จะผ่านไปยุคไหนสมัยไหนก็ยังเป็นหัวข้อสำคัญอยู่เสมอ เนื่องจากพลังงานถือว่าเป็นจุดกำเนิดของอะไรอีกหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นเศรษฐกิจ สังคม วิถีชีวิตซึ่งประเด็นสำคัญเกี่ยวกับพลังงานตอนนี้ไม่ได้ถามกันแล้วว่า เราจะเอาพลังงานมาจากไหน กลับเป็นคำถามที่ว่าเราจะเอาพลังงานสะอาดมาจากไหน ใช้อย่างไร เพื่อให้เกิดความยั่งยืนและเพื่ออากาศที่บริสุทธิ์ของประชาชนทุกคน
IEEE Power & Energy Society–Thailand Chapter หรือ IEEE PES Thailand ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2542 (ค.ศ. 1999) โดยมี รศ. ดร.สำรวย สังข์สะอาด เป็น Chairman, IEEE Power & Energy Society–Thailand Chapter คนแรกของประเทศไทย และปัจจุบันมี สมพงษ์ ปรีเปรม ผู้ว่าการการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ดำรงตำแหน่ง Chairman, IEEE Power & Energy Society–Thailand Chapter และเป็นที่ปรึกษาของ IEEE Thailand Section
IEEE PES Thailand เป็น Chapter ของสมาคมสถาบันวิศวกรไฟฟ้าและอิเล็คโทรนิคส์แห่งประเทศไทย (IEEE Thailand Section) ซึ่งเป็นองค์กรที่ไม่แสวงหาผลกำไร จัดตั้งขึ้นเพื่อให้ความรู้ทางด้านวิชาการวิศวกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์แก่บุคลากรทั่วโลกที่ทำงานเกี่ยวกับทางด้านไฟฟ้าและพลังงาน ไม่ว่าจะเป็นผลิตไฟฟ้าส่งและจำหน่ายไฟฟ้า รวมทั้งอาจารย์มหาวิทยาลัย นิสิต นักศึกษาจะได้รับความรู้และเทคโนโลยีใหม่ๆ จากสมาคมสถาบันวิศวกรไฟฟ้าและอิเล็คโทรนิคส์แห่งประเทศไทย ซึ่งในปัจจุบันมีสมาชิกมากกว่า 423,000 คน ใน 160 ประเทศทั่วโลก
สมพงษ์ ปรีเปรม ผู้ว่าการการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ดำรงตำแหน่งเป็น Chairman, IEEE PES Thailand กล่าวว่า ปี พ.ศ. 2558 ที่ผ่านมาทางสมาคมฯ ได้มีการจัดงานสัมมนาระดับนานาชาติ คืองาน IEEEPES Innovative Smart Grid Technologies Asian Conference หรือISGT Asia 2015 และในปี พ.ศ. 2562 สมาคมฯ ได้มีการจัดงานสัมมนาและแสดงนิทรรศการระดับนานาชาติ คืองานGeneration Transmission and Distribution Grand International Conference and Exposition หรือ IEEE PES GTD Asia 2019 ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่าง IEEE Thailand Section และ IEEE PES Thailand ภายในงานมีผู้บริหาร วิศวกรจากหน่วยงานภาครัฐ ผู้กำหนดนโยบายทางด้านไฟฟ้าและพลังงาน ผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชน และผู้เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมไฟฟ้าต่างๆ รวมถึงผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านไฟฟ้าและพลังงานมาร่วมประชุมเสวนาเพื่อแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ ประสบการณ์ ดังนั้นถือเป็นงานใหญ่ของอุตสาหกรรมไฟฟ้าและพลังงานของประเทศเลยทีเดียว
