Motor Condition Monitoring


หากเครื่องจักรคือปัจจัยหลักในการผลิตสินค้าต่างๆ ส่วนประกอบหลักที่ทำหน้าที่เปลี่ยนพลังงานไฟฟ้าเป็นพลังงานกลคงหนีไม่พ้นมอเตอร์ ซึ่งเปรียบเสมือนหัวใจหลักที่ทำให้เครื่องจักรหรือกระบวนการผลิตขับเคลื่อนไปในรูปแบบต่างๆ ตามลักษณะของมอเตอร์ที่นำมาใช้งาน ซึ่งก็มีอยู่มากมายหลายแบบหลายประเภทด้วยกัน แล้วแต่ลักษณะของเครื่องจักรนั้นๆ มอเตอร์ที่ใช้ไฟฟ้ากระแสสลับขนาดกำลังวัตต์สูงๆ ตั้งแต่ 15 KW ขึ้นไปจะเป็นมอเตอร์ที่มีขนาดใหญ่ การดูแลรักษาให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งานตลอดเวลาเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง เพราะหากมอเตอร์เหล่านี้เกิดการชำรุดเสียหายใช้งานไม่ได้ จะส่งผลกระทบโดยตรงต่อกระบวนการผลิตอย่างแน่นอน เพราะการเปลี่ยนมอเตอร์ขนาดใหญ่ค่อนข้างใช้เวลานาน ปัญหาที่ตามมาคือความเสียหายจากการสูญเสียความสามารถในการผลิต ส่วนจะคิดเป็นจำนวนเงินเท่าไหร่นั้นก็สามารถคำนวณได้โดยเอาต้นทุนต่างๆ คูณกับเวลาที่เสียไป

การหลีกเลี่ยงสถานการณ์เหล่านี้สามารถทำได้ หากเรามีการบำรุงรักษาเชิงป้องกันที่ดี พนักงานซ่อมบำรุงเข้าไปตรวจสอบตามช่วงระยะเวลาที่กำหนด มีการตรวจสอบโดยละเอียด พนักงานมีประสบการณ์ สามารถค้นพบปัญหาและวางแผนแก้ไข ก็สามารถช่วยลดปัญหาการเกิด Down Time เนื่องจากมอเตอร์ชำรุดเสียหายได้เป็นอย่างดี แน่นอนว่าการใช้คนตรวจสอบอาจมีความเสี่ยงที่จะเกิดความผิดพลาดขึ้นได้ หากบุคคลนั้นขาดประสบการณ์ การหาตัวช่วยที่มีความสามารถคอยเฝ้าติดตามดูประสิทธิภาพมอเตอร์ได้ตลอดเวลาและแจ้งเตือนให้เราทราบทันทีเมื่อเริ่มมีอาการผิดปกติ เป็นสิ่งจำเป็นที่ควรลงทุนสำหรับมอเตอร์ขนาดใหญ่ ดีกว่าปล่อยให้เกิด Down Time สาเหตุเพราะมอเตอร์ชำรุดเสียหาย ซึ่งมันจะทำให้เราเสียเวลาและค่าใช้จ่ายมากมายตามมาตามที่กล่าวไป

ปัจจุบันมีอุปกรณ์ที่เรียกว่า Motor Condition Monitoring มาช่วยทำหน้าที่ดูแลมอเตอร์ขนาดใหญ่แทนการใช้คนตรวจสอบแบบเดิม ซึ่ง Motor Condition Monitoring นี้ สามารถเฝ้าดูความผิดปกติของมอเตอร์ได้ตลอดเวลา โดยไม่ต้องรอระยะเวลาในการตรวจเช็ค ไม่ต้องพึ่งพนักงานที่มีประสบการณ์ เพราะ Motor Condition Monitoring จะทำการวิเคราะห์และแจ้งให้ทราบทันทีเมื่อมอเตอร์เริ่มมีอาการผิดปกติ ทำให้เราสามารถที่จะวางแผนการเปลี่ยนหรือซ่อมบำรุงได้ล่วงหน้าโดยไม่กระทบกับกระบวนการผลิต

Motor Condition Monitoring

Motor Condition Monitoring ทำงานอย่างไร โดยปกติแล้วมอเตอร์ที่เสียหายจะเกิดขึ้นจาก 2 สาเหตุ คือจากโหลดและจากตัวมอเตอร์เอง เราสามารถตรวจสอบอาการผิดปกติของมอเตอร์ได้จากความผิดปกติของกระแส ความผิดปกติของค่าความเป็นฉนวน หรือความผิดปกติจากการสั่นสะเทือน อุณหภูมิ ซึ่งอาการผิดปกติทั้งหมดนี้เป็นที่มาของ Motor Condition Monitoring แบบต่างๆ ซึ่งมีด้วยกัน 3 แบบ แยกตามการตรวจจับ ได้แก่ รุ่นตรวจจับความผิดปกติของกระแสตรวจจับความผิดปกติของค่าความเป็นฉนวน และตรวจจับความผิดปกติจากการสั่นสะเทือนและอุณหภูมิ

