บริษัท ฮิตาชิ เอบีบี พาวเวอร์กริดส์ (ประเทศไทย) จำกัด ได้ตั้งโครงการ Supporting Apprentice Students Program โดยมีวัตถุประสงค์สำคัญเพื่อร่วมมือกับสถาบันการศึกษาดำเนินกิจกรรมทางวิชาการ การบูรณาการ พัฒนา และเผยแพร่องค์ความรู้ของบริษัทให้แก่นิสิตนักศึกษาในประเทศไทย เป็นการพัฒนาบุคคลากรด้านวิศวกรรมให้มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ เปิดวิสัยทัศน์และมุมมองการดำเนินงานของบริษัทข้ามชาติในประเทศไทยในยุคปัจจุบัน เพื่อนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ในการทำงานและนำมาซึ่งการพัฒนาประเทศในอนาคต
เมื่อเร็ว ๆ นี้ ดร.ประดิษฐพงษ์ สุขสิริถาวรกุล Director & Vice President บริษัท ฮิตาชิ เอบีบี เพาเวอร์ กริดส์ ในประเทศไทย และ ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.ธวัชชัย ชรินพาณิชกุล รองคณบดี คณะวิศวกรรมศาสตร์ เป็นประธานสถาบันการศึกษา พร้อมด้วยรองศาสตราจารย์ ดร.แนบบุญ หุนเจริญ หัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เข้าร่วมการแถลงความร่วมมือในโครงการดังกล่าว ณ ห้องประชุมสวนรวมใจ 2 อาคาร 3 คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
โดยเนื้อหาสำคัญของความร่วมมือโครงการในครั้งนี้เพื่อดำเนินการจัดนิสิตปี 3 จากภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวฯ จุฬาฯ จำนวน 16 คน เข้าฝึกงานที่บริษัท ฮิตาชิ เอบีบี เพาเวอร์ กริดส์ เป็นระยะเวลา 360 ชั่วโมง ตั้งแต่วันที่ 31 พฤษภาคม 2564 ถึงวันที่ 30 กรกฎาคม 2564 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการสร้างโอกาสให้กับนิสิตของมหาวิทยาลัยให้ได้เสริมสร้างประสบการณ์การทำงานจริง ณ สถานประกอบการ ทั้งยังเป็นการร่วมมือในทางวิชาการ การบูรณาการ พัฒนาและเผยแพร่องค์ความรู้ของบริษัทให้กับนิสิต ตลอดจนสร้างความร่วมมือและบูรณาการการทำงานร่วมกันระหว่างบริษัทฯ และมหาวิทยาลัยในประเทศไทย

ดร.ประดิษฐพงษ์ สุขสิริถาวรกุล Director & Vice President บริษัท ฮิตาชิ เอบีบี เพาเวอร์ กริดส์ กล่าวว่า “โครงการ Supporting Apprentice Student Program เป็นโครงการพัฒนาระบบการฝึกงานของบริษัทให้มีมาตรฐานระดับโลก พร้อมเพิ่มประสิทธิผลของการดำเนินการสูงสุด ด้วยการให้นิสิตสามารถเลือก พัฒนา และเรียนรู้ในขอบเขตงานเฉพาะทางด้านวิศวกรรมตามที่ตนเองสนใจ นิสิตที่เข้าร่วมฝึกงานกับทางบริษัทฯจะได้รับประสบการณ์ที่หลากหลาย ทั้งโปรแกรมที่ตนเองสนใจ การได้ออกไปทำงานจริงยังโรงงานของบริษัท นอกจากนั้นยังมีโอกาสเข้าร่วมประชุมออนไลน์กับผู้เชี่ยวชาญของบริษัทจากทั่วโลกอีกด้วย บริษัทหวังเป็นอย่างยิ่งว่านิสิตที่เข้าร่วมฝึกงานครั้งนี้จะได้รับประสบการณ์จากบริษัทอย่างเต็มที่เพื่อจะได้นำความรู้นี้ไปพัฒนาต่อยอดต่อไป โดยไม่มีข้อผูกมัดว่าจะต้องมาทำงานกับบริษัทแต่อย่างใด”
