การโจมตีทางไซเบอร์และเหตุฉุกเฉินที่เพิ่มสูงขึ้นส่งผลกระทบองค์กรในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก


Dell Technologies Global Data Protection Index 2020 Snapshot ชี้ให้เห็นความท้าทายหลักที่ส่งผลต่อความพร้อมในการปกป้องข้อมูล

อเล็กซ์ เล่ย
อเล็กซ์ เล่ย

ผลวิจัยดัชนีการปกป้องข้อมูลทั่วโลก 2020 ของเดลล์ เทคโนโลยีส์ หรือ Global Data Protection Index 2020 Snapshot เผยให้เห็นว่าองค์กรในเอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่นโดยเฉลี่ยกำลังจัดการข้อมูลที่มากกว่าที่เคยเป็นในช่วงปีที่ผ่านมา 64% ด้วยการเพิ่มสูงขึ้นของข้อมูลทำให้เกิดความท้าทายอย่างไม่อาจเลี่ยงได้ ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ (77%) รายงานว่าโซลูชันการปกป้องคุ้มครองข้อมูลในปัจจุบันจะไม่สามารถตอบโจทย์ความต้องการในทางธุรกิจในอนาคตได้ทั้งหมด รายงานสรุปดังกล่าวซึ่งเป็นดัชนีการป้องกันข้อมูลทั่วโลกที่จัดทำขึ้นในทุก 2 ปี ได้ทำการสำรวจผู้มีอำนาจตัดสินใจด้านไอทีจำนวน 1,000 คน ใน 15 ประเทศที่อยู่ในองค์กรภาครัฐและองค์กรเอกชนที่มีพนักงานกว่า 250 คน เพื่อศึกษาเกี่ยวกับผลกระทบของความท้าทายต่างๆ และเทคโนโลยีชั้นสูงมีต่อความพร้อมในด้านการปกป้องข้อมูลจากจำนวนผู้มีอำนาจตัดสินใจด้านไอทีทั้งหมด 1,000 คน 1 ใน 4 มาจากภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น การค้นพบในระดับภูมิภาคยังแสดงให้เห็นถึงความคืบหน้าในเชิงบวกจากจำนวน 75% ขององค์กรในภูมิภาคในปี ค.ศ. 2019 สูงขึ้นจากจำนวน 74% ในปี ค.ศ. 2018 ที่มองข้อมูลในฐานะสินทรัพย์ที่มีค่า และกำลังวางแผนที่จะดึงมูลค่าของข้อมูลออกมาหรือกำลังวางแผนที่จะทำเช่นนั้นในอนาคต

“ข้อมูลคือสิ่งที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อธุรกิจและเป็นกุญแจที่จะไขไปสู่การปฏิรูปทางดิจิทัลขององค์กร” เบธ ฟาเลน ประธานด้านการปกป้องข้อมูลของเดลล์ เทคโนโลยีส์ กล่าว “เมื่อเราเข้าสู่ทศวรรษหน้าของข้อมูล (Next Data Decade) กลยุทธ์การปกป้องข้อมูลที่ยืดหยุ่น เชื่อถือได้ และทันสมัย คือสิ่งสำคัญที่ช่วยให้ธุรกิจสามารถตัดสินใจได้อย่างชาญฉลาดยิ่งขึ้น รวดเร็วมากขึ้น รวมทั้งจัดการกับผลกระทบจากการดิสรัปชันที่มีราคาแพง”

