กลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียร่วมกันในอุตสาหกรรมโทรคมนาคมของประเทศไทยมารวมตัวกันที่งาน “Redefine Businesses With 5G” ซึ่งจัดโดย Techsauce Media ร่วมกับ Ericsson ผู้นำด้านเทคโนโลยีโทรคมนาคมระดับโลก เพื่อหารือร่วมกันในประเด็นเกี่ยวกับความจำเป็นและความร่วมมือในการเร่งกระบวนการมุ่งสู่การเป็นอุตสาหกรรมแบบดิจิทัลในประเทศไทยด้วย 5G ผู้นำอุตสาหกรรมและนักวิชาการได้หารือถึงบทบาทของเทคโนโลยีและ 5G ในการกำหนดนิยามใหม่ให้กับธุรกิจ การแก้ไขปัญหาวิกฤตด้านสภาพภูมิอากาศ ขับเคลื่อนอุตสาหกรรม 4.0 และการสร้างระบบนิเวศที่เอื้ออำนวยซึ่งจะช่วยให้ประเทศไทยบรรลุวิสัยทัศน์ ‘ระบบนิเวศไร้สายของอุตสาหกรรม 4.0 (Industry 4.0 Wireless Ecosystem Vision)’
ชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กล่าวว่า “ประเทศไทยประสบความสำเร็จในฐานะประเทศแรก ๆ ของโลกที่มีการจัดสรรงบประมาณและวางเครือข่ายเทคโนโลยี 5G ซึ่งจะเป็นจิกซอว์ชิ้นสำคัญของการวางโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัลให้กับประเทศไทย เราต้องยกระดับสู่การเป็น The Best 5G ด้วย ต้องทำให้เกิดความเชื่อมั่นในโครงข่าย 5G ของประเทศไทยให้ได้ เพื่อนำเทคโนโลยีดังกล่าวมาใช้เต็มรูปแบบ เป็นประโยชน์ต่อประชาชนโดยแท้จริง”
นาดีน อัลเลน ประธานฝ่ายกลยุทธ์และลูกค้าองค์กร บริษัท อีริคสัน เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โอเชียเนียและอินเดีย กล่าวว่า “5G กำลังเปลี่ยนโฉมของธุรกิจทั่วโลก คลื่นลูกใหม่ของการขยายเครือข่าย 5G จะช่วยให้ธุรกิจทุกประเภทได้รับผลประโยชน์จากการเพิ่มขึ้นของความคล่องตัว ความยืดหยุ่น ความน่าเชื่อถือ และความปลอดภัยที่ 5G มอบให้ ด้วยเครือข่าย 5G สำหรับผู้บริโภคเชิงพาณิชย์ที่มีอยู่แล้วทั่วโลก จากการศึกษาของอีริคสัน การนำดิจิทัลไปใช้ในอุตสาหกรรมสะท้อนให้เห็นศักยภาพตลาดของบริการที่ใช้ 5G ขับเคลื่อน ที่มีมูลค่าถึง 700 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ สอดคล้องกับรายงาน 5G สำหรับธุรกิจของเรา เข็มทิศตลาดในปี 2030 (5G for business: a 2030 market compass) ที่ระบุว่าโอกาสทางธุรกิจที่อยู่นอกเหนือจากบริการที่มีในปัจจุบันจะเพิ่มขึ้นถึง 35%”
อิกอร์ มอเรล ประธานบริษัทอีริคสัน ประเทศไทย กล่าวว่า “อีริคสันมุ่งมั่นในการเป็นองค์กรปลอดคาร์บอนภายในปี 2573 เรากำลังพัฒนาเครือข่าย 5G ด้วยเทคโนโลยีที่ทำงานตอบโจทย์ด้านสิ่งแวดล้อมที่ดียิ่งขึ้น ซึ่งสิ่งที่สำคัญคือการลดอัตราการเพิ่มขึ้นของการใช้พลังงานในเครือข่ายโทรคมนาคม (Breaking the Energy Curve) โดยไม่เพิ่มการใช้พลังงานเมื่อต้องส่งข้อมูลจำนวนมากขึ้น ซึ่งนี่เป็นเพียงจุดเริ่มต้นเท่านั้น งานวิจัยยังสนับสนุนว่าโซลูชั่นเทคโนโลยีสารสนเทศสามารถลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนของอุตสาหกรรมต่าง ๆ ทั่วโลกได้ถึง 15% ภายในปี 2573 และบทบาทของเราคือการเสริมพลังให้กับการเปลี่ยนแปลงนั้น ด้วยการใช้รูปแบบการเชื่อมต่อที่ไร้ขีดจำกัดเป็นตัวขยายประสิทธิภาพให้กับนวัตกรรมเพื่อแก้ไขวิกฤตสภาพภูมิอากาศ”
โดยที่ประเทศไทยได้ประกาศใน COP26 ถึงความตั้งใจลดการปล่อย GHG (ก๊าซเรือนกระจก) ลง 20-25% ภายในปี 2573 โดยใช้ข้อมูลพื้นฐานของปี 2548 ทั้งนี้เครือข่ายจะต้องใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น จากการศึกษาของอีริคสันพบว่าเทคโนโลยี 5G ในอุตสาหกรรมที่มีการปล่อยก๊าซคาร์บอนสูงสุดสี่กลุ่ม ได้แก่ พลังงาน การขนส่ง การผลิตและอาคาร สามารถช่วยลดการปล่อย CO2 ได้ 55-170 ตันต่อปี” การลดการปลดปล่อยดังกล่าวนี้จะเทียบได้กับการลดจำนวนรถยนต์บนท้องถนนถึง 35 ล้านคัน”
ดังนั้น 5G สามารถลดการปล่อยคาร์บอนได้มากกว่า 10 เท่า จากการเปลี่ยนผ่านของภาคอุตสาหกรรมที่มากกว่าการปล่อยก๊าซที่มาจากภาคเทคโนโลยีสารสนเทศเอง เทคโนโลยีดิจิทัลต่าง ๆ รวมถึง 5G จะเป็นพื้นฐานสำคัญในการลดการปล่อยคาร์บอนลงครึ่งหนึ่งทุก ๆ ทศวรรษจนถึงปี 2593 และบรรลุเป้าหมายของการลดอุณหภูมิของโลกลง 1.5 องศาเซลเซียส