ดิจิตอลมิเตอร์ รุ่น CVM-A1500


ดิจิตอลมิเตอร์ รุ่น CVM-A1500

เมื่อพูดถึงการวิเคราะห์คุณภาพไฟฟ้านั้น เป็นการตีความข้อมูลโดยวิศวกรไฟฟ้าผู้เชี่ยวชาญการติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้าบางประเภทมีการติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้าที่มีคุณภาพผู้ใช้งานจึงไม่มีปัญหาในการตีความข้อมูลที่ตรวจวัดได้ โดยทั่วไปเครื่องวัดวิเคราะห์คุณภาพไฟฟ้ามักจะเป็น “Black Boxes” ซึ่งไม่ได้แสดงข้อมูลพารามิเตอร์ทางไฟฟ้าแต่อย่างใด หากไม่ได้เชื่อมต่อผ่านซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ดังนั้นนอกเหนือจากประสิทธิภาพของคอมพิวเตอร์ในการดาวน์โหลดข้อมูลจากเครื่องมือวัดแล้ว ผู้ใช้งานจะต้องรู้ถึงการตีความจากข้อมูลทางไฟฟ้าที่ตรวจวัดได้ด้วยเช่นกัน นั่นเป็นเหตุผลที่ทำให้ทาง บริษัท เอวีร่า จำกัด มีการพัฒนาคัดสรรผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพเหมาะสมกับการใช้งานเพื่อตอบโจทย์กับความต้องการของผู้ใช้งานมากยิ่งขึ้นซึ่งในครั้งนี้ทางบริษัทขอนำเสนอผลิตภัณฑ์ Digital Meter เครื่องมือวัดวิเคราะห์การใช้พลังงานไฟฟ้าที่เป็น Class A ตามมาตรฐาน IEC 61000-4-30 ด้วยราคามิตรภาพย่อมเยา กับฟังก์ชันที่หลากหลายประเภท Power Quality Analyzer นั่นคือรุ่น CVM-A1500 แบรนด์ CIRCUTOR

ดิจิตอลมิเตอร์ รุ่น CVM-A1500 สามารถแสดงกราฟ ITIC (เช่น CBEMA และ SEMIF47) บนหน้าจอแสดงผลด้วยการคลิกเพียง 3 ครั้งบนอุปกรณ์เครื่องมือวัด ทำให้ผู้ใช้ไฟเข้าใจกราฟ ITIC ของระบบไฟฟ้าได้มากยิ่งขึ้น กราฟนี้แสดงผลเป็นรูปสามเหลี่ยมสีแดงในแต่ละครั้งที่มีเหตุการณ์เกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็ว แสดงจำนวนเหตุการณ์คุณภาพไฟฟ้าที่เกิดขึ้นหมายความว่าผู้ใช้สามารถเห็นถึงปัญหาที่กำลังเผชิญอยู่ได้อย่างรวดเร็ว หากสามเหลี่ยมอยู่ในพื้นที่สีเขียวแสดงว่ามีเหตุการณ์ (ไฟกระชาก หรือแรงดันไฟฟ้าตก) ซึ่งไม่ได้ทำให้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ในโรงงานของคุณเสียหายได้ อย่างไรก็ตาม หากสามเหลี่ยมอยู่ในพื้นที่สีแดง นั่นหมายถึงปริมาณแรงดันไฟฟ้าที่เกิดการเปลี่ยนแปลงเพิ่มมากขึ้น ซึ่งทำให้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ของคุณเสียหายมากที่สุด ยิ่งสามเหลี่ยมอยู่ใกล้กับด้านบนซ้ายมากเท่าไหร่ อุปกรณ์ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ก็จะเสียหายมากขึ้นเนื่องจากมีค่าและระยะเวลาที่สูง ในทางตรงกันข้าม หากสามเหลี่ยมอยู่ในขอบเขตสีเหลือง หมายความว่ามีแรงดันไฟฟ้าตก ซึ่งแรงดันไฟฟ้าตกที่เกิดขึ้นนี้อาจส่งผลกระทบต่อระบบอิเล็กทรอนิกส์ที่มีติดตั้งอยู่ภายในเครื่องจักรกลเกิดการหยุดการทำงานอันเนื่องจากแรงดันไฟฟ้าตก (Under Voltage) เพียงแค่ผู้ใช้งานสังเกตกราฟที่บนหน้าจอมิเตอร์ของเครื่องมือวัดนี้ ก็ทำให้ผู้จัดการฝ่ายบำรุงรักษาสามารถรู้ได้ว่าทำไมระบบไฟฟ้าจึงมีความผิดปกติ นอกจากนี้ หากเกิดขึ้นซ้ำๆ เป็นประจำ ข้อมูลนี้จะช่วยนำไปวางแผนการใช้งานเพื่อลดผลกระทบของเหตุการณ์ความเสียหายที่เกิดขึ้นได้เป็นแนวทางในการหลีกเลี่ยงการหยุดชะงักของกระบวนการผลิต และการสูญเสียโอกาสทางธุรกิจรวมถึงการสูญเสียทางการเงินได้อีกด้วย