“การเติบโตอย่างมหาศาลของข้อมูลผสานเข้ากับมูลค่าของข้อมูลที่เพิ่มสูงขึ้นกำลังสร้างให้เกิดโอกาสต่างๆ ขึ้นเป็นจำนวนมาก แต่ก็ยังสร้างความเสี่ยงใหม่ๆ ให้เกิดขึ้นจากการที่องค์กรต้องรับมือกับการที่ว่าจะปกป้องข้อมูลได้อย่างน่าเชื่อถือและยั่งยืนได้อย่างไร” อเล็กซ์ เล่ย รองประธานโซลูชันด้านการปกป้องข้อมูล เดลล์ เทคโนโลยีส์ ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น กล่าว “จากการที่มูลค่าข้อมูลขององค์กรระดับเอนเทอร์ไพรส์เพิ่มสูงขึ้น มูลค่าของการสูญเสียข้อมูลก็เพิ่มมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ในปี ค.ศ. 2020 และปีถัดไป องค์กรที่ใช้ประโยชน์จากความสามารถในการจัดการข้อมูลและการป้องกันที่ครอบคลุมในสภาพแวดล้อมแบบมัลติ-แพลตฟอร์มและมัลติ-คลาวด์ จะได้รับการเตรียมพร้อมเพื่อลดความเสี่ยงใหม่ๆ ที่เกิดขึ้น กระตุ้นการพัฒนานวัตกรรม รวมทั้งลดต้นทุนรวมในการเป็นเจ้าของ (TCO) ตลอดจนเพิ่มประสิทธิภาพสูงสุดให้กับผลลัพธ์ในการดำเนินธุรกิจ”

เหตุฉุกเฉินและภัยภิบัติที่เพิ่มสูงขึ้นในอัตราที่น่าตกใจ

จากการศึกษาพบว่าองค์กรในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น กำลังจัดการข้อมูลจำนวนถึง 13.31 เพตาไบต์ (PB) ซึ่งเพิ่มขึ้น 64% จากจำนวนเฉลี่ย 8.13 เพตาไบต์ (PB) ในปี ค.ศ. 2018 และเป็นจำนวนเพิ่มขึ้น 693% จากการจัดการข้อมูลจำนวน 1.6 เพตาไบต์ ขององค์กรในปี ค.ศ. 2016 ภัยคุกคามที่ใหญ่ที่สุดต่อข้อมูลทั้งหมดนี้ดูเหมือนจะเป็นการเพิ่มจำนวนสูงขึ้นของเหตุฉุกเฉินและภัยพิบัติ (Disruptive Events) ต่างๆ ทั้งจากการโจมตีทางไซเบอร์ไปจนถึงการสูญหายของข้อมูล และการเกิดการหยุดการทำงานของระบบ (System Downtime) องค์กรส่วนใหญ่ (84% ในปี ค.ศ. 2019 เมื่อเทียบกับ 80% ในปี ค.ศ. 2018) ได้รับความเสียหายจากเหตุฉุกเฉินเหล่านี้ในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา นอกจากนี้ จำนวนอีก 70% หวาดกลัวว่าองค์กรของพวกเขาจะประสบเหตุการณ์ฉุกเฉินนี้ในอีก 12 เดือนข้างหน้า

ยิ่งไปกว่านั้นคือการค้นพบว่าองค์กรที่ใช้ผู้ให้บริการปกป้องข้อมูลมากกว่า 1 รายนั้น มีความเสี่ยงมากกว่าเกือบ 4 เท่าด้านความปลอดภัยบนไซเบอร์ที่ป้องกันการเข้าถึงข้อมูล (42% ขององค์กรที่ใช้ผู้ให้บริการ 2 รายหรือมากกว่ากับ 11% ของผู้ใช้ผู้ให้บริการเพียงรายเดียว) แต่การใช้ผู้ให้บริการด้านการปกป้องข้อมูลจำนวนหลากหลายกำลังเพิ่มขึ้น 83% จากการที่องค์กรเลือกที่จะใช้โซลูชันด้านการปกป้องข้อมูลจากผู้ให้บริการมากกว่า 2 ราย คิดเป็นจำนวนเพิ่มขึ้น 25% จากปี ค.ศ. 2016 ค่าใช้จ่ายของดิสรัปชันยังเพิ่มขึ้นในอัตราที่น่าตกใจ ต้นทุนโดยเฉลี่ยของการ

