ไทยออยล์ รุกธุรกิจโอเลฟินส์ และพร้อมก้าวสู่องค์กร 100 ปี อย่างยั่งยืน


ความต้องการใช้น้ำมันสำเร็จรูปในประเทศที่มีเพิ่มมากขึ้นต่อเนื่องยังคงเป็นปัจจัยบวกต่อสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง ทำให้มีการการแข่งขันที่รุนแรงและค่าการตลาดที่เพิ่มสูงขึ้นตามเศรษฐกิจโลก แต่ถึงอย่างนั้นไทยออยล์มุ่งมั่นเติบโตสู่ความเป็นเลิศโดยยึดหลักธรรมาภิบาล พร้อมรับฟังเสียงทุกเสียงเพื่อนำมาพัฒนาและสร้างการเติบโตร่วมกัน ภายใต้การจัดการสิ่งแวดล้อมแบบบูรณาการเพื่อสร้างอนาคตและสังคมที่ยั่งยืน พร้อมมีกลยุทธ์ด้านความยั่งยืนของเครือไทยออยล์ ที่เสริมสร้างการดูแลสิ่งแวดล้อม การพัฒนาและสร้างคุณค่าร่วมกันกับคู่ค้า ลูกค้าทั้งชุมชนและสังคม เพื่อการเติบโตไปด้วยกันอย่างยั่งยืน ตลอดจนการเสริมสร้างให้เกิดการกำกับดูแลกิจการที่ดีและโปร่งใส

วิรัตน์ เอื้อนฤมิต ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไทยออยล์ กำจัด (มหาชน) ได้ให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับการดำเนินธุรกิจของไทยออยล์ว่า

วิรัตน์ เอื้อนฤมิต ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไทยออยล์ กำจัด (มหาชน)

“บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) ผู้ประกอบธุรกิจการกลั่นและจำหน่ายน้ำมันปิโตรเลียมที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ประกาศเข้าร่วมลงทุนในบริษัท PT Chandra Asri Petrochemical Tbk (CAP) ผู้ผลิตสารโอเลฟินส์รายใหญ่ ของประเทศอินโดนีเซีย โดยมี วิรัตน์ เอื้อนฤมิต ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไทยออยล์ กำจัด (มหาชน) ให้ความรู้เกี่ยวกับการเข้าลงทุนในธุรกิจปิโตรเคมีสายโอเลฟินส์ ที่จะทำให้ไทยออยล์มีโครงสร้างธุรกิจที่ครบวงจรด้ายการบูรณาการทั้งธุรกิจการกลั่นน้ำมันและปิโตรเคมีสายอโรเมติกส์และโอเลฟินส์”

พัฒนาอย่างต่อเนื่องจากโรงกลั่นเล็ก ๆ สู่ผู้จำหน่ายและกลั่นน้ำมันปิโตรเลียมรายใหญ่ของไทย
ไทยออยล์ เป็นผู้ประกอบธุรกิจการกลั่นและจำหน่ายน้ำมันปิโตรเลียมที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย และเป็นโรงกลั่นที่มีประสิทธิภาพสูงสุดแห่งหนึ่งในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ซึ่งก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2504 โดยมีธุรกิจหลักคือ การกลั่นน้ำมันปิโตรเลียม ด้วยการพัฒนาอย่างต่อเนื่องมาเกือบครึ่งศตวรรษ ไทยออยล์ก้าวจากโรงกลั่นเล็ก ๆ ขนาด 35,000 บาร์เรลต่อวัน ปัจจุบันมีกำลังการผลิต 275,000 บาร์เรลต่อวัน

