“อาเซียนควรพัฒนาและผลักดันการกำหนดมาตรฐานคาร์บอนเครดิตร่วมกัน เป็นมาตรฐานระดับภูมิภาคที่ได้รับการยอมรับในระดับสากล”
ชัยวัฒน์ โควาวิสารัช ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มบริษัทบางจากและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท บางจาก คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) รับเชิญเป็นวิทยากรเสวนาในหัวข้อ “Carbon Tax–The Critical Path for Thailand Decarbonization การออกแบบภาษีคาร์บอนของไทย” แบ่งปันมุมมองของภาคเอกชนในประเด็นการเก็บภาษีคาร์บอนที่จะช่วยขับเคลื่อนการบรรลุเป้าหมาย Net Zero โดยร่วมเสวนากับ ดร.สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ ประธานสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย ดร. เอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ อธิบดีกรมสรรพสามิต และ ดร.ชนะ ภูมี ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ การบริหารความยั่งยืน บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) ในงานสัมมนา EARTH JUMP 2024 THE EDGE OF ACTION จัดโดยธนาคารกสิกรไทย ณ อาคารศูนย์การค้าสามย่านมิตรทาวน์ เมื่อเร็วๆ นี้
ชัยวัฒน์ ได้กล่าวว่า จากการที่มาตรการภาษีในอนาคตจะก่อให้เกิดต้นทุนเพิ่มขึ้น ภาคการผลิตต่าง ๆ ควรต้องมุ่งปรับปรุงประสิทธิภาพในการผลิตและการบริหารจัดการ รวมถึงใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมสีเขียวเพื่อลดการปล่อยคาร์บอนลง และเสนอว่าภาษีคาร์บอนที่เก็บได้ ควรนำไปใช้เป็นเงินทุนเพื่อพัฒนาเทคโนโลยีที่จะช่วยให้ไปสู่เป้าหมาย Net Zero โดยมองว่าประเทศไทยน่าจะใช้ทั้งระบบ ETS (Emission Trading Scheme – กำหนดเพดานการปล่อยก๊าซเรือนกระจก) และภาษีคาร์บอนควบคู่กันไป โดยให้กลไกตลาดเป็นผู้สะท้อนราคาคาร์บอน นอกจากนี้ อาเซียนควรมีการพัฒนาและผลักดันการกำหนดมาตรฐานคาร์บอนเครดิตร่วมกันในระดับภูมิภาค เพื่อเป็นการผลักดันมาตรฐานกลางให้ได้รับการยอมรับในระดับสากล ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการเพิ่มอำนาจการต่อรองจากการใช้มาตรการกีดกันทางการค้าด้านสิ่งแวดล้อม เช่น มาตรการปรับคาร์บอนก่อนข้ามพรมแดนของสหภาพยุโรป (CBAM) รวมถึงอาเซียนควรมีการพัฒนาตลาดซื้อขายคาร์บอนเครดิต และนำกลไกด้านเงินทุน
เช่น กองทุนของตลาดหลักทรัพย์ มาสนับสนุน
