ปฏิบัติการนวัตกรรมเพื่อสังคม 2019 เพื่อแก้ไขปัญหาสังคมอย่างยั่งยืน


เมื่อเร็วๆ นี้ ดิ อีโคโนมิสต์ อีเว้นส์ ได้จัดงานประชุม “ปฏิบัติการนวัตกรรมเพื่อสังคม 2562 (Social Innovation in Action 2019)” โดยเชิญผู้นำจากทั่วภูมิภาคเข้าร่วมงาน การประชุมครั้งนี้มีเป้าหมายเพื่อหารือแบบเจาะลึกและหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาสังคม และอนาคตของนวัตกรรมเพื่อสังคมในเอเชีย

ปฏิบัติการนวัตกรรมเพื่อสังคม 2019 เพื่อแก้ไขปัญหาสังคมอย่างยั่งยืน

การประชุมสุดยอดผู้นำในครั้งนี้มีการหารือว่า เอเชียสามารถเป็นผู้นำในการใช้เทคโนโลยีและข้อมูลมาแก้ปัญหาความท้าทายทางสังคมที่มีมาอย่างยาวนานได้หรือไม่ โดยมี ไซมอน ค็อกซ์บรรณาธิการด้านตลาดเกิดใหม่ของ ดิ อีโคโนมิสต์ (The Economist) และ ชาลส์ รอส บรรณาธิการบริหาร ผู้นำทางความคิดด้านเอเชียของ ดิ อีโคโนมิสต์ อินเทลลิเจนซ์ ยูนิต เป็นผู้ดำเนินรายการ

การประชุมในครั้งนี้เริ่มต้นด้วยการอภิปรายถึงวิธีการสร้างระบบนิเวศนวัตกรรมเพื่อสังคม โดย ดร.พันธุ์อาจ ชัยรัตน์ ผู้อำนวยการสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) กล่าวว่า “รัฐบาลไทยกำลังมองหาวิธีการในการสร้างนวัตกรรมเพื่อสังคมอย่างเร่งด่วน เพราะในขณะนี้มีนักลงทุนเพื่อสังคมในประเทศไทยมีความกระตือรือร้นในการลงทุนโครงการเกี่ยวกับนวัตกรรมเพื่อสังคมมากขึ้น”

Social Innovation in Action 2019

ดร.พันธ์อาจ กล่าวเพิ่มเติมว่า การปฏิบัติการนวัตกรรมเพื่อสังคมนั้น ขึ้นอยู่กับว่าเราจะให้คำนิยามและคำจำกัดความระบบนิเวศนวัตกรรมเพื่อสังคมอย่างไร ตัวอย่างเช่น ประเทศไทย ซึ่งมีวิธีการนวัตกรรมเพื่อสังคมที่แตกต่างออกไปจากประเทศอื่นๆ เพราะได้ดำเนินรอยตามพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ในการยึดแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งคนทุกชั้นของพีระมิดจะได้มีโอกาสในการสร้างสรรค์นวัตกรรม และเข้าถึงนวัตกรรม

พันธุ์อาจ ชัยรัตน์
ดร.พันธุ์อาจ ชัยรัตน์

อนึ่ง สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ เป็นสำนักงานที่เป็นผู้นำในด้านนวัตกรรมเพื่อสังคม โดยเริ่มตั้งแต่การให้คำนิยาม และการทำงานเพื่อพัฒนาระบบนิเวศทางด้านนวัตกรรมเพื่อสังคม และทำงานร่วมกับกลุ่มคนที่ทำธุรกิจเพื่อสังคม

ประเด็นที่ 2 คือ เราจะพัฒนาระบบนิเวศเหล่านั้นอย่างไร และเป็นที่มาขององค์กรเพื่อสังคม (Social Enterprise) โดยเมื่อไม่กี่เดือนที่ผ่านมา ทางสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ ได้จัดตั้งกลุ่ม Social Enterprise ซึ่งเป็นกลุ่มองค์กรที่พัฒนานวัตกรรม
เพื่อสังคม พุ่งเป้าไปที่การสร้างนวัตกรรม เพื่อเป็นเครื่องมือ รวมถึงเป็นนวัตกรเพื่อสังคม เพื่อแก้ปัญหาสังคมในด้านต่างๆ แต่ในขณะเดียวกันองค์กรเหล่านี้มีการดำเนินการเหมือน องค์กรอื่นทั่วไป คือ มีรายได้จากนวัตกรรมเหล่านั้น สามารถพึ่งพาตัวเองได้ ถ้าหากว่าเราต้องการทำงานเพื่อสังคม ก็ควรจะมีระบบนิเวศนวัตกรรมที่มุ่งเน้นในการทำเพื่อสังคม