“โรงกลั่นนํ้ามันไทยออยล์ได้รับการออกแบบให้สามารถสร้างมูลค่าสูงสุดจากระบบการผลิตได้อย่างเต็มที่ และด้วยเหตุที่เป็นโรงกลั่น Complex Refinery ซึ่งสามารถผลิตผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมสำเร็จรูปที่มีคุณค่าสูงในสัดส่วนที่สูงมากที่สุดแห่งหนึ่งในเอเชียแปซิฟิก โดยมีความยืดหยุ่นสูงในการใช้วัตถุดิบหรือนํ้ามันดิบจากแหล่งต่าง ๆ สามารถปรับเปลี่ยนระดับการผลิตผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมสำเร็จรูปแต่ละชนิดให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดภายในประเทศ”

ก้าวสำคัญของไทยออยล์ในการเดินหน้าสู่อุตสาหกรรมปิโตรเคมี สายโอเลฟินส์
การลงทุนในครั้งนี้นับเป็นก้าวสำคัญของไทยออยล์ในการเดินหน้าสู่อุตสาหกรรมปิโตรเคมีสายโอเลฟินส์ ไทยออยล์ จากเดิมที่มีธุรกิจสายอะโรเมติกส์อยู่แล้ว ซึ่งทำให้โครงสร้างธุรกิจของไทยออยล์มีความสมบูรณ์ครอบคลุมธุรกิจปิโตรเลียมและปิโตรเคมีอย่างครบวงจร โดยสายโอเลฟินส์มีข้อได้เปรียบที่สามารถนำไปเป็นสารตั้งต้นของอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ชั้นปลายต่าง ๆ ที่มีความหลากหลายกว่าสายอะโรเมติกส์

ซึ่งการร่วมงานกับ PT Chandra Asri Petrochemical Tbk (CAP) ที่เป็นผู้ประกอบธุรกิจด้านปิโตรเคมีชั้นนำรายใหญ่ที่สุดในสาธารณรับอินโดนีเซีย ที่ดำเนินธุรกิจมาอย่างยาวนานกว่า 29 ปี CAP เป็นผู้ดำเนินกิจการโรงงานแยกแนฟทา เพียงแห่งเดียวของสาธารณรัฐินโดนีเซีย ซึ่งมีผลิตภัณฑ์ที่ครอบคลุมตั้งแต่ผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ

เนื่องจากประเทศอินโดนีเซียเป็นประเทศที่มีความต้องการผลิตภัณฑ์โอเลฟินส์ในปริมาณสูง มีแนวโน้มเติบโตดีในอนาคต และยังต้องพึ่งพาการนำเข้าผลิตภัณฑ์จากต่างประเทศ โดย CAP เป็นผู้ผลิตสารโอเลฟินส์รายใหญ่ที่ประเทศอินโดนีเซีย และเป็นผู้ผลิตปิโตรเคมีชั้นนำรายใหญ่ที่สุดในประเทศอินโดนีเซีย อีกทั้งยังเป็นผู้ดำเนินกิจการโรงงานแยกแนฟทา (Naphtha Cracker) เพียงแห่งเดียวของประเทศอินโดนีเซีย และมีกำลังการผลิตเอทิลีน (ethylene) ประมาณ 900,000 เมตริกตันต่อปี และพอลิโอเลฟินส์ (Polyolefins) ที่มีคุณภาพสูง อีกทั้งยังเป็นผู้ผลิตสไตรีนโมโนเมอร์ (SM) และบิวทาไดอีน (BD) และมีแผนดำเนินการขยายกำลังการผลิตและก่อสร้างโรงงานปิโตรเคมีแห่งที่ 2 (CAP 2) ซึ่งจะทำให้มีกำลังการผลิตเพิ่มขึ้นจากเดิมอีกเท่าตัว ในปี พ.ศ. 2569 พร้อมกันนี้ CAP มีแผนขยายกำลังการผลิตและก่อสร้างโรงงานปิโตรเคมีแห่งที่ 2 เพื่อรองรับปริมาณความต้องการผลิตภัณฑ์โอเลฟินส์ที่สูงขึ้นของประเทศ

