จากงานสัมมนา Huawei’s Better World Summit for 5G + AR ซึ่งเป็นการประชุมเกี่ยวกับ 5G และเทคโนโลยี AR ที่จัดโดยหัวเว่ย บ๊อบ ไซ ผู้บริหารฝ่ายการตลาดของกลุ่มธุรกิจผู้ให้บริการเครือข่ายของหัวเว่ย (Huawei Carrier BG CMO) ได้กล่าวเปิดงานในหัวข้อ “เปลี่ยนความฝันสู่ความจริงด้วยเทคโนโลยี 5G และ AR” (5G + AR, Turning Dreams into Reality) โดยกล่าวว่า 5G จะเป็นเทคโนโลยีที่เปิดทางให้เทคโนโลยี AR ในขณะเดียวกัน AR ก็จะทำให้ 5G มีความสำคัญมากขึ้น นอกจากนี้ยังได้เปิดตัวสมุดปกขาวชื่อ “ข้อมูลเชิงลึก และการนำแอปพลิเคชัน AR ไปใช้งาน” (AR Insight and Application Practice) ซึ่งให้ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับอุตสาหกรรม AR ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของอุปกรณ์ แอปพลิเคชัน และการเชื่อมต่อ โดยเรียกร้องให้ทั้งอุตสาหกรรมทำงานร่วมกันเพื่ออนาคตที่สดใสของอีโคซิสเต็มของทั้ง 5G และ AR
AR ช่วยขยายขอบเขตใหม่ ๆ ให้แก่ภาคอุตสาหกรรม
ข้อมูลจากหัวเว่ย และองค์กรอิสระ ได้คาดการณ์ว่าตลาดของ AR จะมีมูลค่ากว่า 300,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือประมาณ 9.3 ล้านล้านบาท ภายในปี พ.ศ. 2568 “ในช่วงแรก เราจะได้เห็นการนำ AR ไปใช้งานอย่างแพร่หลายใน 5 อุตสาหกรรมหลัก ได้แก่ ภาคการศึกษา เครือข่ายสังคมออนไลน์ ช้อปปิ้ง การท่องเที่ยว การเดินทาง และเกมส์ โดย AR จะสามารถเชื่อมต่อโลกแห่งความเป็นจริงเข้ากับโลกดิจิทัลได้อย่างสมบูรณ์แบบ ซึ่งจะทำให้ความฝันกลายเป็นความจริงได้” ไซ กล่าว
AR จะทำให้การสื่อสารมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
หัวเว่ยได้ทำเสนอกรณีศึกษาการนำเทคโนโลยี AR มาใช้งานเพื่อให้การสื่อสารทำได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น อาทิเช่น เนื่องด้วยข้อจำกัดจากสถานการณ์โควิด-19 ทำให้ลูกค้าจากทั่วโลกของหัวเว่ยไม่สามารถพบพนักงานด้วยตนเองได้ หัวเว่ยจึงนำ AR เข้ามาช่วยในการสาธิตการใช้งานอุปกรณ์และโซลูชั่นของหัวเว่ยผ่านออนไลน์ ทำให้การสื่อสารมีประสิทธิภาพขึ้นมาก นอกจากนี้ยังนำ AR เข้ามาช่วยในขั้นตอนการส่งมอบสถานีฐานของ 5G ให้มีความรวดเร็วยิ่งขึ้น ซึ่งช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้แก่การส่งมอบผลิตภัณฑ์และโซลูชันต่าง ๆ ได้
หัวเว่ย ช่วยทำให้การใช้งาน AR เรียบง่ายขึ้น
