บทความโดย ทวิพงศ์ อโนทัยสินทวี ผู้จัดการประจำประเทศไทย นูทานิคซ์
แมคคินซีย์ บริษัทที่ปรึกษาด้านการบริหารองค์กรชั้นนำระดับโลก ระบุว่า ภายในปี พ.ศ. 2583 เศรษฐกิจของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกจะมีขนาดใหญ่คิดเป็นครึ่งหนึ่งของเศรษฐกิจโลก ภูมิภาคนี้มีความแข็งแกร่งหลายประการ ตั้งแต่การเป็นศูนย์กลางเทคโนโลยีระดับโลก ไปจนถึงผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ (GDP) ที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง การพัฒนาและการขยายตัวของเมือง ประชากร และกลุ่มคนวัยทำงาน จึงเป็นภูมิภาคที่มีศักยภาพต่อการเติบโตของบริษัทต่าง ๆ เป็นอย่างดี
ภูมิภาคต่าง ๆ ในโลกมีความแตกต่างกันค่อนข้างมาก มีภาษาพูดหลายพันภาษา มีรูปแบบการปกครอง ที่หลากหลาย และมีแนวทางด้านเศรษฐกิจที่แตกต่างกัน ประเทศเหล่านี้อยู่ท่ามกลางความพร้อมของตลาดที่เติบโตเต็มที่ ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกเป็นภูมิภาคที่ธุรกิจมีโอกาสขยายตัวและทำกำไรได้อย่างแน่นอน แต่ความซับซ้อนต่าง ๆ ที่มีอยู่อาจทำให้โอกาสเหล่านี้ไม่ราบรื่นนัก
ความท้าทายสำคัญอย่างหนึ่งที่บริษัทจำนวนมากเผชิญในปีที่ผ่านมาคือ การเปลี่ยนไปใช้ดิจิทัลและการตัดสินใจด้านเทคโนโลยีต่าง ๆ เพื่อให้ธุรกิจสามารถดำเนินต่อไปได้ การระบาดของโควิด-19 ผลักดันให้ธุรกิจจำนวนมากต้องเปลี่ยนแปลงตัวเองแบบก้าวกระโดด บ่อยครั้งหลายปีล่วงหน้าไปกว่าแผนการที่มีอยู่ และอาจเป็นไปได้ว่าโซลูชันคลาวด์จะเป็นทางเลือกที่ชัดเจน ธุรกิจที่ต้องทำการเปลี่ยนตัวเองอย่างรวดเร็วนี้ต้องพึ่งพาพับลิคคลาวด์อย่างมาก เพื่อทำให้พนักงานทำงานจากระยะไกลได้ และเป็นการแก้ปัญหาการขาดแคลนทักษะที่จำเป็นต่าง ๆ หรือเพื่อให้ปรับขนาดการทำงานได้ตามต้องการ
อย่างไรก็ตาม ถึงเวลาแล้วที่ผู้นำทางธุรกิจทั้งหลายควรหยุดคิดและทบทวนกลยุทธ์ด้านคลาวด์คอมพิวติ้งขององค์กร เพื่อให้มั่นใจและแสดงให้เห็นว่าองค์กรได้มีการพิจารณาทุกสิ่งทุกอย่างอย่างเหมาะสมเพื่อตอบโจทย์ความต้องการด้านกฎระเบียบของแต่ละประเทศที่พวกเขาทำธุรกิจอยู่หรือต้องการเข้าไปทำธุรกิจ และภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกจะเป็นบททดสอบการดำเนินการที่มีความท้าทายสูงให้กับองค์กรเหล่านี้
เมื่อปี พ.ศ. 2563 สหประชาชาติได้ตรวจสอบว่ามีภูมิภาคและประเทศใดบ้างที่มีการใช้มาตรการปกป้องข้อมูลและความเป็นส่วนตัวให้กับพลเมืองของตน และพบว่ามีเพียง 57 เปอร์เซ็นต์ของประเทศในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกที่มีกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลและคุ้มครองความเป็นส่วนตัวบังคับใช้
เทียบกับ 69 เปอร์เซ็นต์ของประเทศในทวีปอเมริกาและ 96 เปอร์เซ็นต์ในทวีปยุโรปที่มีกฎหมายดังกล่าวบังคับใช้ ทำไมเรื่องนี้จึงเป็นความท้าทาย?
