Evolt จับมือ ESIC ตั้งเป้าสร้างมาตรฐานด้านความปลอดภัยในการติดตั้งสถานี้ชาร์จไฟฟ้า เพิ่มความเชื่อมมั่นให้ผู้ใช้รถอีวี


Evolt จับมือ ESIC ตั้งเป้าสร้างมาตรฐานด้านความปลอดภัยในการติดตั้งสถานี้ชาร์จไฟฟ้า เพิ่มความเชื่อมมั่นให้ผู้ใช้รถอีวี

กระแสการเข้ามาของรถยนต์ไฟฟ้าทั่วโลก มีแนวโน้มเติบโตอย่างรวดเร็ว ไม่ว่าจะเป็นใน ประเทศจีน กลุ่มประเทศยุโรป และประเทศ สหรัฐอเมริกา ซึ่งในที่สุดจะส่งผลต่ออุตสาหกรรม รถยนต์ในประเทศไทยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่ ดูเหมือนการตอบรับรถยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทย ยังตามหลังหลายประเทศ คนที่ใช้รถยนต์ไฟฟ้า ตัดสินใจซื้อเนื่องจากค่าใช้จ่ายถูกกว่า ดีต่อ สิ่งแวดล้อม และเทคโนโลยีที่ก้าวหน้า ขณะที่สถานี ชาร์จไฟที่ยังมีจำนวนไม่ครอบคลุม ระยะทาง การขับขี่ต่อการชาร์จหนึ่งครั้งที่สั้น ระยะเวลา การชาร์จที่นาน และราคารถยนต์ไฟฟ้าที่ยังสูงกว่า รถ ICE เป็นอุปสรรคสำคัญของการตอบรับรถยนต์ ไฟฟ้าของไทย

บริษัท อีโวลท์ เทคโนโลยี จำกัด นำโดย พูนพัฒน์ โลหารชุนระธาน เจ้าหน้าที่บริหารและผู้ก่อตั้งบริษัทฯ พร้อมด้วย วิศรุต อมรชัยเจริญ ประธาน เจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายธุรกิจ ร่วมลงนามบันทึกความเข้าใจกับสมาคมผู้ตรวจสอบ ระบบไฟฟ้า ณ สภาวิศวกร นำโดย ชิษณุพงศ์ สัจจะวัฒนวิมล นายกสมาคม ผู้ตรวจสอบระบบไฟฟ้า และ วิชัย ชยปาลกุล อุปนายกสมาคมฯ ซึ่งเป็นบันทึกข้อตกลงเกี่ยวกับความร่วมมือในการพัฒนามาตรฐาน กฎเกณฑ์ และข้อบังคับ ในการติดตั้งสถานีอัดประจุไฟฟ้า รวมทั้งการพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้สอดรับกับเทรนด์การใช้ยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศที่มีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง

Evolt จับมือ ESIC ตั้งเป้าสร้างมาตรฐานด้านความปลอดภัยในการติดตั้งสถานี้ชาร์จไฟฟ้า

สมาคมผู้ตรวจสอบระบบไฟฟ้า เป็นองค์กรวิชาชีพด้านวิศวกรรมไฟฟ้า และเป็นองค์กรแม่ข่ายในการพัฒนาวิชาชีพวิศวกรรมต่อเนื่องของสภาวิศวกร มีจุดประสงค์เพื่อส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาการตรวจสอบระบบไฟฟ้าให้มี มาตรฐานสากล รวมทั้งเสริมสร้างจิตสำนึกด้านความปลอดภัยเกี่ยวกับระบบ ไฟฟ้าให้กับภาครัฐและเอกชน

วัตถุประสงค์ของบันทึกข้อตกลงดังกล่าว ได้ระบุใจความสำคัญไว้ดังต่อไปนี

  1. เพื่อความร่วมมือในการฝึกอบรมการติดตั้ง เครื่องอัดประจุไฟฟ้า (EV Charger) และ การบำรุงรักษาเชิงป้องกัน (PM)
  2. เพื่อการพัฒนาแลกเปลี่ยนความรู้ความ สามารถของวิศวกรและช่างไฟฟ้า ท้ังในด้าน เทคโนโลยีและด้านกฎหมายข้อบังคับต่างๆ ของสถานีอัดประจุไฟฟ้า (EV Charging Station)
  3. ร่วมมือด้านอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับสถานีอัดประจุ รถยนต์ไฟฟ้า หรือเครื่องอัดประจุไฟฟ้า
พูนพัฒน์ โลหารชุน
พูนพัฒน์ โลหารชุน