รายละเอียดในการป้องกันปัญหาคุณภาพไฟฟ้า

การตัดสินใจและการพิจารณาข้อกำหนดในการป้องกันทางไฟฟ้าให้กับระบบคอมพิวเตอร์และระบบควบคุมในทุกวันนี้ เราจะยึดถือกราฟเส้นโค้ง CBEMA ของสมาคมผู้ผลิตอุปกรณ์คอมพิวเตอร์เชิงธุรกิจ (Computer Business Equipment Manufacture Association : CBEMA) ซึ่งต่อมาได้เปลี่ยนชื่อมาเป็น สภาอุตสาหกรรมสารสนเทศ (Information Technology Industry Council : ITI) เมื่อปี พ.ศ. 2543

แสดงกราฟ ITIC (CBEMA)
รูปที่ 1 แสดงกราฟ ITIC (CBEMA)

ตามรูปที่ 1 กราฟเส้นโค้งนี้จะแสดงถึงระดับที่อุปกรณ์ในระบบอิเล็กทรอนิกส์สามารถยอมรับให้แรงดันไฟฟ้าเปลี่ยนแปลงได้ ซึ่งจะหมายถึงการนำเอาอุปกรณ์ไฟฟ้ามาใช้งานนั่นเอง เส้นโค้งดังกล่าวทำให้ผู้ผลิตอุปกรณ์ไฟฟ้าสามารถนำไปกำหนดเป็นสมรรถนะที่ใช้งานเช่นกัน

การใช้งานของอุปกรณ์ไฟฟ้าและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เกี่ยวกับเส้นโค้งและขอบเขตที่ยอมรับได้ในข้างต้นนั้น จะถูกแยกออกเป็น 2 ประการ คือ

  1. คอมพิวเตอร์ในสมัยใหม่ส่วนใหญ่ใช้วิธีการสวิตช์ในการจ่ายกำลังไฟฟ้า (Switched Moe Power Supplies : SMPS) ที่ยอมให้แรงดันไฟฟ้าเปลี่ยนแปลงได้สูงมากกว่าที่แสดงในเส้นโค้ง
  2. ตำแหน่งที่อยู่ของเส้นโค้งเฉพาะการเปลี่ยนแปลงของแรงดันไฟฟ้าปกติระหว่างสายที่มีไฟด้านเข้า หรือสายเฟสเทียบนิวทรัล โดยที่ไม่ได้คิดถึงการรบกวนของแรงดันไฟฟ้าระหว่างนิวทรัลกับกราวด์ เทคโนโลยี SMPS ไม่ได้รวมถึงหม้อแปลงลดแรงดันและหม้อแปลงแบบแยกขดลวด (Step Down/Isolation) ที่เป็นส่วนหนึ่งในการจ่ายกำลังไฟฟ้าก่อน SMPS ซึ่งจะมีแรงดันไฟฟ้าที่มีคลื่นรบกวนของนิวทรัลเทียบกับกราวด์ที่ระบบคอมพิวเตอร์สมัยใหม่ ดังนั้นความจำเป็นและการใช้งานรวมถึงการติดตั้งอุปกรณ์จึงควรนำมาพิจารณาร่วมด้วย

