ไทยพร้อมเป็นฮับ LNG ในภูมิภาค แนะเร่งแก้ไขกฏหมาย ลดอุปสรรค ดึงความเชื่อมั่นต่างชาติ


ไทยเป็นประเทศที่น่าสนใจในด้านพลังงานในสายตาต่างชาติ หลังนโยบายรัฐเปิดเสรีก๊าซฯ แนะเร่งแก้ระเบียบเพื่อลดอุปสรรคในการลงทุน มั่นใจไทยมีศักยภาพพอในการเป็นฮับ LNG/LPG ในภูมิภาค เพราะมีความได้เปรียบทั้งในด้านตลาดและการขนส่ง

จากการจัดงานสัมมนา “การพัฒนาศักยภาพการซื้อขาย LNG และ PNG ในเอเชีย 2019” ภายใต้การสนับสนุนจากของกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ กระทรวงพลังงาน เมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา นายธนาเดช ศิลปวิศวกุล ประธานการจัดงานสัมมนาฯ เปิดเผย ขณะนี้ไทยเป็นประเทศที่น่าสนใจในการลงทุนด้านพลังงานในสายตานักลงทุนต่างชาติ หลังภาครัฐมีนโยบายเปิดเสรีด้านพลังงาน ทั้งในส่วนน้ำมันและก๊าซฯ โดยเมื่อปีที่ผ่านมา การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เปิดประมูลนำเข้าก๊าซธรรมชาติเหลว (LNG) 1.5 ล้านตัน/ปี ก็ได้รับความสนใจจากนักลงเป็นอย่างมาก และในปี 2579 ไทยจะนำเข้า LNG สูงถึงปีละ 24 ล้านตัน ซึ่งนับเป็นการนำเข้าที่มากถึง 71% ของปริมาณการใช้ก๊าซฯในประเทศ

ประเทศไทยจึงมีศักยภาพมากในการที่จะเป็นศูนย์กลางการค้าก๊าซ LNG/LPG ในภูมิภาค เนื่องจากไทยมีโครงสร้างพื้นฐานทั้งคลังเก็บ LNG ของ ปตท. กว่า 10 ล้านตัน และท่อส่งก๊าซฯ รวมทั้งมีตลาดการใช้ก๊าซ LNG ในประเทศที่มากที่สุด เมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ ในอาเซียน และนโยบาย One Beit On Road หรือ OBIR ของจีนยังสร้างความได้เปรียบในด้านการขนส่งให้ไทยด้วย แต่ก็มีประเทศอื่นๆ ในอาเซียน ทั้งมาเลเซียและอินโดนีเซียที่ต้องการเป็นฮับ LNG เช่นกัน ซึ่งลักษณะภูมิประเทศของทั้ง 2 ประเทศเป็นเกาะ ดังนั้นจึงมีขอเสียเปรียบไทยในเรื่องต้นทุนการขนส่ง ที่จะมีสูงกว่าไทย แต่มาเลเซียก็มีข้อได้เปรียบไทย คือมีแหล่งก๊าซฯ ขนาดใหญ่เป็นของตนเอง

ดังนั้นเพื่อดันไทยให้เป็นฮับ LNG รัฐบาลต้องมีการออกกฏระเบียบที่ชัดเจน และสอดรับกับนโยบายเสรีก๊าซฯ เพื่อให้นักลงทุนมีความมั่นใจและกล้าเข้ามาลงทุนในประเทศไทย ทั้งนี้ปัจจุบันก๊าซ LNG มีราคาค่อนข้างต่ำ บวกกับกระแสรักษ์โลกทำให้หลายประเทศหันมาส่งเสริงการใช้เชื้อเพลิงสะอาดมากขึ้น ทำให้ LNG กลายเป็นเชื้อเพลิงหลักของโลก จำเป็นต้องมีการเจรจาซื้อ LND ระยะยาวในเงื่อนไขที่ดี เพื่อให้ไทยมีต้นทุน LNG ในราคาถูกใช้ในอนาคต

ขณะที่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เปิดเผยถึงความคืบหน้าการออกประกาศเชิญชวนให้ผู้ผลิตหรือผู้ค้าก๊าซธรรมชาติเหลว (LNG) ในตลาดสากล เข้าร่วมการประมูลจัดการ LNG ในปริมาณ 0.8-1.5 ล้านตันให้กับ กฟผ. ล่าสุดได้ประกาศรายชื่อผู้ผ่านคุณสมบัติเบื้องต้น (PQ) แล้วจำนวน 32 ราย จากที่มีผู้ยื่นเอกสารแสดงความสนใจ (REOI) และจัดส่งข้อมูลที่แสดงถึงความพร้อมในการจัดส่ง LNG จำนวน 43 ราย โดยเปิดให้ยื่นเอกสารเงื่อนไขหลักเกณฑ์การประมูล (TOR) ในเดือนเมษายนนี้ และคาดว่าจะประกาศผลผู้ได้รับสิทธิ์จัดหา LNG ได้ในช่วงเดือนมิถุนายนนี้ พร้อมเริ่มนำเข้า LNG ล็อคแรกได้ตามแผนภายในปีนี้

สำหรับปริมาณการใช้พลังงานในเอเชีย มีการใช้มากที่สุดในโลกคิดเป็น 42.50% ของการใช้พลังงานทั้งหมดของโลก และมีอัตราการใช้งานที่เพิ่มขึ้นต่อปีเป็นอันดับ 2 ของโลก แต่กลับมีการใช้ก๊าซธรรมชาติเพียงแค่ 11.5% เท่านั้น เมื่อเทียบกับปริมาณการใช้พลังงานทั้งหมด ถือเป็นอัตราส่วนการใช้พลังงานก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิงที่ต่ำที่สุดในโลก เมื่อเทียบกับทวีปอื่นๆ โดยในส่วนของประเทศไทยนั้น มีความต้องการใช้พลังงานจากก๊าซธรรมชาติเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 3.6% ต่อปี

สำหรับ LPG พบว่าปริมาณการผลิตกลับลดลงเฉลี่ยปีละ 2.7% ซึ่งสวนทางกับความต้องการใช้งาน ทำให้ประเทศไทยมีแนวโน้มที่จะต้องนำเข้าก๊าซธรรมชาติเพิ่มขึ้นทุกปี ดังนั้นการที่ประเทศไทยจำเป็นต้องจัดหาก๊าซ LNG และ PNG เพื่อให้เพียงพอต่อความต้องการใช้งาน จึงเป็นเรื่องสำคัญมากในระดับชาติและภูมิภาค โดยจากนโยบายพลังงาน 4.0 นั้นจะผลักดันให้ไทยเป็นศูนย์กลางหรือฮับด้านพลังงานของภูมิภาค และด้วยการปรับเปลี่ยนด้านการขนส่งก๊าซเป็นประเทศแรกๆ ของภูมิภาค จะทำให้ไทยเป็นตัวอย่างและเป็นศูนย์กลางทางการค้า LNG และ LPG ให้กับประเทศเพื่อนบ้าน อย่าง ลาว พม่า กัมพูชา และเวียดนาม


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เอง โดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save