รัฐบาลเป็นภาคส่วนที่สำคัญมากที่สุด และนี่เป็นสิ่งท้าทาย จะทำอย่างไรให้ภาครัฐเป็นผู้จัดซื้อระบบนวัตกรรมเหล่านี้ จะทำอย่างไรให้เกิดการลงทุนด้านองค์กรเพื่อสังคม และการทำเกษตรแบบยั่งยืน การสร้างความเจริญให้กับหมู่บ้าน และการบริการการเงินย่อยความท้าทายอันดับที่ 3 คือ การจัดการกับปัญหาภัยพิบัติ เช่น ปัญหาฝุ่นละอองที่มีค่าเกินมาตรฐาน PM 2.5 ปัญหาการจัดการน้ำท่วม เราจะจัดการอย่างไรกับการแก้ปัญหาภัยพิบัติให้มีประสิทธิภาพจะทำอย่างไรกับปัญหาเหล่านี้ ควรจะมีกลุ่มที่พัฒนานวัตกรรมเฉพาะด้าน

ความท้าทายอีกประการหนึ่ง คือ การขาดแคลนนักลงทุนเพื่อองค์กรด้านสังคม (Corporate Venture Capital) ในไทยรวมถึงทั่วโลกซึ่งเป็นหนึ่งในองค์ประกอบของระบบนิเวศเพื่อสังคม

ดีภัค มิสชรา ผู้จัดการโครงการเวิล์ดแบงก์ กล่าวว่า เมื่อหลายปีที่ผ่านมาได้มีการใช้เทคโนโลยีภาพถ่ายดาวเทียม โดยดูว่าบ้านหลังไหนมีแสงสะท้อนจากบนหลังคา (บ้านคนจนจะเป็นบ้านสังกะสี) หรือหลังไหนไม่มีแสงสะท้อนในเคนย่า ซึ่งจะทำให้เห็นความแตกต่างระหว่างบ้านคนจนกับบ้านคนรวยได้อย่างชัดเจน และทำให้เราส่งความช่วยเหลือโดยตรง โดยมอบเงินให้บ้านคนจนเหล่านั้น

ดีภัค มิสชรา
ดีภัค มิสชรา

นอกจากมีการใช้เทคโนโลยีแล้ว การดำเนินการต่างๆ จำเป็นต้องอาศัยองค์กรมูลนิธิในการเข้าไปช่วยเหลือ ถ้าองค์กรมูลนิธิเข้มแข็งสังคมก็จะเข้มแข็งไปด้วย ดังนั้นแล้ว การปฏิบัติการนวัตกรรมเพื่อสังคม จำเป็นต้องอาศัยเทคโนโลยี องค์กรมูลนิธิที่เข้มแข็ง และคน

ส่วน อลิสัน เอสเคอเซน รองประธานฝ่ายเอเชียแปซิฟิกศูนย์มาสเตอร์การ์ดเพื่อการเติบโตอย่างทั่วถึง ได้แบ่งปันประสบการณ์เกี่ยวกับความท้าทายด้านนวัตกรรมเพื่อสังคม โดยได้กล่าวว่า “การสร้างเศรษฐกิจดิจิทัลจำเปน็ ตอ้ งทำงานรว่ มกับทุกๆ คน ในทุกๆ ที่ แต่ความไม่เท่าเทียมกันทางสังคมเป็นความท้าทายหนึ่งที่ต้องเผชิญ”

อลิสัน เอสเคอเซน
อลิสัน เอสเคอเซน

อลิสัน กล่าวเพิ่มเติมว่า “ก่อนที่เราจะพูดถึงในเรื่องของการนำข้อมูลหรือเทคโนโลยีไปใช้ประโยชน์ อยากให้กลับมามองถึงความเป็นจริงว่า ตอนนี้สังคมยังไม่เท่าเทียมกันในหลายด้าน เช่น ความไม่เท่าเทียมกันด้านรายได้ซึ่งจากปัจจัยพื้นฐานนี้เองที่ทำให้ทางมาสเตอร์การ์ดทำในเรื่องของการให้คนส่วนใหญ่สามารถเข้าถึงแหล่งเงินได้ง่ายขึ้น”