กราฟแสดงความคงทนของอุปกรณ์ไฟฟ้าต่อแรงดันไฟตกชั่วขณะ

กราฟ CBEMA ITIC

กราฟ CBEMA (Computer Business Equipment Manufacturers Association) จะถูกใช้กับอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ในการตรวจสอบการทำงานของอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ระหว่างเกิดแรงดันไฟฟ้าตกชั่วขณะหรือแรงดันไฟฟ้าสูงเกินชั่วขณะ โดยที่กราฟ CBEMA จะถูกใช้กับอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่พิกัดแรงดันไฟฟ้า 120V 60Hz ซึ่งเป็นแรงดันไฟฟ้าแรงต่ำของสหรัฐอเมริกาโดยจะมีลักษณะดังรูปที่ 1 ต่อมาองค์กร CBEMA ได้ถูกเปลี่ยนเป็น ITIC (The Information Technology Industry Council) และได้มีการปรับปรุงกราฟใหม่ คือกราฟ ITIC ดังแสดงในรูปที่ 2 และยังคงใช้กับอุปกรณ์คอมพิวเตอร์หรือด้านเทคโนโลยีสารสนเทศอยู่ระดับแรงดันไฟฟ้า 120V 60Hz เช่นกัน

เส้นโค้ง ITIC
รูปที่ 2 เส้นโค้ง ITIC ที่แสดงสมรรถนะมาตรฐาน สำหรับอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ได้พัฒนาใหม่

กราฟ SEMIF47

นอกจากกราฟทั้ง 2 ที่ได้กล่าวไปเบื้องต้นแล้ว องค์กร Semiconductor Equipment and Materials International (SEMI) ยังได้พัฒนาเรื่องของมาตรฐานและการเชื่อมต่ออุปกรณ์ขึ้นอีกหลายอย่าง และได้จัดทำ กราฟ SEMIF47 ขึ้นมาเพื่อกำหนดช่วงของแรงดันไฟฟ้าตกชั่วขณะช่วงสั้นที่เกิดขึ้น ว่ามีขนาดและช่วงเวลาการเกิดเป็นอย่างไรที่จะไม่มีผลกระทบต่ออุปกรณ์ในกระบวนการผลิตสารกึ่งตัวนำ ซึ่งมาตรฐาน SEMIF47 นี้ เป็นมาตรฐานด้านอุตสาหกรรมที่จะพิจารณาผลทางด้านแรงดันไฟฟ้าตกชั่วขณะเท่านั้น ไม่ได้พิจารณาในกรณีที่เกิดแรงดันไฟฟ้าสูงเกินชั่วขณะ (ดังรูปที่ 2) และยังคงใช้กับแรงดันไฟฟ้าแรงต่ำเช่นเดียวกัน (อาจได้ถึง 600V 3 Phase 50/60Hz) โดยในรูปที่ 3 ได้แสดงระดับแรงดันไฟฟ้าที่อุปกรณ์สารกึ่งตัวนำต้องสามารถทนต่อแรงดันไฟฟ้าตกชั่วขณะที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาและที่ระดับแรงดันต่างๆ ที่เกิดขึ้นภายในระบบไฟฟ้าได้ความแตกต่างระหว่างเส้นโค้ง CBEMA กับ ITIC คือ เส้นโค้ง CBEMA ใช้ได้กับแรงดันไฟฟ้าทั้งหมด ในขณะที่เส้นโค้ง ITIC จะถูกนำมาใช้กับแรงดันไฟฟ้าที่เฉพาะเจาะจงมากขึ้น

พารามิเตอร์อื่นๆ ที่สามารถตรวจวัดได้

Harmonics

อุปกรณ์เครื่องวัดนี้สามารถแสดงลำดับของฮาร์มอนิกได้ถึง 63 ลำดับ และสามารถเห็นระดับฮาร์มอนิกของโหลดที่เกิดขึ้นฮาร์มอนิกที่เกิดขึ้นสามารถส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพการใช้งานของอุปกรณ์ไฟฟ้าได้โดยตรงในรูปแบบของความร้อนสูง หรือความผิดปกติในการทำงานของโหลดประเภทอิเล็กทรอนิกส์

