อมต่อกันทั่วโลก

Smart Manufacturing และ Industry 4.0

อุตสาหกรรมการผลิตเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมที่จะได้รับประโยชน์มากที่สุดในการเข้ามาของ 5G ด้วยคุณสมบัติความเร็วที่สูงขึ้น ความหน่วง (Latency) ที่ต่ำลง และเครือข่ายที่รองรับอุปกรณ์จำนวนมากได้เป็นอย่างดี สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นคุณสมบัติพื้นฐานที่สำคัญของแนวคิด Industry 4.0 ที่มีใจความสำคัญคือการเชื่อมต่อสื่อสารระหว่างอุปกรณ์และเครื่องจักร และการนำข้อมูลที่ได้จากอุปกรณ์และการดำเนินการไปวิเคราะห์ และประยุกต์ใช้งานในรูปแบบต่างๆต่อไป

Smart Manufacturing และ Industry 4.0

Industry 4.0 นั้นได้รับการพิสูจน์มาแล้วว่าสามารถเพิ่มประสิทธิภาพและลดต้นทุนการผลิตให้กับธุรกิจได้เป็นอย่างมาก โดยเทคโนโลยี 5G จะเข้ามาช่วยให้การรับส่งข้อมูลปริมาณมากเข้าไปใช้งานในเทคโนโลยีดิจิทัลอย่าง Automation, Machine Learning, Big Data Analytics, และ Internet of Things ได้รวดเร็วแบบ Real-time ซึ่งจะเป็นการขยายขีดความสามารถแบบที่เครือข่ายในอดีตไม่สามารถทำได้

การเก็บและวิเคราะห์ข้อมูลนั้นจะช่วยให้ธุรกิจมองเห็นถึงภาพรวมและสถานะของการทำงานในสายการผลิตและฝ่ายงานต่างๆ สามารถชี้ได้ถึงข้อผิดพลาด และทำนายถึงเหตุการณ์ที่อาจจะเกิดขึ้นต่อไปได้ และในอนาคต ดร.ชิตกล่าวว่าเทคโนโลยีการวิเคราะห์ข้อมูลจะถูกพัฒนาขึ้นถึงระดับ Prescriptive Analytics ซึ่งผลของการวิเคราะห์จะช่วยบอกธุรกิจว่าธุรกิจควรทำอะไร หรือปรับปรุงกระบวนการไปในทิศทางใด

ในส่วนของการใช้งาน โครงการ EEC ได้มีการร่วมมือกับภาคเอกชน ยกตัวอย่างเช่น Mitsubishi ซึ่งได้พัฒนาโซลูชัน e-F@ctory สำหรับอุตสาหกรรมการผลิตโดยเฉพาะ และได้แบ่งระดับของ Smart Manufacturing สำหรับธุรกิจไว้ 3 ระดับขั้น ได้แก่

Smart Manufacturing

  1. การติดตั้งระบบอัตโนมัติที่ Production Floor
  2. การนำข้อมูลจากกระบวนการผลิตและฝ่ายอื่นๆไปวิเคราะห์และใช้งาน เช่น การทำ Business Intelligence และการใช้แพลตฟอร์ม ERP
  3. การเชื่อมต่อข้อมูลระหว่างโรงงาน หรือระหว่างธุรกิจภายใน Supply Chain

โดยภาครัฐมีนโยบายส่งเสริมและจูงใจให้ธุรกิจการผลิตนำแนวคิด Industry 4.0 ไปใช้งานภายในพื้นที่ EEC ได้แก่ ธุรกิจที่มีการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีได้ตามเกณฑ์ลำดับขั้นข้างต้น จะสามารถยื่นคำขอพิจารณาไปยังคณะกรรมการ Industry 4.0 เพื่อรับการยกเว้นภาษีได้ 3 ปี สำหรับธุรกิจที่ผ่านเกณฑ์ระดับที่ 2 และ 3 หรือ 1 ปี สำหรับธุรกิจที่ผ่านเกณฑ์ระดับที่ 1

