20 ปี สภาวิศวกรไทยในยุคดิสรัปชั่น… ปฏิวัติวงการด้านวิศวกรไทยให้แข่งขันสู่ระดับเวทีโลก


20 ปี สภาวิศวกรไทยในยุคดิสรัปชั่น... ปฏิวัติวงการด้านวิศวกรไทยให้แข่งขันสู่ระดับเวทีโลก

ปัจจุบันบริบทเศรษฐกิจและสังคมโลกมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างมากอันเนื่องมาจากการปฏิวัติเทคโนโลยีดิจิทัลได้ส่งผลกระทบต่อการทำงานกับทุกวงการสาขาอาชีพ ทำให้องค์กรหรือหน่วยงานต่างๆ ต้องปรับเปลี่ยนไปตามกระแสยุคสมัย เช่นเดียวกับสภาวิศวกร หน่วยงานด้านวิศวกรรมถือโอกาสการดำเนินงานเข้าสู่ปีที่ 20 ในปี พ.ศ. 2562 เปลี่ยนแปลงเพื่อให้ทันต่อยุคดิจิทัลที่เข้ามามีอิทธิพลต่อการให้บริการต่างๆ แก่ประชาชนและสังคม

สภาวิศวกรจัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติวิศวกร พ.ศ. 2542 เมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2542 ดำเนินการด้านการประกอบวิชาชีพวิศวกรรมเพื่อก่อให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมและประเทศมาจนถึงปัจจุบันซึ่งมีวาระครบรอบ 20 ปี ในปีนี้ จึงเห็นควรให้มีการปฏิรูปการดำเนินงานของสภาวิศวกร เพื่อให้ทันท่วงทีต่อการเปลี่ยนแปลงสถานการณ์ของโลกยุคเทคโนโลยีที่กลายเป็นสิ่งจำเป็นในยุคสมัยนี้ จึงได้กำหนดจัดเสวนา เรื่อง “20 ปี สภาวิศวกรไทยในยุคดิสรัปชั่น” โดยมีผู้เข้าร่วมสัมมนาทั้งจากภาครัฐและเอกชน อาทิ สภาวิศวกร วิศวกร ทั่วประเทศ คณบดีมหาวิทยาลัยทั่วประเทศ ภาคอุตสาหกรรมต่างๆ รวมทั้งนิสิต นักศึกษา และประชาชนทั่วไป เข้าร่วมรับฟังแนวทางจำนวนมาก

การจัดเสวนา 20 ปี สภาวิศวกรไทยในยุคดิสรัปชั่น มีวัตถุประสงค์เพื่อแสดงจุดยืนของแต่ละองค์กรในการกำหนดทิศทางการปฏิรูปวงการวิศวกรไทยเพื่อยกระดับสู่ภาคอุตสาหกรรมในอนาคต และเพื่อให้ทุกฝ่ายตระหนักถึงความรวดเร็วและการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีที่มีความจำเป็นและให้ทันต่อเหตุการณ์สำหรับวางแผนการดำเนินธุรกิจ รวมถึงเพื่อให้เกิดแนวทางการวางแผนงานการติดตามและการใช้เทคโนโลยีข้อมูลข่าวสารอย่างกว้างขวางในโลกปัจจุบัน โดยต้องการให้สภาวิศวกรเข้าไปมีส่วนรับผิดชอบต่อสังคมและประเทศชาติในทุกมิติที่เกี่ยวกับงานด้านวิศวกรรม เพื่อให้เกิดประโยชน์สามารถนำไปเป็นหลักสูตรการเรียนการสอนแก่มหาวิทยาลัยให้ผลิตบัณฑิตที่เก่งทั้งวิชาการและมีความเป็นมืออาชีพทางด้านวิศวกรไทย

ศ. ดร.สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์
ศ. ดร.สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์