รองศาสตราจารย์ ดร.ธวัชชัย ชรินพาณิชกุล รองคณบดี คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวว่า “คณะวิศวฯ จุฬาฯ มีความยินดีที่ได้ร่วมมือกับบริษัท ฮิตาชิ เอบีบี พาวเวอร์ กริดส์ อีกครั้ง ซึ่งที่ผ่านมาคณะเองก็มีความร่วมมือกับทางฮิตาชิ เอบีบี พาวเวอร์กริดส์มาโดยตลอด และมั่นใจว่านิสิตที่ร่วมฝึกงานครั้งนี้จะได้ประสบการณ์สำคัญที่เสริมสร้างศักยภาพของนิสิตให้บุคลการที่มีคุณภาพของประเทศต่อไป”
ด้าน รองศาสตราจารย์ ดร.แนบบุญ หุนเจริญ หัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวฯ จุฬาฯ กล่าวเพิ่มเติมว่า “นิสิตทั้ง 16 คนนี้กำลังศึกษาอยู่ปี 3 ในภาควิศวกรรมไฟฟ้า การส่งนิสิตไปฝึกงานเพื่อให้ได้ประสบการณ์การทำงานจริงเป็นสิ่งที่ภาควิชาให้ความสำคัญมาโดยตลอด ที่ผ่านมาทางภาควิชาเองได้เชิญผู้เชี่ยวชาญจากบริษัท ฮิตาชิ เอบีบี พาวเวอร์ กริดส์ มาให้ความรู้แก่นิสิตมาแล้ว รวมทั้งการร่วมมือครั้งนี้เป็นการเปิดโอกาสให้นิสิตได้สัมผัสกับการทำงานจริงกับบริษัทข้ามชาติขนาดใหญ่ที่มีการทำงานที่เป็นสากล เป็นการเปิดโลกทัศน์นิสิตอีกทางหนึ่ง และในอนาคตอาจจะมีการส่งนิสิตไปฝึกงานตั้งแต่ปี 2 เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อม และให้นิสิตได้ตระหนักว่าตนเองมีความสนใจด้านใดตั้งแต่ปี 2 นิสิตจะได้มุ่งมั่นกับสิ่งที่สนใจเต็มที่”
ทั้งนี้ ทาง ฮิตาชิ เอบีบี เพาเวอร์ กริดส์ พร้อมเปิดโอกาสให้นิสิตทุกคน ร่วมแสดงความคิดเห็นและพัฒนาศักยภาพของตนเองได้อย่างเต็มที่ ด้วยแนวทางการประสานความหลากหลาย ผสานการทำงานร่วมกัน เพื่อนำมาซึ่งนวัตกรรมที่ยอดเยี่ยม โดยตลอดการฝึกงานนิสิตทุกคนจะมีผู้เชียวชาญ และผู้ให้คำแนะนำในแต่ละขอบเขคงานที่เลือก เพื่อให้ได้รับความรู้ทักษะอย่างจุดจากผู้เชียวชาญ และเพิ่มประสิทธิผลระหว่างการฝึกงานอย่างเต็มที่ ก่อนสิ้นสุดโครงการทางบริษัทมีระบบประเมินผล ร่วมถึงระบบการสัมภาษณ์เชิงพฤติกรรม เพื่อวัดทัศนคติ ความรู้ ทักษะที่ได้รับจากการฝึกงานของโครงการ เพื่อพิจารณาและเพิ่มโอกาสให้กับนิสิตนักศึกษาในการร่วมงานกับบริษัทในอนาคต
“บริษัทฯ มีโมดุลให้นิสิตได้เลือกฝึกงานตามความสนใจ 11 โมดุล ประกอบด้วย 1.Grids Edge Solutions, Microgrid & Battery Energy Storage System (BESS) and e-mesh™ ,2.SCADA and Control Systems, Substation Automation, Protection & Control ,3.High Voltage Switchgear & Breakers, Instrument Transformer Surge Arrester, Capacitor & Filters and Generator Circuit Breakers, 4.Power Transformers and TXpert™ Ecosystem, 5.FACTS & HVDC, 6.Substation & Electrification and Digital Substation with SAM 600, 7.Power Quality, 8.Overvoltage & Controlled Switching (Capacitor, Line and Shunt Reactor), 9.Grid E-Motion Fleet (E-mobility) and TOSA E-bus, 10.Smart Grids and Virtual Power Plants (VPP) และ11.Enterprise Software and The Digital Energy Transformation ซึ่งทั้งหมดนี้นิสิตสามารถเลือกฝึกงานได้ตามความสนใจได้อย่างเต็มที่” ดร.ประดิษฐพงษ์ กล่าวเพิ่มเติม