นอกจากนี้ยังเป็นการการขยายความร่วมมือทางการค้าระหว่าง ไทยออยล์ กับ CAP โดยไทยออยล์ได้เข้าทำสัญญา เพื่อส่งผลิตภัณฑ์จากโรงกลั่นเพื่อใช้เป็นวัตถุดิบให้กับ CAP เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม และยังได้เข้าทำสัญญาเพื่อจำหน่ายพอลิเมอร์เรซิน (Polymer Resin) และผลิตภัณฑ์ในรูปของเหลวอื่น ๆ ของ CAP อีกด้วย

การวางแผนการเงินเพื่อการบริหารจัดการได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ
บริษัทฯ ได้ตั้งเป้าหมายจะมีสัดส่วนจากส่วนแบ่งกำไรในปี พ.ศ. 2573 มาจากธุรกิจโรงกลั่นน้ำมัน (ปิโตรเลียม) อยู่ที่ประมาณ 40% ปิโตรเคมีและ Hight Value Product 40% ธุรกิจไฟฟ้า 10% และธุรกิจอื่น ๆ อีก 10%

“สำหรับกระบวนการชำระค่าหุ้น จะแบ่งการชำระเงินเป็นงวด โดยงวดแรก จะสามารถดำเนินการจ่ายเงินได้ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2564 เป็นจำนวน 913 ล้านเหรียญ หรือคิดเป็นสัดส่วนการถือหุ้นที่ 15% หลังจากนั้นจะรอให้มีการตัดสินใจการลงทุนการขยายกำลังการผลิตและก่อสร้างโรงงานปิโตรเคมีแห่งที่ 2 (CAP 2) ซึ่งคาดว่าจะสามารถตัดสินใจได้ในช่วงกลางปี 65 บริษัทฯ ก็จะมีการดำเนินการจ่ายเงินในงวดที่ 2 อีก 270 ล้านเหรียญ เพื่อเพิ่มสัดส่วนการถือหุ้นเป็น 15.38% โดยเงินลงทุนทั้งหมดของ TOP จะถูกนำไปพัฒนาและก่อสร้างโครงการ CAP 2 ด้วยเช่นกัน”

พร้อมกันนี้ภายหลังจากการจ่ายเงินงวดแรกในเดือนกันยายน ดังกล่าวจะส่งผลให้บริษัทฯ สามารถรับรู้กำไรเข้ามา คาดว่าจะมีการบันทึกส่วนแบ่งกำไรจากการลงทุนใน CAP ได้ในไตรมาส 4/64 เป็นต้นไป ซึ่งในช่วงเริ่มต้นคาดจะได้รับกำไรเข้ามาราว 40-50 ล้านเหรียญต่อปี ซึ่งเป็นการคำนวณจากกำไรในไตรมาส 1/64 ของ CAP อยู่ที่ประมาณ 84 ล้านเหรียญ ขณะที่หากมีการเดินเครื่องในโครงการ CAP 2 ในปี 2569 ก็จะส่งผลทำให้มีกำลังการผลิตเพิ่มขึ้น 2 เท่า และจะส่งผลดีต่อกำไรที่เพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า ตามไปด้วย โดย CAP 1 มีกำไรอยู่ที่ 165 ล้านเหรียญ หรือคิดเป็น 5,000 ล้านบาท ในปีที่ผ่านมา

ด้านแผนการจัดหาเงินทุน (Funding Plan) ลำดับแรก บริษัทฯ จะใช้เงินกู้ระยะสั้น (Bridging Loans) ระยะเวลาไม่เกิน 18 เดือน อัตราดอกเบี้ยเทียบเคียง กับตลาด (Marketrate) ไม่เกิน 2.5% ต่อปี เพื่อนำไปชำระค่าหุ้นก่อน โดยได้รับการสนับสนุนจากสถาบันการเงิน และบมจ.ปตท. (PTT) ประมาณ 48% ส่วนที่สองจะมาจากการขายหุ้นบมจ.โกลบอล เพาเวอร์ ซินเนอร์ยี่ (GPSC) ในจำนวนไม่เกิน 10.8% ของทุนจดทะเบียนชำระแล้วของ GPSC ให้แก่ PTT คาดจะได้รับเงินเข้ามาจำนวน 20,000 ล้านบาท และการเพิ่มทุนไม่เกิน 10,000 ล้านบาท อีกทั้งบริษัทฯ ยังสามารถออกหุ้นกู้หรือกู้เงินระยะยาวจากสถาบันการเงินได้ รวมถึงปัจจุบันบริษัทฯ ยังมีกระแสเงินสดในมือกว่า 1,000 ล้านเหรียญ