ศ. ดร.สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ นายกสภาวิศวกร กล่าวเปิดปาฐกถา เรื่อง “การเรียนรู้ในโลกยุคดิสรัปชั่น” โดยกล่าวว่า “สิ่งที่ต้องเดินหน้าและวางแนวทางต่อไปคือ จะผลักดันให้สภาวิศวกรเป็นองค์กรที่เชื่อมความรู้ทางด้านวิชาการไปยังมหาวิทยาลัย รวมถึงภาคเอกชนในอุตสาหกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวกับวิศวกรและจะดำเนินการให้วิชาชีพวิศวกรไทยสามารถเกิดการแข่งขันสู่ระดับเวทีโลกให้ได้ ดังนั้น ทิศทางของวิศวกรจะไม่เพียงแค่มีทักษะความรู้ทางวิชาการด้านวิศวกรเท่านั้น แต่จะต้องมีความคิดสร้างสรรค์ สามารถประกอบวิชาชีพที่ช่วยยกระดับประเทศในยุคโลกดิสรัปชั่นได้ เพราะปัจจุบันทุกคนทุกเพศทุกวัยใช้อุปกรณ์ดิจิทัลและอยู่ในโลกออนไลน์กันหมด ซึ่งวิศวกรทุกสาขาจะต้องมีความรู้และความเข้าใจในการใช้เครื่องมือดิจิทัลให้เกิดประโยชน์ต่อวิชาชีพด้วย ขณะนี้สภาวิศวกรได้เร่งผลักดันแผนปฏิรูปตั้งแต่ทักษะความรู้หลักสูตรก่อนเข้ามหาวิทยาลัย และจะส่งเสริมประชาสัมพันธ์วิชาชีพด้านวิศวกรร่วมกับมหาวิทยาลัยเข้าไปในหลักสูตรการเรียนการสอน เช่น ทักษะด้านวิศวกร ด้านสังคม ด้านการบริหาร ซึ่งจะทำให้ครอบคลุมทุกๆ ด้าน เพื่อบัณทิตที่จบออกมาแล้วจะมีประสิทธิภาพสามารถแข่งขันยกระดับสู้กับวิศวกรอื่นๆ ทั่วโลกได้อย่างมีคุณภาพ ไม่แพ้วิศวกรใดในโลก ดังนั้น อาชีพวิศวกรจึงถือเป็นอาชีพสำคัญที่เปลี่ยนโลกได้ เปลี่ยนประเทศไทยได้ในแง่ของการช่วยทำให้เศรษฐกิจของประเทศดีขึ้น ประชาชนจะมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นและทันเท่าโลกแห่งเทคโนโลยี”

ศ. คลินิกเกียรติคุณ นพ.อุดม คชินทร
ศ. คลินิกเกียรติคุณ นพ.อุดม คชินทร

ทางด้าน ศ. คลินิกเกียรติคุณ นพ.อุดม คชินทร อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวปาฐกถา เรื่อง “การเรียนรู้ในโลกยุคดิสรัปชั่น” ว่า “โลกอนาคตในยุคดิจิทัลข้อมูลการสื่อสารทุกอย่างจะรวมอยู่ในเทคโนโลยีดิจิทัลหรือโทรศัพท์มือถือทั้งหมด และจะเข้ามาทดแทนคอมพิวเตอร์เดสท็อปและไอแพด แม้แต่ตลาดแรงงานกำลังจะหายไปด้วยเทคโนโลยี ดังนั้น สิ่งที่อยากเสนอไปยังมหาวิทยาลัยในฐานะที่เป็นสถาบันการศึกษาจะต้องเดินควบคู่ไปกับสภาวิศวกรและร่วมมือกันทุกฝ่าย เพราะมหาวิทยาลัยเป็นสถาบันการศึกษาที่เป็นต้นน้ำจะต้องผลิตบัณฑิตให้มีคุณภาพด้านวิศวกร สำหรับในส่วนของสภาวิศวกรนั้นก็เป็นองค์กรทางวิชาชีพที่เป็นปลายน้ำจึงต้องปรับตัวปรับเปลี่ยนให้ทันต่อยุคดิสรัปชั่นให้ได้โดยเร็วที่สุด และการประกอบวิชาชีพของสภาวิศวกรต้องมองไปยังผ้บู ริโภคหรือประชาชนผู้ได้รับประโยชน์ และต้องส่งเสริมสนับสนุนให้วิศวกรไทยมีคุณภาพ มีความเชี่ยวชาญ และเป็นมืออาชีพที่จะช่วยยกระดับประเทศในทุกๆ ด้าน เพราะวิศวกร ถือเป็นวิชาชีพหนึ่งที่ทำให้ประเทศเกิดการแข่งขันสามารถยกระดับเศรษฐกิจของประเทศได้”

