การประชุมเทคโนโลยีแบตเตอรี่อาเซียน ครั้งที่ 2 (ABTC) มีผู้เข้าร่วมกว่า 320 คน จาก 16 ประเทศ ใน 3 ทวีป ประกอบด้วย เอเชียแปซิฟิก ยุโรป และอเมริกาเหนือ จัดขึ้นที่โรงแรมแชงกรี-ลา ราซา เซนโตซ่า ระหว่างวันที่ 21 ถึง 23 สิงหาคม 2567 ที่สิงคโปร์ โดย กลุ่มความร่วมมือด้านแบตเตอรี่แห่งสิงคโปร์ (Singapore Battery Consortium – SBC) ร่วมกับ สมาคมเทคโนโลยีระบบกักเก็บพลังงานไทย (Thailand Energy Storage Technology Association – TESTA), สถาบันวิจัยแบตเตอรี่แห่งชาติ (National Battery Research Institute – NBRI) ประเทศอินโดนีเซีย, ศูนย์เทคโนโลยีการขนส่งที่ยั่งยืนแห่งชาติ (National Center for Sustainable Transportation Technology – NCSTT) ประเทศอินโดนีเซีย, องค์กรนาโนมาเลเซีย และสมาคมรถยนต์ไฟฟ้าแห่งฟิลิปปินส์ (Electric Vehicle Association of the Philippines EVAP)
การประชุมประจำปี 2567 นี้ เปิดงานโดยนายแลม วี แชนน์ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายเทคโนโลยี กรมขนส่งทางบก สิงคโปร์ (Land Transport Authority, Singapore (LTA))
แลมได้กล่าวในงานเปิดตัวงานดังกล่าวว่า กรมขนส่งทางบกตั้งเป้าในการลดการปล่อยมลพิษลง ซึ่งสนับสนุนต่อเป้าหมายการลดการปล่อยมลพิษสุทธิเป็นศูนย์ของสิงคโปร์ ทั้งนี้ กรมขนส่งทางบกสิงคโปร์ จะส่งเสริมการเดิน การปั่นจักรยาน และการใช้บริการรถสาธารณะให้มากขึ้น ซึ่งเป็นวิธีการเดินทางที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากที่สุด การเคลื่อนไหวที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือการสนับสนุนการนำยานยนต์พลังงานสะอาดมาใช้ รวมถึงรถยนต์ไฟฟ้าด้วย
แลมกล่าวว่า “ศูนย์อีวีแห่งชาติ ภายใต้กรมขนส่งทางบก มุ่งเน้นนโยบาย 3 ประการ ประการแรก การรับรองความปลอดภัยของแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้า ซึ่งถือเป็นเรื่องสำคัญมาก จากการผลักดันการใช้ไฟฟ้า
ประการที่ 2 คือ การขยายโครงสร้างพื้นฐานการชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าเพื่อส่งเสริมการใช้รถยนต์ไฟฟ้า ภายในสิ้นปี 2568 ที่จอดรถสาธารณะทั้งหมดในสิงคโปร์จะมีจุดชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า และสุดท้าย เรามั่นใจว่านโยบายของกรมฯ สนับสนุนการอำนวยความสะดวกในพื้นที่ใหม่และเทคโนโลยีที่กำลังพัฒนา ตัวอย่างเช่น เราได้ให้แรงจูงใจ เช่น การให้สิทธิพิเศษกับกลุ่มผู้ซื้อรถอีวีกลุ่มแรกๆ (EV Early Adoption Incentive (EEAI) เพื่อสนับสนุนการซื้อรถยนต์อีวี
ผมรู้สึกตื่นเต้นที่ได้เปิดตัวการประชุมเทคโนโลยีแบตเตอรี่อาเซียนครั้งที่ 2 การพัฒนาแบตเตอรี่เป็นเทคโนโลยีที่มีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว และเป็นเรื่องสำคัญที่จะต้องนำภาครัฐ ภาคเอกชน นักลงทุน และภาควิชาการมาประชุมร่วมกัน เพื่อสร้างการเติบโตในภูมิภาคให้สอดคล้องกัน ผมหวังว่างานประชุมในครั้งนี้จะก่อให้เกิดการสร้างสรรค์ในอนาคตต่อไป”
“การพัฒนาเทคโนโลยีแบตเตอรี่ที่ยั่งยืนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ถือเป็นหัวใจสำคัญสำหรับความมั่นคงด้านพลังงานของภูมิภาคในระยะยาว ด้วยการให้ความสำคัญกับความยั่งยืน เราไม่เพียงขับเคลื่อนนวัตกรรมเท่านั้น แต่ยังรับประกันความก้าวหน้าของเราว่าจะมีส่วนช่วยให้โลกมีสุขภาพที่ดียิ่งขึ้น ในการประชุมครั้งนี้ เราได้ร่วมมือกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการพัฒนาเทคโนโลยีแบตเตอรี่ในภูมิภาค เพื่อให้เราสามารถร่วมมือและจัดหาแนวทางเพื่อสร้างระบบนิเวศพลังงานที่แข็งแกร่งต่อไป” ดร. พิมพา ลิ้มทองกุล ประธานร่วมของ ABTC และนายกสมาคมเทคโนโลยีกักเก็บพลังงานไทย โดย ดร. พิมพาได้ร่วมกล่าวอภิปรายหัวข้ออาเซียนและแนวโน้มระดับโลกด้านกลยุทธ์การพัฒนาเพื่อต่ออายุใช้งานแบตเตอรี่หมดอายุ
งาน ABTC ถูกจัดขึ้นโดยการหมุนเวียนผู้จัดงาน และในปี 2568 ประเทศไทยโดยสมาคมเทคโนโลยีกักเก็บพลังงานไทยจะเป็นเจ้าภาพในการจัดงานครั้งถัดไป