นอกจากนั้นยังมีกิจกรรมที่จัดขึ้นเป็นประจำของทุกปี คือIEEE PES Dinner Talk ซึ่งจะมีการเชิญรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานมาแสดงปาฐกถาพิเศษเรื่อง “นโยบายและทิศทางพลังงาน” และผู้บริหาร ผู้กำหนดนโยบายทางด้านไฟฟ้าและพลังงานมาร่วมอภิปรายในงานดังกล่าว รวมถึงการจัดงาน IEEE PES Power & Energy Series Seminar Program ที่ได้ร่วมมือกับทางมหาวิทยาลัย
และสถาบันการศึกษาเพื่อเป็นการส่งเสริมให้องค์ความรู้กับนักศึกษา และผู้ที่สนใจ อาทิเช่น The Digital Energy Transformation, SmarGrids, Smart City, EV Charging Infrastructure, Renewable Energy, Energy Storage, Substation Design, Underground Cable System, Asset Management เป็นต้น
ทั้งนี้ ทางสมาคมฯ ยังได้มีการคัดเลือกบทความจาก World Class Magazine ทั้ง IEEE Power & Energy และ Electrification นำมาแปลเป็นเวอร์ชันภาษาไทย โดยได้รับอนุญาตจาก IEEE PES Head Quarter เพื่อเผยแพร่ให้กับสมาชิกและผู้ที่สนใจตามช่องทาง Social Media ของสมาคมฯ โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย บทความที่ได้รับการแปลและเผยแพร่ไปแล้ว ได้แก่
- ประสบการณ์และบทเรียนการใช้ EV ในประเทศอังกฤษ
- ประสบการณ์การใช้ Microgrid ในประเทศสวีเดน
- การปรับแต่งระบบแบตเตอรี่กำลังสำหรับการใช้งานในทะเลและนอกชายฝั่ง
- การปูทางสำหรับแอปพลิเคชันระบบจัดการระบบจำหน่ายไฟฟ้าขั้นสูง
- ระบบถนนไฟฟ้าที่ใช้การอัดประจุแบบไร้สายสำหรับการอัดประจุยานยนต์ไฟฟ้าอย่างต่อเนื่อง
- เครื่องบินไฟฟ้า เส้นทางของการเดินทางบนอากาศที่ไม่ปล่อยมลพิษ
- เซลล์เชื้อเพลิงไฮโดรเจนสำหรับเรือขับเคลื่อนด้วยระบบไฟฟ้า
สมพงษ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า “ผู้ที่มีความสนใจเกี่ยวกับเนื้อหาระบบไฟฟ้าต่างๆ สามารถเข้ามาศึกษาหาความรู้ได้เลย ทาง IEEEPES Thailand เรามีความใส่ใจในเนื้อหาที่ต้องการสื่อให้บุคลากรที่ทำงานเกี่ยวกับทางด้านไฟฟ้าและพลังงานได้รับเนื้อหาอย่างครบถ้วนรวมไปถึงอาจารย์ นิสิต นักศึกษาที่มีความสนใจในสายงานนี้เพื่อได้รับเนื้อหาอย่างถูกต้อง สุดท้ายในภาคประชาชนที่มีความสนใจอยากจะศึกษาข้อมูลในขั้นพื้นฐานก็สามารถเข้ามาศึกษาหาความรู้ได้เลย”
ในปี พ.ศ. 2564 จะเป็นการครบรอบ 22 ปี ของ IEEE Power& Energy Society–Thailand Chapter ซึ่งจะตรงกับวันที่ 22 เมษายนของทุกปี และในวันดังกล่าวทางสมาคมฯ จะมีการจัดงาน IEEE PESDay 2021 ในหัวข้อเรื่อง “Clean Energy Revolution การปฏิวัติพลังงานสะอาด” ซึ่งเป็นบทบาทสำคัญในการเปลี่ยนแปลงโลกเนื่องจากสภาวะโลกร้อนอันเกิดจากการใช้พลังงานเชื้อเพลิงแบบดั้งเดิมอย่างพลังงานฟอสซิล หรือที่คนทั่วไปรู้จักและคุ้นเคยเป็นอย่างดี คือ พลังงานน้ำมัน พลังงานถ่านหิน และพลังงานก๊าซธรรมชาติซึ่งการเลือกใช้พลังงานแบบดั้งเดิมเหล่านี้ ทั้งในภาคอุตสาหกรรมและภาคครัวเรือน เป็นสาเหตุของการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์(CO2) ออกสู่ชั้นบรรยากาศโลก