ดร.สุทธิพงษ์ สุวรรณสุข
ดร.สุทธิพงษ์ สุวรรณสุข

ขณะที่ ดร.สุทธิพงษ์ สุวรรณสุข ผู้ทรงคุณวุฒิ และกรรมการสถาบันเสริมสร้างขีดความสามารถมนุษย์สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย กล่าวว่า “ดิสรัปชั่นกำลังจะเป็นโอกาสของประเทศเล็กๆ อย่างประเทศไทยของเรา ดังนั้น สภาวิศวกรจะต้องปรับเปลี่ยนโลกใหม่โดยนำเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาสนับสนุนการทำงานของวิศวกรและเอ็นจิเนีย เพราะขณะนี้ทุกวงการทั้งภาครัฐและเอกชนได้นำเทคโนโลยีแอปพลิเคชันต่างๆ เข้ามาส่งเสริมการทำงานที่เป็นไปอย่างมีคุณภาพ รวดเร็ว สามารถตอบโจทย์ได้ในทุกแง่มุมของการดำเนินธุรกิจ ซึ่งวิชาชีพวิศวกรก็เป็นอีกหนึ่งวิชาชีพที่มีส่วนสำคัญในการทำให้ประเทศเจริญก้าวหน้า สำหรับมหาวิทยาลัยต่างๆ นั้น ต้องขับเคลื่อนเปลี่ยนแปลงเดินหน้าไปให้ทันเทคโนโลยีเช่นเดียวกัน โดยคณะที่เกี่ยวกับวิศวกรรมจะต้องหันกลับมาทบทวนหลักสูตรการเรียนการสอนใหม่ เพื่อผลิตบัณฑิตเป็นวิศวกรที่มีประสิทธิภาพทันต่อโลกดิสรัปชั่นและนี่คือน่าจะเป็นจุดเปลี่ยนทางด้านวิศวกรไทย”

ศ. ดร.สุพจน์ เตชวรสินสกุล
ศ. ดร.สุพจน์ เตชวรสินสกุล

ศ. ดร.สุพจน์ เตชวรสินสกุล คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า “ในอดีตภาคอุตสาหกรรมมีความต้องการตลาดแรงงานค่อนข้างสูงและไม่เพียงพอ แต่ปัจจุบันโลกเปลี่ยนแปลงไปด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลแล้ว ดังนั้น การเรียนการสอนจะต้องมีการเปลี่ยนแปลงและต้องกำหนดวิชาหลักสูตรกันใหม่และในฐานะมหาวิทยาลัย สิ่งสำคัญที่คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อยากจะขับเคลื่อนก็คือผลิตบัณฑิตด้านวิศวกรไทยให้มีขีดความสามารถในการแข่งขันได้ โดยมหาวิทยาลัยกำลังมีการปรับและกำหนดวิชาหลักสูตรด้านวิศวกรรมและอุตสาหกรรมวงการไฟฟ้าใหม่ให้มีความทันสมัยกับเทคโนโลยีมากขึ้น และในขณะเดียวกันจะปรับในส่วนการเรียนของนักศึกษาที่ไม่ใช่แค่มาเรียนทางทฤษฎีในห้องเรียนเพียงอย่างเดียว แต่สามารถใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในทางปฏิบัติงานจริง โดยมหาวิทยาลัยจะร่วมขับเคลื่อนไปพร้อมกับภาคอุตสาหกรรมภาคการบริการในด้านวิชาชีพวิศวกร เป็นการเพิ่มทักษะวิชาชีพวิศวกรให้สามารถรองรับภาคอุตสาหกรรมต่างๆ และจะตอบโจทย์ประเทศไทยในอนาคต แม้เทคโนโลยีจะเข้ามาทดแทนแรงงาน แต่มหาวิทยาลัยจะทำให้บัณทิตวิศวกรสามารถรู้ทันเทคโนโลยีและใช้เทคโนโลยีได้อย่างมีประสิทธิภาพ”