protection solution

ค่าใช้จ่ายของดิสรัปชันยังเพิ่มขึ้นในอัตราที่น่าตกใจ ต้นทุนโดยเฉลี่ยของการหยุดทำงาน หรือ Downtime ในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมาพุ่งสูงขึ้น 61% จากปี ค.ศ. 2018-ค.ศ. 2019 ส่งผลต่อการประมาณมูลค่าต้นทุนรวมอยู่ที่ 794,308 ดอลลาร์สหรัฐฯ ในปี ค.ศ. 2019 เพิ่มขึ้นจาก 494,869 ดอลลาร์สหรัฐฯ ในปี ค.ศ. 2018 ขณะเดียวกันค่าใช้จ่ายโดยประมาณของการสูญเสียข้อมูลเพิ่มขึ้นจาก 939,703 ดอลลาร์สหรัฐฯ ในปี ค.ศ. 2018 เป็น 1,301,524 ดอลลาร์สหรัฐฯ ในปี ค.ศ. 2019 โดยเฉลี่ย โดยค่าใช้จ่ายเหล่านี้เพิ่มสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญสำหรับองค์กรที่ใช้ผู้ให้บริการปกป้องข้อมูลมากกว่าหนึ่งราย โดยมีค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการหยุดทำงานของระบบสูงขึ้นเกือบ 4 เท่า และเกือบ 12 เท่า สำหรับค่าใช้จ่ายในการสูญเสียของข้อมูลโดยเฉลี่ย

เทคโนโลยีเกิดใหม่ ความท้าทายสำหรับโซลูชันการปกป้องข้อมูล

จากการที่เทคโนโลยีเกิดใหม่ หรือ Emerging Technologies ยังคงก้าวหน้าและเป็นตัวกำหนดภูมิทัศน์ดิจิทัล องค์กรต่างกำลังเรียนรู้วิธีการใช้เทคโนโลยีเหล่านี้เพื่อผลลัพธ์ทางธุรกิจที่ดีขึ้นการศึกษาระบุว่าองค์กรผู้ตอบแบบสอบถามในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกเกือบทั้งหมดกำลังลงในเทคโนโลยีใหม่ หรือเทคโนโลยีที่กำลังจะเกิดขึ้นใน 5 อันดับแรก (Top 5) ดังนี้

  1. แอปพลิเคชันคลาวด์ หรือ Cloud-Native Applications (64%)
  2. ซอฟต์แวร์ในรูปแบบการบริการ (Software-as-a-Service : SaaS) (58%)
  3. ปัญญาประดิษฐ์ (AI) และแมชชีน เลิร์นนิ่ง (ML) (50%)
  4. 5G และโครงสร้างพื้นฐานคลาวด์ เอดจ์ (49%) และ
  5. อินเทอร์เน็ต ออฟ ธิงส์/เอ็นด์ พ้อยต์ (End Point) (45%)

ถึงกระนั้น 3 ใน 4 (75%) ของผู้ตอบแบบสอบถามเชื่อว่าเทคโนโลยีเกิดใหม่เหล่านี้สร้างความซับซ้อนในการป้องกันข้อมูลให้มากขึ้น ในขณะที่ 72% ระบุว่าเทคโนโลยีเกิดใหม่ก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อการปกป้องข้อมูล นอกจากนี้ มากกว่าครึ่งของผู้ที่ใช้เทคโนโลยีเกิดใหม่ต่างพยายามค้นหาโซลูชันการปกป้องข้อมูลที่เพียงพอสำหรับเทคโนโลยีทั้งหลายเหล่านี้ อันได้แก่

  • 5G และโครงสร้างพื้นฐานคลาวด์ เอดจ์ (75%)
  • แพลตฟอร์ม AI และ ML (72%)
  • คลาวด์-เนทิฟ แอปพลิเคชัน (64%)
  • อินเทอร์เน็ต ออฟ ธิงส์/เอ็นด์ พ้อยต์ (59%)
  • กระบวนการอัตโนมัติในหุ่นยนต์ (56%)

การศึกษายังพบว่า 77% ของผู้ตอบแบบสอบถามเชื่อว่าโซลูชันการปกป้องข้อมูลที่มีอยู่เดิมขององค์กรของพวกเขาจะไม่สามารถตอบสนองความท้าทายทางธุรกิจในอนาคตได้ทั้งหมดโดยผู้ตอบแบบสอบถามระบุความไม่มั่นใจในส่วนต่างๆ ดังนี้ :

