ผลสำรวจการใช้ซอฟต์แวร์ทั่วโลก ประจำปี 2560 ของบีเอสเอ I พันธมิตรซอฟต์แวร์ พบอัตราการละเมิดลิขสิทธ์ิซอฟต์แวร์ หรือการใช้ซอฟต์แวร์โดยไม่มีสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิ (ไลเซ่นส์) ในประเทศไทยอยู่ที่ร้อยละ 66 ในปี 2560 คิดเป็นมูลค่าความเสียหาย 714 ล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐฯ (22,848 ล้านบาท) ลดลงจากร้อยละ 69 ในปี 2558 ในขณะที่อัตราเฉลี่ยของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกอยู่ที่ร้อยละ 57
การลดลงของอัตราการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ในประเทศไทยเป็นผลมาจากการหดตัวของตลาดคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (Personal Computer – PC) ตลอดจนการบังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มงวดของกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ (บก. ปอศ.) สำนักงานตำ รวจแห่งชาติและการรณรงค์เพื่อสร้างการความตระหนักรู้เรื่องภัยจากการใช้ซอฟต์แวร์โดยไม่มีไลเซ่นส์อย่างต่อเนื่องของหน่วยงานอื่นๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน
นอกจากนี้ เหตุการณ์มัลแวร์เรียกค่าไถ่ระดับโลกอย่าง Wannacry ที่เกิดขึ้นเมื่อปีก่อน ทำให้องค์กรธุรกิจเห็นถึงความจำเป็นที่จะต้องใช้ซอฟต์แวร์แท้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งระบบปฏิบัติการ และซอฟต์แวร์ที่ช่วยเสริมความมั่นคงปลอดภัยให้แก่ระบบคอมพิวเตอร์และเครือข่าย นอกจากนี้ นักวิเคราะห์จากไอดีซี (IDC) ให้ความเห็นว่าการรณรงค์ให้ประชาชนทั่วไปแจ้งเบาะแสการใช้ซอฟต์แวร์ผิดกฎหมายในองค์กรธุรกิจ ทำให้เกิดความตื่นตัวในการใช้ซอฟต์แวร์ลิขสิทธิ์มากขึ้น โดยเฉพาะในองค์กรธุรกิจหันมาให้ความสำคัญกับการตรวจสอบให้แน่ใจว่าได้ใช้ซอฟต์แวร์อย่างถูกต้องตามกฎหมายมากขึ้น
มร.ดรุณ ซอว์เนย์ ผู้อำนวยการอาวุโส ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก บีเอสเอ I พันธมิตรซอฟต์แวร์ เผยว่า บีเอสเอร่วมกับบริษัทวิจัยชั้นนำระดับโลกอย่างไอดีซี (IDC) ทำการสำรวจการใช้ซอฟต์แวร์ทั่วโลก โดยครั้งล่าสุดได้ทำการสำรวจใน 110 ประเทศทั่วโลก พบว่า อัตราการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ หรือการใช้ซอฟต์แวร์โดยไม่มีสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิ์ อยู่ที่ร้อยละ 37 ในปี 2560 คิดเป็นมูลค่าความเสียหาย 46,302 ล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐฯ (1.48 ล้านล้านบาท) ลดลงจากร้อยละ 39 ในปี 2558 หากพิจารณาในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก อัตราการละเมิดลิขสิทธิ์ฯ อยู่ที่ร้อยละ 57 ในปี 2560 คิดเป็นมูลค่าความเสียหาย 16,439 ล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐฯ (526,048 ล้านบาท) ลดลงจากร้อยละ 61 ในปี 2558
สำหรับในประเทศไทย อัตราการละเมิดลิขสิทธ์ิซอฟต์แวร์อยู่ที่ร้อยละ 66 ในปี 2560 คิดเป็นมูลค่าความเสียหาย 714 ล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐฯ (22,848 ล้านบาท) ลดลงจากร้อยละ 69 ในปี 2558 ตัวเลขในประเทศไทยแสดงให้เห็นว่า ในจำนวนคอมพิวเตอร์ 100 เครื่อง มีการติดตั้งซอฟต์แวร์เถื่อน 66 เครื่อง ทั้งนี้ อัตราการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ทั่วโลก รวมทั้งในประเทศไทยลดลง โดยในภาพรวมเป็นผลจากการหดตัวของตลาดเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (พีซี) ตลอดจนการบังคับใช้กฎหมายลิขสิทธิ์อย่างเข้มงวด และการรณรงค์เพื่อสร้างความตระหนักรู้ถึงภัยจากการใช้ซอฟต์แวร์โดยไม่มีไลเซ่นส์อย่างต่อเนื่อง