นอกจากนี้แล้ว มาสเตอร์การ์ดได้ก่อตั้งมูลนิธิมาสเตอร์การ์ดเพื่อช่วยเหลือคนในแอฟริกาโดยเฉพาะ ให้พวกเขามีโอกาสมีงานทำมีอาชีพ โดยเฉพาะกลุ่มคนรุ่นใหม่ ซึ่งเราเชื่อมั่นในศักยภาพของคนเหล่านี้

ด้าน ปิแอร์ เลอกรองด์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายเทคโนโลยี บริษัทไพร้ซวอเตอร์เฮาส์คูเปอร์ส กล่าวว่า 9 ใน 10 ของความท้าทายในการทำดิจิทัลทรานสฟอร์เมชั่นส์ และความรับผิดชอบทางสังคม คือ ผู้นำ นอกจากนี้แล้ว ลาเล่ เคซีบี ผู้ก่อตั้งและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ฮิวแมนแอทเวิร์ก กล่าวว่า “องค์กรขนาดใหญ่เป็นผู้ขับเคลื่อน ดังนั้นแล้ว ไม่ว่าองค์กรเหล่านั้นจะต้องการหรือไม่ต้องการองค์กรเหล่านั้นไม่มีทางหลีกเลี่ยงในกิจกรรมด้านสังคม”

อนุจ ชาร์มา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร พิรามาล วอเตอร์ ได้กล่าวว่า ปัญหาการขาดแคลนน้ำเป็นปัญหาสำคัญอย่างหนึ่งของคนในอินเดีย บางคนต้องเดินทางหลายกิโลเมตรเพื่อเข้าถึงแหล่งน้ำการลักลอบใช้น้ำ เป็นต้น ทางมูลนิธิจึงได้คิดค้นเทคโนโลยีเพื่อบรรเทาปัญหาในเรื่องนี้ โดยนำเทคโนโลยี สมาร์ทการ์ด และอินเทอร์เน็ตออฟติงส์ เข้ามาช่วยลดปัญหา โดยการให้สมาร์ทการ์ดกับประชาชนเพื่อกดใช้น้ำจากแท็งก์น้ำที่ตั้งบริการไว้ และการติดตั้ง IoT จะช่วยให้ส่วนกลางสามารถให้สิทธิ์การใช้น้ำ รวมถึงตรวจดูการใช้น้ำได้แบบเรียลไทม์

นอกจากนั้นยังมีการอภิปรายในหัวข้อ นวัตกรรมทางสังคมจะช่วยลดผลกระทบจากเทคโนโลยีที่สร้างความพลิกผันอย่างไร เพื่อประสานความแตกต่างระหว่างกลุ่มที่ใช้และไม่ใช้ดิจิทัลในหมู่แรงงาน

โจนาธาน หว่อง ผู้อำนวยการฝ่ายเทคโนโลยีและนวัตกรรมคณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมแห่งเอเชียและแปซิฟิก แห่งสหประชาชาติ ได้กล่าวว่า องค์ประกอบสำคัญในการสร้างเศรษฐกิจให้เติบโตได้ ต้องประกอบด้วย เทคโนโลยี นักนวัตกร
และผู้ประกอบการ แต่อย่างไรก็ดีปัจจุบันเราจะต้องคำนึงถึงการสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืน คิดถึงสภาวะแวดล้อม

โจนาธาน หว่อง
โจนาธาน หว่อง

สำหรับอนาคตข้างหน้า การพัฒนานวัตกรรมเพื่อสังคมจำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือจากภาครัฐเป็นปัจจัยสำคัญในการวางนโยบายด้านสังคม การสร้างนวัตกรรมเพื่อสังคมหมู่มาก และการมีผู้สนับสนุนเงินทุนเพื่อสร้างนวัตกรรมออกมา


Source: นิตยสาร Electricity & Industry Magazine ปีที่ 26 ฉบับที่ 6 พฤศจิกายน-ธันวาคม 2562
คอลัมน์ Special Scoop โดย กองบรรณาธิการ


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เอง โดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save