พูนพัฒน์ โลหารชุน ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและผู้ก่อตั้ง บริษัท อีโวลท์ เทคโนโลยี จำกัด กล่าวว่า “บันทึกข้อตกลงกับสมาคมผู้ตรวจสอบระบบไฟฟ้า ในครั้งนี้ จะช่วยสร้างมาตรฐานการติดตั้งสถานีอัดประจุไฟฟ้าที่จะต้องคำนึงถึง ประเด็นในเรื่องของความถูกต้องในการติดตั้ง และความปลอดภัยในการใช้งาน เพื่อสร้างบรรทัดฐานและสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้ใช้รถอีวีในประเทศไทย จากสถิติจำนวนผู้จดทะเบียนรถอีวีจากกรมขนส่งทางบกที่เติบโตอย่างก้าวกระโดด จากยอดจดทะเบียนรถอีวี พ.ศ. 2564 ที่มีจำนวนกว่า 5,781 คัน และใน พ.ศ. 2565 มีทิศทางท่ีเติบโตขึ้นกว่า 260% ด้วยจำนวนยอดรถอีวีที่ได้รับการ จดทะเบียนกว่า 20,816 คัน ตัวเลขดังกล่าวนี้มีนัยสำคัญกับประเทศไทยเป็น อย่างมาก และเป็นตัวบ่งชี้ถึงทิศทางการวางแผนการติดตั้งโครงสร้างพื้นฐาน อย่างสถานีอัดประจุไฟฟ้าในประเทศไทยให้ครอบคลุมกับความต้องการของ ผู้บริโภค”

ปัจจุบัน บริษัท อีโวลท์ เทคโนโลยี จำกัด ได้ติดตั้งเครื่องชาร์จทั้งไฟฟ้ากระแสสลับ (AC Charging) และไฟฟ้ากระแสตรง (DC Charging) หลายจุดทั่วประเทศ เรามีทีมช่างไฟฟ้าผู้มีความรู้ ความเชี่ยวชาญพร้อมให้บริการตามพื้นที่ต่างๆ ทั่วประเทศ เพื่อแก้ไขปัญหาด้านเทคนิคได้อย่าง รวดเร็ว นอกจากนี้ยังมีทีมบริการลูกค้า (Customer Support) พร้อมช่วยแก้ไขปัญหาเบื้องต้นตลอด 24 ชั่วโมง สร้างความมั่นใจให้กับผู้ใช้รถอีวีให้ สามารถใช้บริการได้อย่างอุ่นใจและราบรื่นตลอด การเดินทาง

ดังนั้น อุตสาหกรรมยานยนต์ทั่วโลกกำลัง ก้าวข้ามการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ การขับเคลื่อน ด้วยพลังงานไฟฟ้า (Electrification) การขับเคลื่อนอัตโนมัติ (Autonomous Driving) และการบริการด้านการเดินทาง (Servicification in Mobility Sector) ล้วนส่งผลต่อทั้งอุตสาหกรรม ไม่ว่าจะเป็นผู้ผลิตรถยนต์ ผู้ผลิตชิ้นส่วน ผู้ขายปลีกหรือดีลเลอร์ สถานีบริการ รวมถึงผู้เล่นที่เกี่ยวข้อง เช่น ภาครัฐ ธนาคาร และ ประกันภัย การเปลี่ยนแปลงในระดับอุตสาหกรรมเช่นนี้มักสร้างความท้าทายให้กับ ผู้เล่นท่ามกลางการแข่งขันที่สูงขึ้น

การขยับตัวและปรับตัวเพื่อรับสิ่งที่เกิดขึ้น ไม่เพียงช่วยรักษาความสามารถใน การแข่งขัน แต่ยังจะช่วยให้ผู้เล่นสามารถคว้าโอกาสใหม่ๆ ในโลกยานยนต์ยุคใหม่ได้ ในด้านความต้องการรถยนต์ไฟฟ้าก็เช่นกัน แม้ในช่วงแรกอาจจะยังมีอุปสรรคหลายอย่าง แต่การปลดล็อกข้อจำกัดเหล่านี้จะทำให้การตอบรับรถยนต์ไฟฟ้าเร่งตัวอย่างรวดเร็ว กว่าที่หลายฝ่ายคาดคิด ผู้เล่นที่กระโจนเข้าสู่ธุรกิจรถยนต์ไฟฟ้าเร็วก็อาจเผชิญความเสี่ยง ที่มาพร้อมกับส่วนแบ่งตลาดก้อนใหญ่ ส่วนผู้เล่นที่ปรับตัวช้าอาจเสียโอกาสเชิงธุรกิจ ไปได้ มีเพียงผู้เล่นหรือผู้ที่เกี่ยวข้องที่ขยับตัวในทิศทางและความเร็วที่เหมาะสมเท่านั้น ที่จะเป็นผู้คว้าโอกาสธุรกิจรถยนต์ไฟฟ้าที่กำลังเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้ได้


Source: นิตยสาร Electricity & Industry Magazine ปีที่ 30 ฉบับที่ 2 มีนาคม-เมษายน 2566
คอลัมน์ Special Scoop โดย กองบรรณาธิการ


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เอง โดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save