บริษัท บางจาก คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ดำเนินงานใน 5 ธุรกิจหลัก คือ 1) กลุ่มธุรกิจโรงกลั่นและการค้าน้ำมัน ผู้นำด้านการกลั่นน้ำมันของประเทศ ด้วยกำลังการผลิตรวมเกือบ 300,000 บาร์เรลต่อวัน จากโรงกลั่นน้ำมันแบบ Complex Refinery มาตรฐานระดับโลก 2 แห่ง คือโรงกลั่นน้ำมันบางจาก พระโขนงและโรงกลั่นน้ำมันบางจาก ศรีราชา จังหวัดชลบุรี ขยายสู่ธุรกิจการค้าน้ำมันผ่านบริษัทบีซีพี เทรดดิ้ง (BCPT) และต่อยอดเครือข่ายธุรกิจขนส่งเชื้อเพลิง ผ่านบริษัทกรุงเทพขนส่งเชื้อเพลิงทางท่อและโลจิสติกส์ (BFPL) รวมถึงลงทุนในธุรกิจเชื้อเพลิงอากาศยานยั่งยืน หรือ SAF ผ่านบริษัทบีเอสจีเอฟ (BSGF) 2) กลุ่มธุรกิจการตลาด ส่งมอบ Greenovative Experience ผ่านเครือข่ายสถานีบริการกว่า 2,200 แห่ง เสริมด้วยธุรกิจ non-oil เช่น กาแฟอินทนิล น้ำมันหล่อลื่น Furio EV Charger รวมทั้งความร่วมมือกับพันธมิตรด้านอาหารหลากหลายและนำระบบดิจิทัลมาส่งมอบประสบการณ์ทันสมัย สะดวก ปลอดภัย ให้กับผู้ใช้บริการ 3) กลุ่มธุรกิจไฟฟ้าพลังงานสะอาด ดำเนินธุรกิจผลิตไฟฟ้าจากพลังงานสะอาด และการนำนวัตกรรมมาพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการเพื่อตอบสนองต่อความต้องการการใช้พลังงานของผู้บริโภคและลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม โดย บมจ. บีซีพีจี ผู้นำธุรกิจพลังงานสะอาดในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิค 4) กลุ่มธุรกิจผลิตภัณฑ์ชีวภาพ ดำเนินการภายใต้ บมจ. บีบีจีไอ ผู้ประกอบธุรกิจผลิตและจำหน่ายเชื้อเพลิงชีวภาพรายใหญ่ของประเทศและขยายสู่ธุรกิจผลิตภัณฑ์ชีวภาพมูลค่าสูง 5) กลุ่มธุรกิจทรัพยากรธรรมชาติ ลงทุนในธุรกิจสำรวจและผลิตปิโตรเลียมผ่านการถือหุ้นใน OKEA ASA ประเทศนอร์เวย์ ที่เป็นที่ยอมรับว่ามีมาตรฐานด้านการดูแลสิ่งแวดล้อมดีที่สุดในโลกประเทศหนึ่ง และมีกลุ่มธุรกิจใหม่ (New Businesses) อาทิ ธุรกิจ Battery as a Service สำหรับรถจักรยานยนต์ไฟฟ้า Winnonie และสถาบันนวัตกรรมและบ่มเพาะธุรกิจ (BiiC) เน้นการลงทุนในธุรกิจใหม่ทั้งในและต่างประเทศ พร้อมทั้งช่วยสร้างระบบนิเวศสำหรับ นวัตกรรมสีเขียว
นอกจากนี้ ยังได้ก่อตั้ง Carbon Markets Club เพื่อส่งเสริมการสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับวิกฤตสภาวะภูมิอากาศและการ ซื้อขายคาร์บอนเครดิต และร่วมก่อตั้งภาคีเครือข่ายเทคโนโลยีชีวภาพแห่งอนาคต SynBio Consortium บางจากฯ ได้รับการประเมินจาก S&P Global CSA ผู้จัดทำการประเมินความยั่งยืนดัชนี DJSI (ผลประเมินเมื่อวันที่
22 ธันวาคม 2566) ได้คะแนนการประเมินสูงเป็น Top 5% ในกลุ่มอุตสาหกรรม Oil & Gas Refining and Marketing และเป็นบริษัทไทยรายเดียวที่ได้รับการประเมินความยั่งยืน MSCI ESG Ratings ระดับ AA สูงสุดในกลุ่ม Oil & Gas Refining, Marketing, Transportation & Storage ต่อเนื่อง 5 ปีซ้อน ซึ่ง กลุ่มบริษัทบางจากตั้งเป้าหมายเป็นกลางทางคาร์บอนในปี ค.ศ. 2030 และปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ในปี ค.ศ. 2050