Underground Cable System การติดตั้งใต้ดินที่มีความปลอดภัยสูง


ระบบสายไฟฟ้าใต้ดิน

วันนี้เราจะมาพูดกันถึงเรื่องความปลอดภัยของการนำเอาสายไฟฟ้าลงใต้ดินหรือที่เรียกกันว่า ระบบสายไฟฟ้าใต้ดิน (Underground Cable System) เป็นระบบสายส่งจ่ายกำลังไฟฟ้าที่ติดตั้งไว้ใต้ดินซึ่งมีความปลอดภัยสูง ต่างประเทศใช้ระบบนี้มานานมาก ส่วนบ้านเราเองก็เริ่มโครงการนี้มาประมาณสามสิบปี ซึ่งตอนนี้ก็กระจายไปหลายจังหวัดแล้ว ที่สำคัญระบบสายไฟฟ้าใต้ดินนี้นอกจากจะใช้สำหรับสายไฟฟ้าทั่วไปจนถึงสายไฟฟ้าแรงดันสูง เรายังสามารถรองรับการเดินสายโทรศัพท์ สายอินเทอร์เน็ต จนถึงสายเคเบิลต่าง ๆ ได้อีกด้วย แต่หลายคนก็มีความกังวลว่า เอ๊ะ บ้านเราหลายพื้นที่น้ำท่วมบ่อย แล้วมันจะปลอดภัยหรือเปล่า? น้ำจะซึมลงไปไหม? แล้วถ้าไฟรั่วคนเดินถนนไม่โดนไฟดูดตายเหรอ?

ระบบสายไฟฟ้าใต้ดิน

หลายคนมักจะมีคำถามทำนองนี้และมีความกังวลเรื่องความปลอดภัยเมื่อมีการพูดถึงเรื่องการนำเอาสายไฟฟ้าลงดิน ก่อนที่เราจะตอบคำถามตรงนั้นขอย้อนกลับไปว่า ทำไมระบบสายไฟฟ้าใต้ดินถึงเกิดขึ้น ถ้าผมจำไม่ผิดความคิดการเอาสายไฟฟ้าลงดินเกิดขึ้นที่ นครนิวยอร์ค ประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งตอนนั้นเองสภาพของเสาไฟฟ้าของ นครนิวยอร์ค ก็ไม่ต่างจากเสาไฟฟ้าหลายจุดในบ้านเราในตอนนี้ นั่นก็คือไม่มีความเป็นระเบียบพันกันมั่วไปหมดจนเกิดเหตุเพลิงไหม้เป็นระยะ จนกระทั่งเกิดเหตุกับช่างไฟฟ้าของ Western Union ชื่อ John Feeks เป็นอุบัติเหตุร้ายแรงจนทำให้เขาเสียชีวิตบนเสาไฟฟ้า รวมไปถึงเกิดเหตุการณ์ Great Blizzard of 1888 หรือ Great White Hurricane เป็นหนึ่งในพายุหิมะที่รุนแรงที่สุดที่บันทึกไว้ในประวัติศาสตร์อเมริกา ทำให้เสาไฟฟ้าล้มลงเป็นจำนวนมากจนก่อให้เกิดความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน จนทำให้เกิดกระแสการผลักดันร่างกฎหมายให้เอาสายไฟฟ้าลงใต้ดิน

การนำเอาสายไฟฟ้าลงดิน

การเอาสายไฟฟ้าลงดินนอกจากความสวยงามของทัศนียภาพที่ไม่ต้องมีอะไรมาบดบังแล้ว เรื่องความปลอดภัยก็ถือว่าสูงกว่าเสาไฟฟ้าบนดินมากมาย เพราะสายไฟทั่วไปจะเกิดการชำรุดได้ไม่ยากเนื่องจากฉนวนที่หุ้มสายไฟต้องเจอแดดและฝนอยู่ตลอดเวลาทำให้เกิดความเสื่อมสภาพได้ง่ายไม่รวมเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝันอย่างลมพายุ ต้นไม้หักโค่นใส่ รวมไปถึงอุบัติเหตุคนขับรถชนเสาไฟฟ้า และนอกจากสายไฟแล้ว สายเคเบิลและสายอินเทอร์เน็ตจะเจอปัญหาสำคัญอีกอย่างที่หลายคนมักมองข้าม นั่นก็คือ กระรอก สิ่งมีชีวิตเล็ก ๆ นี่แหละครับที่ทำให้หลายพื้นที่เกิดเหตุการณ์สัญญาณดับ เพราะมันไปแทะสายอินเทอร์เน็ต ช่างหน้างานจะเจอปัญหานี้บ่อยมาก และนอกจากนี้ สายไฟฟ้าใต้ดินจะเป็นแบบที่มีฉนวน PVC หุ้มลวดทองแดง ทั้งภายในและภายนอกและเนื่องจากปัจจัยความเสี่ยงต่ำกว่าสายไฟฟ้าปรกติทำให้อายุการใช้งานสูงกว่าแบบบนดิน 2 – 3 เท่า และในวันที่ฝนตกหรือพายุเข้า สายเคเบิล รวมถึงสายอินเทอร์เน็ตก็จะแทบไม่ได้รับผลกระทบเรื่องความชื้นและสัญญาณรบกวน ทำให้สามารถใช้งานเต็มประสิทธิภาพได้ตลอด 24 ชม.

การนำเอาสายไฟฟ้าลงดิน

ย้อนกลับมาเรื่องข้อสงสัยของหลายคนที่สงสัยว่าเมื่อเกิดเหตุการณ์น้ำท่วมจะทำยังไง? ต้องขอตอบเลยว่าในเรื่องของน้ำท่วมนั้น จะไม่สามารถสร้างความเสียหายต่อท่อและระบบไฟฟ้าได้เลย อย่างปี 2554 ที่เกิดเหตุการณ์น้ำท่วมใหญ่หลายพื้นที่จมอยู่ใต้น้ำเป็นเวลาหลายเดือนแต่ก็ไม่เกิดเหตุการณ์ระบบไฟฟ้าใต้ดินสร้างความเสียหายต่อชีวิตเลยแม้แต่รายเดียว และสาย Armor ภายใน มีอลูมิเนียมถักยึดไว้โดยรอบต่อให้เกิดเหตุการณ์เพลิงไหมขั้นรุนแรงลามลงมาถึงชั้นใต้ดินตัวสายก็สามารถทนทานได้เกิน 2 ชั่วโมง ยิ่งเรื่องสัตว์ใต้ดินเช่นหนูหรือปลวกจะมาแทะ อันนี้ไม่มีปัญหาเพราะแทะไม่เข้าแน่นอน

ส่วนการซ่อมบำรุงก็ไม่ยาก เพราะเจ้าหน้าที่สามารถซ่อมบำรุงได้ผ่านช่องทาง service ที่ทำเป็นระยะตามจุดต่าง ๆ แถมสายเคเบิลและสายไฟฟ้าก็ยังมีความเป็นระเบียบเรียบร้อยด้วย duct bank และนอกจากนั้นยังมีบ่อพักสายไฟฟ้าใต้ดิน (Manhole กับ Handhole) เป็นจุดพักสาย ถ้าน้ำจะขัง ก็จะขังที่จุดนี้เวลาลงไปซ่อมก็ค่อยสูบน้ำออก ดังนั้นระบบสายไฟฟ้าใต้ดินจึงเป็นระบบที่มีความปลอดภัยสูง เหมาะกับสังคมในปัจจุบัน และไม่มีสิ่งใดที่อันตรายหรือน่าวิตกกังวลเลย สบายใจกันได้ครับ


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เอง โดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save