อย่างไรก็ตามกระบวนการเพิ่มทุนและการขายหุ้น GPSC คาดจะดำเนินการเสร็จสิ้นได้ภายในครึ่งปีแรกของปี 65 เนื่องจากการดำเนินการดังกล่าวต้องขออนุมัติจากที่ประชุมผู้ถือหุ้นก่อน โดยคาดว่ากระบวนการจะเริ่มต้นขึ้นตั้งแต่ช่วงเดือนสิงหาคม.เป็นต้นไป พร้อมยอมรับว่าการเพิ่มทุนของบริษัทในรอบนี้จะส่งผลกระทบต่อผู้ถือหุ้นเดิมถูก Dilute ประมาณ 10%

วิรัตน์ กล่าวเพิ่มเติมว่า มองว่าการซื้อหุ้น CAP ในครั้งนี้ได้ราคาที่ต่ำกว่าราคาในตลาดหุ้นอินโดนีเซียโดยประมาณ 20% เพราะเป็นหุ้นที่ออกใหม่ให้แก่ผู้ถือหุ้นเดิมและบริษัทได้รับสิทธิเพิ่มทุนในราคาเดียวกับเอสซีจี เคมิคอลส์ ที่ซื้อหุ้นเพื่อรักษาสัดส่วนการถือหุ้นเอาไว้ รวมถึงบริษัทยังได้สิทธิในการขายผลิตภัณฑ์ให้แก่ CAP และยังสามารถส่งกรรมการเข้าไปนั่งในบอร์ดได้ 3 คน จากทั้งหมด 15 คน และบริษัทฯ มีความสนใจที่จะเข้าไปถือหุ้นใน CAP เพิ่มเติม ซึ่งก็อยู่ระหว่างการเจรจากับ CAP ในการเพิ่มสัดส่วนการลงทุน

ระบบการบริหารจัดการที่มุ่งสู่ความเป็นเลิศ
ไทยออยล์มีระบบการบริหารจัดการเป็นกลุ่มที่มีการเชื่อมโยงธุรกิจ ทั้งธุรกิจการกลั่นน้ำมัน ธุรกิจปิโตรเคมีและธุรกิจน้ำมันหล่อลื่นพื้นฐาน โดยร่วมวางแผนการผลิตก่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดและสามารถผลิตผลิตภัณฑ์ที่มีต้นทุนต่ำ ขณะเดียวกันมีคุณภาพสูงในระดับโรงกลั่นชั้นนำ (Top quartile) ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ทำให้ได้เปรียบเชิงต้นทุนการผลิต เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน

ดังนั้น ไทยออยล์ มุ่งเน้นการเพิ่มขีดความสามารถขององค์กรให้สอดคล้องกับแนวโน้มของอุตสาหกรรมผลิตน้ำมันและก๊าซในปัจจุบันและเตรียมความพร้อรับมือสำหรับการเปลี่ยนแปลงในอนาคต รวมถึงแสวงหาโอกาสทางธุรกิจในภาวะที่มีการแข่งขันทางธุรกิจอย่างเข้มข้น โดยไทยออยล์ประยุกต์ใช้แนวคิดและกระบวนการผลิตเพื่อสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม อาทิพลังงานทางเลือกและพลังงานทดแทน ผนวกกับการเพิ่มขีดความสามารถของบุคลากรเพื่อการดำเนินธุรกิจและการเติบโตอย่างยั่งยืน

 


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เอง โดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save