แนวคิด Industry 4.0

สำหรับผู้ที่สนใจข้อมูลเกี่ยวกับพื้นที่เศรษฐกิจ EEC และสิทธิประโยชน์ในการลงทุนเพิ่มเติม สามารถเข้าไปศึกษาได้ที่เว็บไซต์ https://eeco.or.th/th

ข้อมูลต้องใช้ได้จริง แบ่งปันได้ และปลอดภัย

อีกหนึ่งโครงการที่น่าสนใจภายใต้โครงการ EEC คือโครงการ Data Lake กลาง ที่จะเป็นความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน โดยแนวคิดของการสร้าง Data Lake นี้ คือการแบ่งปันข้อมูลที่มีคุณภาพและเป็นประโยชน์ที่นิติบุคคลใดๆสามารถยื่นคำร้องเข้ามาขอใช้งาน และนำไปพัฒนาธุรกิจ หรือศึกษาวิจัยสร้างประโยชน์ต่อสังคมต่อไป

Adaptability to Digital Manufacturing Transformation

ข้อมูลภายใน Common Data Lake นี้ จะประกอบไปด้วยข้อมูลจากภาครัฐแบบ Open Data และสถิติตัวเลข ข้อมูลจากภาคเอกชนที่สามารถเปิดเผยได้โดยไม่มีความเสี่ยงด้านความปลอดภัยหรือความเป็นส่วนตัวของบุคคลทั่วไป โดยดร.ชิตเล่าว่าโครงการนี้วางแผนจะเปิดให้ใช้งานแบบคิดค่าบริการในอัตราที่เหมาะสม และจะมีการรักษาความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัวของข้อมูลด้วยมาตรฐานสูงสุด

นอกจากนี้ โครงการยังมีแผนในการจัดตั้ง Data Bureau ขึ้นมาเป็นหน่วยงานกำกับดูแลการบริหารและการใช้งาน Data Lake เพื่อให้แน่ใจว่า Data Lake แห่งนี้จะดำเนินการไปอย่างโปร่งใส และป้องกันการใช้งานข้อมูลอย่างผิดวัตถุประสงค์ด้วย

อนาคตคือดิจิทัล

การเติบโตด้านความสามารถของเทคโนโลยีดิจิทัลนั้นส่งผลให้การดำเนินธุรกิจนั้นเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก การแข่งขันในปัจจุบันไม่ถูกจำกัดโดยพรมแดนทางกายภาพ อีกทั้งยังมีอัตราการแข่งขันที่สูงขึ้น เพราะเทคโนโลยีดิจิทัลได้เข้ามามอบความสามารถในการปรับปรุงประสิทธิภาพอย่างรวดเร็วและการสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ตลอดเวลา

ประเทศไทยที่เป็นประเทศอุตสาหกรรมและมีภาคอุตสาหกรรมที่แข็งแกร่ง จึงสำคัญเป็นอย่างยิ่งที่ธุรกิจจะต้องเร่งปรับตัวนำเทคโนโลยีใหม่ๆเข้ามาใช้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินการ เพิ่มคุณภาพของสินค้าและบริการ และลดต้นทุน ทั้งนี้ก็เพื่อให้ธุรกิจไทยมีข้อได้เปรียบ และมีมาตรฐานที่สามารถแข่งขันกับนานาชาติได้

โครงการ EEC นับว่าเป็นเมกะโปรเจกต์ที่มีศักยภาพในการกำหนดอนาคตของประเทศไทยและธุรกิจไทยในเวทีโลก ซึ่งจะช่วยผลักดันเศรษฐกิจและส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับคนไทยสืบไป หวังว่าในบทความนี้จะช่วยให้ผู้อ่านจะได้เห็นทิศทางและแผนการของประเทศได้เป็นอย่างดี

สำหรับท่านใดที่มีความสนใจนำเทคโนโลยี 5G เข้าไปพัฒนาประสิทธิภาพของธุรกิจ และต่อยอดไปสู่การใช้เทคโนโลยีอื่นๆ AIS Business ก็มีแพลตฟอร์มและโซลูชันพร้อมให้บริการสำหรับธุรกิจหลากหลายประเภท สามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ https://business.ais.co.th/5g/ หรือติดต่อเจ้าหน้าที่ AIS Business ที่ดูแลท่านอยู่


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เอง โดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save