ดร.ธเนศ วีระศิริ
ดร.ธเนศ วีระศิริ

ปิดท้ายการเสวนาของ ดร.ธเนศ วีระศิริ นายกวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ กล่าวว่า “ยุคดิสรัปชั่นนี้ บุคลากรด้านวิศวกรจะต้องเรียนรู้ปรับตัวตลอดเวลา ในส่วนของสภาวิศวกรก็ต้องส่งเสริมสนับสนุนให้นำเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาประยุกต์ใช้เกี่ยวกับงานด้านวิศวกร นอกจากนี้ สภาวิศวกรจะต้องเดินหน้าไปพร้อมๆ กับมหาวิทยาลัยเพื่อการแลกเปลี่ยนทฤษฎีความรู้ระหว่างกัน ซึ่งจะเป็นอีกแนวทางในการส่งเสริมทักษะทั้งให้แก่วิศวกรและนิสิตนักศึกษาที่เรียนคณะวิศวกรรม แต่สิ่งสำคัญที่ไม่เพียงแค่การส่งเสริมเรื่องของคุณภาพวิชาชีพวิศวกรเท่านั้น แต่องค์กรจะต้องเติมเต็มเรื่องของจริยธรรมเข้าไปในวิชาชีพวิศวกรด้วย เพื่อร่วมกันแก้ปัญหาและพัฒนาประเทศไปในทิศทางเดียวกันได้”

ทั้งนี้ ศ. ดร.สุชัชวีร์ ได้ประเมินตัวเลขจำนวนของนักศึกษาที่เข้าเรียนทางด้านคณะวิศวกรรมศาสตร์ในประเทศไทยมีประมาณ 5% จากทุกสาขาวิชา ซึ่งถือว่ามีปริมาณที่น้อยมากสำหรับบัณฑิตที่จบออกมา จึงทำให้บุคลากรด้านวิศวกรมีไม่ถึง 1% หรือคิดเฉลี่ยเป็นตัวเลขผู้ประกอบวิชาชีพด้านวิศวกรไทยมีจำนวนเพียง 100 คน เรียกได้ว่าอยู่ในภาวะวิกฤติ ทั้งที่ประเทศไทยกำลังยกระดับเข้าสู่ยุคอุตสาหกรรม ขีดความสามารถและรายได้สูงขึ้นตามนโยบายไทยแลนด์ 4.0 ซึ่งแน่นอนบทบาทหน้าที่ของสภาวิศวกรจึงต้องเร่งผลักดันให้สร้างวิศวกรไทยที่มีคุณภาพ ขณะที่มหาวิทยาลัยก็ต้องส่งเสริมและสนับสนุนทำให้นักศึกษามีความสนใจอยากเรียนคณะวิศวกรรมเพื่อไปเป็นผ้ปู ระกอบวิชาชีพด้านวิศวกรในอนาคตเพื่อให้ผลิตบัณฑิตและมีปริมาณมากเพียงพอต่อการพัฒนาประเทศ

อย่างไรก็ดี ในส่วนของคณะกรรมการสภาวิศวกรขณะนี้มีการปรับเปลี่ยนยกระดับอีกขั้นของวิชาชีพวิศวกร โดยได้ริเริ่มวางนโยบายกำหนดแนวทางการดำเนินงานเพื่อสร้างการมีส่วนร่วมให้เกิดการปฏิรูปวงการวิศวกรรมไทย เพื่อการเปลี่ยนแปลงการทำงานและพัฒนาประเทศให้มีความชัดเจนและทันต่อสถานการณ์ดิจิทัล ซึ่งการเสวนาในครั้งนี้จะเกิดจากแรงผลักดันของคนร่นุ ใหม่ที่ไดมี้ส่วนร่วมกนั กำหนดทิศทางด้านวิศวกรให้เกิดการเปลี่ยนแปลงรองรับยุคดิสรัปชั่นได้ในอนาคต


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เอง โดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save