ในขณะที่สหภาพยุโรปมีการใช้กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลที่ประเทศสมาชิกทั้งหมดต้องปฏิบัติตามเหมือนกัน แต่ในเอเชียแปซิฟิกไม่มีกรอบการกำกับดูแลที่ใช้ร่วมกันทั้งภูมิภาค นอกจากนี้จำนวนประเทศในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกยังมีมากกว่าในทวีปอเมริกาเกือบสองเท่า นี่อาจเป็นความท้าทายสำคัญในการจัดการข้อมูลและการใช้โซลูชันทางเทคโนโลยสำหรับธุรกิจต่าง ๆ ที่จำเป็นต้องปฏิบัติตามกฎระเบียบ
ดังนั้นดูเหมือนว่าสิ่งที่เกิดขึ้นอย่างชัดเจนระหว่างประเทศต่าง ๆ ที่ใช้พับลิคคลาวด์ในปัจจุบัน คือการเพิ่มขึ้นของความท้าทายในการพัฒนาที่จะส่งผลสำคัญต่อองค์ประกอบทุกรูปแบบที่แตกต่างกัน ไม่มีวิธีการใดเพียงหนึ่งเดียวที่จะเหมาะกับทุกสถานการณ์และทุกสภาพแวดล้อม หรือเพียงวิธีเดียวที่ธุรกิจ
จะใช้ปรับตัวเพื่อดำเนินธุรกิจภายในภูมิภาคนี้ได้อย่างง่าย ๆ
ธุรกิจใดที่ตัดสินใจใช้ไพรเวทคลาวด์เพื่อเก็บข้อมูลและทรัพย์สินขององค์กร และปกป้องข้อมูลนั้นไว้ภายในสภาพแวดล้อมขององค์กรเอง เพื่อหลีกเลี่ยงข้อจำกัดด้านกฎระเบียบต่าง ๆ องค์กรนั้นอาจประสบกับอีกปัญหานั่นคือ การใช้ทรัพยากร แม้ว่าเครื่องมือที่ใช้ในการติดตามตรวจสอบและบริหารจัดการ
ไพรเวทคลาวด์มีประสิทธิภาพค่อนข้างดี แต่การสรรหาพนักงานที่มีทักษะที่จำเป็นต้องใช้ในการคงประสิทธิภาพการทำงาน การบำรุงรักษา และใช้งานไพรเวทคลาวด์ก็ไม่ใช่เรื่องง่าย และอาจทำให้การพัฒนาล่าช้า ปัญหานี้แก้ไขไม่ได้ง่ายในปัจจุบันโดยเฉพาะในประเทศที่มีการใช้คลาวด์อย่างจำกัด และในภาวะการระบาดของโควิด-19 ที่ทำให้ผู้เชี่ยวชาญทางเทคนิคที่ต้องใช้ถูกจำกัดด้านการเดินทาง
ไฮบริดคลาวด์ คือโอกาสในวิกฤติ ไฮบริดคลาวด์ทำหน้าที่เป็นทางเชื่อมระหว่างพับลิคและไพรเวทคลาวด์ขององค์กรนั้นๆ องค์กรสามารถเลือกได้ว่าจะเก็บข้อมูลไว้บนไพรเวทคลาวด์ของตนโดยไม่ต้องกังวลเรื่องการปฏิบัติตามกฎระเบียบ ในขณะที่เลือกใช้พับลิคคลาวด์เพื่อเร่งความเร็วในการใช้งานและปรับขยายขนาดการทำงานมากน้อยได้ตามความจำเป็น และนี่คือการเชื่อมต่อคลาวด์สองระบบให้ทำงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพที่สุด
การลดความซับซ้อนในการเชื่อมต่อระหว่างระบบต่าง ๆ บนไพรเวทและพับลิคคลาวด์ และการบริหารจัดการคลาวด์ทั้งสองประเภทด้วยระบบจัดการหนึ่งเดียว ทำให้สภาพแวดล้อมไฮบริดคลาวด์ไม่มีความซับซ้อน ซึ่งจะช่วยให้ธุรกิจสามารถควบคุมสภาพแวดล้อมในการทำงานขององค์กรได้ทั้งหมด องค์กรสามารถเคลื่อนย้ายแอปพลิเคชันไปทำงานบนคลาวด์ที่ต้องการได้อย่างราบรื่น ทั้งยังสามารถจัดเก็บและบริหารจัดการข้อมูลบนระบบที่ต้องการและในเวลาที่ต้องการ เพื่อให้สอดคล้องตามกฎระเบียบต่าง ๆ ณ เวลานั้นได้ นอกจากนี้ยังคงความคล่องตัว และเปิดการใช้งานต่าง ๆ ได้ในกรอบเวลาที่เร็วขึ้นมาก
แม้ว่าการระบาดของโควิด-19 ยังคงดำเนินต่อไป แต่เมื่อมีการฉีดวัคซีนทั่วโลก และการผ่อนคลายข้อจำกัดด้านการเดินทาง ธุรกิจจะยังคงลงทุนในการทำงานแบบผสมผสานมากขึ้น โดยสามารถทำงานจากที่ใดก็ได้ ผลสำรวจดัชนีการใช้คลาวด์ระดับองค์กรล่าสุดของนูทานิคซ์ระบุว่า จากสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 องค์กรที่ตอบแบบสำรวจจัดลำดับความสำคัญด้านไอทีในอีก 12 ถึง 18 เดือนข้างหน้า โดยให้ความสำคัญกับการปรับปรุงประสิทธิภาพโครงสร้างพื้นฐานไอที (50 เปอร์เซ็นต์) และความสามารถในการทำงานจากที่บ้าน (47 เปอร์เซ็นต์)
เมื่อมองจากมุมด้านกฎระเบียบ จะมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นอีกมาก ประเทศต่าง ๆ เช่น อินเดีย อินโดนีเซีย มาเลเซีย ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ กำลังส่งเสริมการปกป้องความเป็นส่วนตัวของข้อมูลผ่านการออกกฎหมายต่าง ๆ
ในมุมมองทางธุรกิจอาจกล่าวได้ว่าขณะนี้คือช่วงเวลาเหมาะสมที่จะพิจารณาโครงสร้างพื้นฐานทางเทคโนโลยีที่จะช่วยให้ธุรกิจขององค์กรมีความได้เปรียบทางเศรษฐกิจ ซึ่งไฮบริดคลาวด์สามารถสร้างความได้เปรียบสำคัญเหล่านี้ให้ธุรกิจได้ และผู้มีอำนาจตัดสินใจทางธุรกิจจะมีความสามารถในการพิจารณาวางเวิร์กโหลดต่าง ๆ และข้อมูลที่มีความละเอียดอ่อนสูงไว้บนสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมที่สุด ซึ่งจะช่วยขจัดความกังวลเกี่ยวกับการปฏิบัติตามกฎระเบียบได้