สมพงษ์ กล่าวว่า “สิ่งนี้จะเป็นการนำไปสู่การเผชิญหน้ากับปัญหาด้านสภาวะการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศและสิ่งแวดล้อไม่ว่าจะเป็นการเพิ่มอุณหภูมิโลกอย่างรวดเร็ว การเกิดไฟป่าที่ลุกลามอย่างต่อเนื่อง รวมถึงฤดูหนาวในบางประเทศที่มีระยะเวลายาวนานกว่าปกติ ดังนั้นตัวอย่างของเหตุการณ์ที่เริ่มใกล้ตัวมนุษย์มากขึ้นนี้สามารถดูได้จากรัฐเท็กซัสช่วงที่ผ่านมา ทำให้เราเริ่มมองหาทางออกที่จะนำไปสู่การแก้ปัญหาอย่างยั่งยืน ด้วยแนวคิดเกี่ยวกับการเปลี่ยนผ่านพลังงาน (Energy Transition) จากแหล่งพลังงานแบบดั้งเดิมมาเป็นการใช้พลังงานรูปแบบใหม่จากแหล่งพลังงานที่แตกต่างออกไปเช่น พลังงานลม พลังงานแสงอาทิตย์ หรือจะเป็นพลังงานไฟฟ้า”
งาน IEEE PES Day ที่จะจัดขึ้นในวันที่ 22 เมษายน 2564 ณ การไฟฟ้านครหลวง สำนักงานใหญ่ ภายในงานมีกิจกรรมมากมายและได้เชิญวิทยากรที่มีชื่อเสียงและบทบาทในการส่งเสริมด้านพลังงานสะอาดมาร่วมแบ่งปันประสบการณ์ให้กับวิศวกร นิสิตนักศึกษา และผู้ที่สนใจทั่วไปอีกด้วย
อีกทั้งทาง IEEE PES Thailand ยังมีนโยบายส่งเสริมผู้หญิงให้เข้ามามีบทบาทในวงการไฟฟ้าและพลังงาน ทางสมาคมฯ ได้จัดตั้งคณะทำงาน Women in Power (WiP, IEEE PES Thailand Chapter) โดยมี ดร.ปิยพรรณ หันนาคินทร์ เป็นประธานคณะกรรมการทำงานซึ่งจัดกิจกรรมต่างๆ อาทิ การจัดสัมมนาเรื่อง Road to Success and the Next Decade of Women in Power เป็นการนำเสนอ
แนวคิดในการทำงาน พร้อมแลกเปลี่ยนมุมมองกับผู้หญิงที่ประสบความสำเร็จในวงการพลังงานของประเทศไทย เพื่อการทำงานร่วมกันอย่างเต็มประสิทธิภาพ
สำหรับกิจกรรมอื่นๆ IEEE PES Thailand ได้จัดเตรียมแผนงานเพื่อยื่น Proposal ขอเป็นเจ้าภาพการจัดงานสัมมนาระดับนานาชาติ คืองาน IEEE International Smart Cities Conference 2023ที่พัทยา และงาน Generation Transmission and Distribution Grand International Conference and Exposition 2025 ที่กรุงเทพมหานครนอกจากนี้ ทางสมาคมฯ ยังส่งเสริมการจัดสัมมนาเชิงวิชาการ
IEEE Power & Energy Series ซึ่งจะเน้นในเรื่องของการนำ AI และ Machine Learning มาใช้ในภาคพลังงานทดแทน การประยุกต์ใช้ในการวิเคราะห์กริดไฟฟ้า การนำ IoT มาใช้ในการจัดการพลังงานรวมถึงการประยุกต์ใช้ Blockchain กับโรงไฟฟ้าเสมือน และเรื่องของการนำ Big Data และ Data Analytics มาใช้ในการจัดการทรัพยากรในอุตสาหกรรมพลังงาน อีกเรื่องที่สำคัญ คือเรื่องของการสร้างความปลอดภัยทาง Cyber เพื่อให้เกิดความมั่นคง มีเสถียรภาพ และความปลอดภัยของระบบกริดไฟฟ้า
การจะนำเทคโนโลยีเหล่านี้มาประยุกต์ใช้ให้เกิดประสิทธิภาพและความคุ้มค่าสูงที่สุด ผู้ใช้จำเป็นต้องมีความรู้และความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับภาพรวมของ Digital Transformation และหลักการเบื้องต้นในการนำไปประยุกต์ใช้ รวมไปถึงเรื่องเทคโนโลยีและความก้าวหน้าที่มีอยู่ในปัจจุบัน เพื่อนำมาใช้ในการพัฒนาองค์กรให้เกิดการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมพลังงานและธุรกิจไฟฟ้าให้มีประสิทธิภาพสูงสุด เพื่อให้เกิดการใช้ทรัพยากรที่มีอย่างจำกัดให้คุ้มค่า