ดิจิตอลมิเตอร์ รุ่น CVM-A1500

หน้าจอแสดงผล

ดิจิตอลมิเตอร์ รุ่น CVM-A1500 มีเว็บเซิร์ฟเวอร์ที่มีหน่วยความจำในตัว ผู้ใช้สามารถเข้าถึงข้อมูลที่บันทึกไว้บนเว็บเบราว์เซอร์ (Internet Explorer, Firefox, Google Chrome ฯลฯ) เพื่อตรวจสอบพารามิเตอร์ทางไฟฟ้าทั้งหมดแบบเรียลไทม์ การสร้างกราฟและสามารถดูตารางแสดงเหตุการณ์คุณภาพไฟฟ้าและรูปคลื่นไซน์ อีกทั้งดึงข้อมูลได้อย่างง่ายดายใน Excel บวกกับอุปกรณ์นี้ยังสามารถรวมเข้ากับซอฟต์แวร์การจัดการพลังงาน Power Studio (EMS) เพื่อให้เห็นภาพรวมของสถานะของโหลดที่ติดตั้งอยู่ในระบบไฟฟ้าทั้งหมด

ซอฟต์แวร์การจัดการพลังงาน Power Studio (EMS)

คุณภาพการส่งผ่านข้อมูลที่รวดเร็ว

ดังที่เราได้เห็นด้วยเครื่องวิเคราะห์คุณภาพไฟฟ้าของแหล่งจ่ายไฟฟ้า CVM-A1500 ผู้ใช้สามารถควบคุมพารามิเตอร์ได้อย่างสมบูรณ์ ซึ่งสามารถพิจารณาความผิดปกติใดๆ และตรวจสอบว่ามีความผิดปกติทางไฟฟ้าหรือไม่ โดยการส่งผ่านข้อมูลไปยังผู้ดูแลบำรุงรักษาให้สามารถนำข้อมูลไปปรึกษากับการไฟฟ้าฯ ในกรณีที่มีการหยุดการทำงานอันเนื่องมาจากคุณภาพของแหล่งจ่ายไฟฟ้าที่ไม่ดี หรืออาจต้องการการรับประกันสำหรับเครื่องจักรทั้งหมดที่มีการทำงานที่ผิดปกติเพราะสามารถตรวจสอบได้ว่าเกิดจากสาเหตุใด หรือเพื่อความผิดปกติของตัวเครื่องจักรเองก็ตาม

เครื่องวิเคราะห์คุณภาพไฟฟ้าของแหล่งจ่ายไฟฟ้า CVM-A1500

Waveform capture

เครื่องวัดสามารถวิเคราะห์และตรวจจับรูปคลื่นของแรงดันและกระแส

เครื่องวัดสามารถวิเคราะห์และตรวจจับรูปคลื่นของแรงดันและกระแสเมื่อตรวจพบความผิดปกติ หรือการเสียรูปของรูปคลื่นแรงดันเก็บไว้ภายในหน่วยความจำเพื่อวิเคราะห์ออนไลน์หรือดาวน์โหลดข้อมูลไปยัง Power Studio

Oscilloscope in real time

เครื่องวัดสามารถวิเคราะห์และตรวจจับรูปคลื่นของแรงดันและกระแส

สามารถแสดงลูกคลื่นแรงดันและกระแสในเวลาจริง และมีตัวเลือกสำหรับการซูมคลื่นในแต่ละช่วงเวลาเพื่อการแสดงผลที่ชัดเจนยิ่งขึ้น

นอกเหนือจากเนื้อหาที่ได้กล่าวมาแล้วนั้น ดิจิตอลมิเตอร์ CVM-A1500 ยังมีฟังก์ชันรองรับอีกมากมายที่ตอบรับความต้องการในยุคปัจจุบัน โดยสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ บริษัท เอวีร่า จำกัด

บริษัท เอวีร่า จำกัด

รับปรึกษาและวางแผนบริหารจัดการพลังงานไฟฟ้า ด้วยประสบการณ์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางและมีผลิตภัณฑ์ให้เลือกหลากหลายไว้คอยอำนวยความสะดวก

Tel : 088-001-0416
E-mail : info@avera.co.th
Website : www.avera.co.th


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เอง โดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save