  • การกู้คืนข้อมูลจากการโจมตีบนไซเบอร์ (70%)
  • การกู้คืนข้อมูลจากเหตุการณ์การสูญหายของข้อมูล (66%)
  • การทำตามกฎระเบียบของการกำกับดูแลข้อมูลในระดับภูมิภาค (65%)
  • การทำตามวัตถุประสงค์ตามระดับการให้บริการสำรองและกู้คืนข้อมูล (60%)

การปกป้องข้อมูลผนึกกำลังเข้ากับคลาวด์

องค์กรธุรกิจตอบรับรูปแบบการผสมผสานการใช้งานคลาวด์รูปแบบต่างๆ เข้าด้วยกันเมื่อมีการใช้งานแอปพลิเคชันทางธุรกิจใหม่ๆ และเพื่อปกป้องเวิร์กโหลดต่างๆ อาทิ คอนเทนเนอร์ แอปพลิเคชันคลาวด์-เนทิฟและแอปพลิเคชันซอฟต์แวร์ในรูปแบบการบริการ (SaaS) ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่าองค์กรผู้ตอบแบบสอบถามในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกชื่นชอบการใช้งานพับบลิคคลาวด์/SaaS (46%) ไฮบริดคลาวด์ (38%) และไพรเวทคลาวด์ (36%) เนื่องจากสภาพแวดล้อมการใช้งานแอปพลิเคชันที่ใหม่กว่าเช่นนี้ ขณะเดียวกัน 76% ขององค์กรที่สำรวจระบุว่าเป็นข้อบังคับหรือเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่งสำหรับผู้ให้บริการการปกป้องข้อมูลที่จะให้การปกป้องแอปพลิเคชันคลาวด์-เนทิฟ

จากการที่มีการเคลื่อนย้ายของข้อมูล ทั้งที่ผ่านไปหรืออยู่โดยรอบสภาพแวดล้อมของเอจด์ ผู้ตอบแบบสอบถามจำนวนมากกล่าวว่าต้องการการสำรองข้อมูลบนระบบคลาวด์มากกว่า โดย 60% ระบุเป็นไพรเวทคลาวด์ และ 59 ต้องการพับบลิคคลาวด์เนื่องจากแนวทางในการจัดการและปกป้องข้อมูลของพวกเขาสร้างขึ้นในพื้นที่ของเอจด์ (Edge Locations)

เดลล์ เทคโนโลยีส์ มอบหมายให้แวนสัน บอร์น (Vanson Bourne) ในการทำ Global Data Protection Index 2020 Snapshot ซึ่งต่อเนื่องกับ Global Data Protection Index ที่จัดทำขึ้นทุก 2 ปี โดยเริ่มจากปี ค.ศ. 2014, ค.ศ. 2016 และ ค.ศ. 2018 งานวิจัยสำรวจความคิดเห็นของผู้มีอำนาจการตัดสินใจด้านไอทีจำนวน 1,000 คน ใน 15 ประเทศ 14 อุตสาหกรรมที่มีพนักงานจำนวนมากกว่า 250 คน เพื่อให้เข้าใจถึงผลกระทบของคลาวด์ และความซับซ้อนของเทคโนโลยีชั้นสูงในด้านความพร้อมของการปกป้องข้อมูล จากผู้ตอบแบบสอบถามทั้งหมดมีจำนวน 250 คนที่มาจากภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก แวนสัน บอร์น ได้เริ่มดำนินการสำรวจในช่วงระหว่างเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม 2019 ประเทศที่ได้รับการสำรวจ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา อังกฤษ ฝรั่งเศส เยอรมนี และจีน ที่มีผู้ตอบแบบสอบถาม 100 คนในแต่ละประเทศ รวมถึงเม็กซิโก บราซิล อาฟริกาใต้ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ อิตาลี ออสเตรเลีย ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ อินเดีย และสิงคโปร์ ที่มีผู้ตอบแบบสอบถามประเทศละ 50 คน


Source: นิตยสาร Electricity & Industry Magazine ปีที่ 28 ฉบับที่ 3 พฤษภาคม-มิถุนายน 2563
คอลัมน์ IT Article โดย เดลล์ เทคโนโลยีส์


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เอง โดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save