พร้อมกันนี้ ไซ ได้สาธิตถึงวิธีการที่หัวเว่ยใช้ในการสร้างสรรค์ AR เช่น โปรแกรม Air Photo ของหัวเว่ย ใช้งานอัลกอริทึมอันเป็นเอกลักษณ์ในการแปลงให้ภาพสองมิติกลายเป็นโมเดลสามมิติ ช่วยให้กระบวนการสร้างโมเดลสามมิติโดยใช้ AR ง่ายขึ้นมาก และได้แนะนำ Huawei AR Engine ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มการพัฒนา AR ของหัวเว่ย เน้นที่อุปกรณ์มือถือ เมื่อใช้งาน Huawei AR Engine แล้ว นักพัฒนาสามารถสร้างเอฟเฟ็กต์ AR ขึ้นมาด้วยการเขียนโค้ดเพียงแค่ 10 บรรทัดเท่านั้น ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของการพัฒนาแอปพลิเคชัน AR ได้เป็นอย่างมาก
ภาคอุตสาหกรรมควรทำงานร่วมกันเพื่อสร้างอีโคซิสเต็มของ 5G และ AR อย่างยั่งยืน
ภายในงานนี้ได้มีแขกผู้มีเกียรติเข้าร่วมและขึ้นกล่าวในงานเป็นจำนวนมาก และได้มีการเชิญ ฮี เชงเจียน คณะกรรมการการจัดการด้านการสื่อสารเมืองเซินเจิ้น เดวิด แมคควีน กรรมการผู้บริหารการวางแผนเชิงกลยุทธ์ ฮวง ฮี ประธานผู้อำนวยการสร้างสถานีโทรทัศน์เซินเจิ้น เว่ย รองจี ประธานกรรมการบริหารเรียลแม็กซ์ (RealMax) ฮิโรชิ ฟุกุดะ ประธานกรรมการบริหารมีลีป (meleap) เหลียง จินเฮา ตัวแทนจากฮาโด (HADO) สาขาประเทศจีน และฟู จี กรรมการผู้บริหารสมาคม AR แห่งเมืองเซินเจิ้น เข้ามาร่วมแบ่งปันประสบการณ์และพูดคุยเกี่ยวกับกรณีศึกษาของการใช้เทคโนโลยี AR รวมถึงแนวโน้มของเทคโนโลยี AR ในอนาคต
ฮี เชงเจียน กล่าวว่าเซินเจิ้นเป็นเมืองแรกของโลกที่มีการใช้งานเทคโนโลยี 5G SA ครอบคลุมอย่างเต็มรูปแบบ โดยภาคอุตสาหกรรมต่างๆสามารถนำบริการด้าน ICT ที่แสดงผลผ่านเทคโนโลยี AR มาประยุกต์ใช้ได้อย่างกว้างขวางในภาคอุตสาหกรรมการผลิต อีคอมเมิร์ซ อสังหาริมทรัพย์ การตกแต่งบ้าน สังคมและวัฒนธรรม กีฬา การท่องเที่ยว การดูแลสุขภาพ และการศึกษา นอกจากนี้การนำแอปพลิเคชัน AR มาใช้งานถือเป็นหัวใจสำคัญที่จะเร่งขับเคลื่อนการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัล และส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่อระบบอุตสาหกรรมการผลิต รวมถึงวิถีชีวิตของเราอีกด้วย
บ๊อบ ไซ ได้กล่าวสรุปตอนท้ายว่า “หากคุณต้องการไปต่อให้เร็วที่สุดจงไปคนเดียว แต่หากคุณต้องการไปต่อให้ไกลที่สุดจงไปด้วยกันกับคนอื่น เทคโนโลยี AR จำเป็นต้องอาศัยการทำงานร่วมกันของภาคอุตสาหกรรมต่าง ๆ ในการขับเคลื่อนให้เกิดการพัฒนาและเกิดการสร้างคุณค่าในภาพรวมของ 5G และ AR ที่ยั่งยืน ซึ่งการผสมผสานเทคโนโลยี 5G เข้ากับเทคโนโลยี AR เกิดขึ้นในช่วงเวลาที่เหมาะสม กล่าวคือ 5G ได้เข้ามาปลดล็อคศักยภาพของ AR และ AR ก็เสริมศักยภาพของ 5G ด้วยเช่นกัน”
หัวเว่ย ถือว่าเป็นผู้นำด้านโครงสร้างพื้นฐานเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารและสมาร์ทดีไวซ์ ด้วยโซลูชั่นที่ผสมผสานในสี่กลุ่มหลัก คือ เครือข่ายโทรคมนาคม ไอที สมาร์ทดีไวซ์ และบริการคลาวด์