Type 02 - To measure the insulation resistance level
Type 02 – To measure the insulation resistance level

เรามาดูกันว่าแต่ละแบบมีคุณสมบัติแตกต่างกันอย่างไร เพื่อการตัดสินใจเลือกใช้งานที่ถูกต้อง มาเริ่มกันที่รุ่นตรวจจับความผิดปกติของกระแสก่อนอย่างที่กล่าวไปแล้วว่ามอเตอร์จะเสียหายเกิดขึ้นได้จาก 2 ส่วนคือ ส่วนของโหลดและส่วนของตัวมอเตอร์เอง รุ่นตรวจจับความผิดปกติของกระแส จะเน้นไปที่ความผิดปกติทางด้านโหลด เช่น การใช้งานเกินพิกัด (Overload) มอเตอร์กับโหลดไม่ได้ระนาบ (Alignment) หรือเกิดจากโหลดที่ไม่มีความสมดุล (Unbalance Load) รุ่นนี้จะต้องใช้งานร่วมกับ Current Transformer (CT) ที่มีขนาดเหมาะสมกับขนาดของมอเตอร์

Type 03 - To measure the vabration and temperature level
Type 03 – To measure the vabration and temperature level

รุ่นตรวจจับความผิดปกติของค่าความเป็นฉนวน เหมาะสำหรับมอเตอร์ที่อยู่ในบริเวณที่มีความเสี่ยงต่อความชื้นสูง หากมอเตอร์มีค่าความต้านทานต่ำกว่ามาตรฐาน อุปกรณ์จะแจ้งเตือนให้เราทราบ การใช้งานรุ่นนี้ต้องใช้งานร่วมกับ Current Transformer ชนิดพิเศษเท่านั้น ส่วนรุ่นสุดท้ายจะเป็นรุ่นตรวจจับความผิดปกติของความสั่นสะเทือนและอุณหภูมิ รุ่นนี้จะตรวจจับความผิดปกติของตัวมอเตอร์โดยตรง เช่น ลูกปืนแตก จาระบีแห้ง อุณภูมิมอเตอร์สูงผิดปกติ รุ่นนี้จะต้องใช้งานร่วมกับหัวเซนเซอร์ชนิดพิเศษ โดยต้องติดตั้งหัวเซนเซอร์ที่ตัวมอเตอร์การติดตั้งให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุดจะต้องฝังหัวเซนเซอร์ลงไปที่ตัวมอเตอร์โดยตรง ในกรณีที่ไม่อยากฝังก็สามารถติดตั้งที่ผิวของมอเตอร์ได้เช่นกัน เพียงแต่ประสิทธิภาพในการตรวจจับอุณหภูมิจะลดลง

3 รุ่นที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ ทางผู้ผลิตจะมีค่ากำหนดมาตรฐานในการตัดสินใจว่ามอเตอร์ของเราอยู่ในสถานะใดใน 3 สถานะคือ ปกติ (Normal) แจ้งเตือน (Warning) และขั้นวิกฤต (Critical) เราสามารถปรับเปลี่ยนค่าตัดสินใจได้ตามความเหมาะสมโดยศึกษาจากคู่มือของผู้ผลิต โดยปกติแล้วทางผู้ผลิตจะมีซอฟต์แวร์ใช้งานติดมาให้เพื่อความสะดวกของผู้ใช้งานในการตั้งค่าหรือดูค่าพารามิเตอร์ต่างๆ อีกทั้งยังสามารถต่อร่วมกันหลายๆ ตัวได้โดยใช้ซอฟต์แวร์เป็นตัวกลางในการบริหารจัดการ

การตัดสินใจเลือกใช้งานหรือไม่ใช้งาน Motor Condition Control ท่านเองคงต้องเป็นผู้พิจารณาว่าคุ้มหรือไม่คุ้มค่าในการลงทุน เนื่องจากราคาของอุปกรณ์ก็อาจเป็นปัจจัยหนึ่งในการตัดสินใจ หากท่านคิดว่าค่าใช้จ่ายในการที่เครื่องจักรหยุด (Down Time) เพราะมอเตอร์ชำรุดเสียหายหรือต้องเสียค่าซ่อมมอเตอร์ในราคาที่สูงมาก การพิจารณาเลือกใช้งาน Motor Condition Control น่าจะเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่น่าสนใจ

รายละเอียดเพิ่มเติมติดต่อ 

บริษัท ออมรอน อีเลคทรอนิคส์ จำกัด
โทร. 0-2942-6700 หรือ http://www.omron-ap.co.th

 


Source: นิตยสาร Electricity & Industry Magazine ปีที่ 26 ฉบับที่ 5 กันยายน-ตุลาคม 2562 คอลัมน์ Special Area
โดย บริษัท ออมรอน อีเลคทรอนิคส์ จำกัด


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เอง โดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save