เผยดัชนีอุตฯ มี.ค. 64 เพิ่มขึ้น 4.12% เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ขยายตัวสูงสุดในรอบ 29 เดือน


เผยดัชนีอุตฯ มี.ค. 64 เพิ่มขึ้น 4.12% เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ขยายตัวสูงสุดในรอบ 29 เดือน การส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 4

กระทรวงอุตสาหกรรม เผยการผลิตในอุตสาหกรรมหลักปรับตัวดีขึ้น ส่งผลให้ภาพรวมดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) เดือนมีนาคม 2564 มีระดับอยู่ที่ 107.73 เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.12 เมื่อเทียบกับ เดือนเดียวกันของปีก่อน เป็นการขยายตัวสูงสุดในรอบ 29 เดือน (ต.ค. 61 – ก.พ. 64) หลังจากที่ภาค การผลิตได้รับผลกระทบจากสถานการณ์สงครามการค้าระหว่างจีนและสหรัฐอเมริกา และการแพร่ระบาดโควิด-19

โดยอัตราการใช้กำลังการผลิตเพิ่มขึ้นเช่นเดียวกัน (ร้อยละ 69.59) เป็นผลจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐและความคืบหน้าของการฉีดวัคซีนโควิด-19 ทั้งในและต่างประเทศ ทำให้เกิดความเชื่อมั่นของผู้ผลิตและผู้บริโภค ส่งผลให้การส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมไม่รวมทองคำและรายการพิเศษเดือนมีนาคม 2564 ขยายตัวร้อยละ 25.77 เป็นการขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 4 และเป็นการขยายตัวระดับ 2 หลักในรอบ 31 เดือน ซึ่งจากการกลับมาขยายตัวของดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมนี้ ทำให้ในไตรมาสที่ 1/2564 ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมขยายตัวที่ร้อยละ 0.25

นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม (อก.) เผยว่า สถานการณ์ภาคการผลิตอุตสาหกรรมเริ่มส่งสัญญาณฟื้นตัว ส่งผลให้ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) เดือนมีนาคม 2564 อยู่ที่ระดับ 107.73 เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.12 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน กลับมาเป็นบวกและเป็นการขยายตัวสูงสุดในรอบ 29 เดือน (ต.ค. 61 – ก.พ. 64) โดยมีอัตราการใช้กำลังการผลิตอยู่ที่ระดับร้อยละ 69.59 สะท้อนให้เห็นแนวโน้มภาคการผลิตของประเทศเติบโตตามเศรษฐกิจของโลกที่ดีขึ้น รวมถึงรัฐบาลไม่ได้ใช้มาตรการล็อกดาวน์ และกลุ่มแพร่ระบาดไม่ได้อยู่ในกลุ่มแรงงาน โรงงาน ดังนั้น ภาคการผลิตอุตสาหกรรมยังคงประกอบกิจการได้อย่างต่อเนื่อง ประกอบกับรัฐบาลยังคงมีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง เช่น โครงการเราชนะ เรารักกัน คนละครึ่งเฟส 3 เป็นต้น และประเทศไทยเริ่มทยอยฉีดวัคซีนให้ประชาชนและมีแผนบริหารจัดการวัคซีนให้ครอบคลุมทั่วประเทศภายในสิ้นปี 2564 ทำให้ความเชื่อมั่นทั้งในภาคการผลิตและการบริโภคดีขึ้น

นายทองชัย ชวลิตพิเชฐ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) กล่าวว่า อุตสาหกรรมสำคัญที่ส่งให้ MPI ขยายตัว ได้แก่ อุตสาหกรรมยานยนต์ที่มีการผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.53 จากการผลิตที่เพิ่มขึ้นของรถยนต์ทุกประเภทตามความต้องการทั้งจากในประเทศและการส่งออกที่ขยายตัว ในกลุ่มประเทศเอเชีย โอเชียเนีย และยุโรป และอุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้าขั้นมูลฐานมีการผลิตเพิ่มขึ้น ร้อยละ 19.19 เนื่องจากเร่งผลิตเพื่อทำกำไรในช่วงที่ราคาเหล็กในตลาดโลกเพิ่มสูงขึ้นร้อยละ 40-60 และการปรับตัวของอุตสาหกรรมต่อเนื่องที่เพิ่มขึ้น

นายทองชัยกล่าวต่อว่า มูลค่าการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม (ไม่รวมทองคำและรายการพิเศษ) ขยายตัวร้อยละ 25.77 ขยายตัวระดับ 2 หลักครั้งแรกในรอบ 31 เดือน อีกทั้งมีการนำเข้าสินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป ขยายตัวร้อยละ 26.45 สินค้าที่มีการนำเข้าเพิ่มขึ้น ได้แก่ เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ และอุปกรณ์ส่วนประกอบเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น โดยในภาคการผลิตอุตสาหกรรมมีแนวโน้มการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง จากการนำเข้าสินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูปที่เพิ่มขึ้น สะท้อนให้เห็นว่าภาคการผลิตในเดือนถัดไปจะมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น

สำหรับอุตสาหกรรมหลักที่มีดัชนีผลผลิตขยายตัวในเดือนมีนาคม 2564 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ได้แก่

รถยนต์และเครื่องยนต์ ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 7.53 จากรถบรรทุกปิคอัพรถยนต์นั่งขนาดเล็ก และเครื่องยนต์ดีเซล เนื่องจากความต้องการในประเทศที่ในช่วงปลายเดือนมีนาคม 2564 มีการจัดงานมอเตอร์โชว์ และการส่งออกที่ขยายตัวในกลุ่มประเทศเอเชีย โอเชียเนีย และยุโรป

เหล็กและเหล็กกล้าขั้นมูลฐาน ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 19.19 จากเหล็กแผ่นรีดเย็น เหล็กเคลือบสังกะสี เหล็กลวด เหล็กรูปพรรณรีดร้อน และเหล็กเส้นกลม เป็นหลัก โดยได้รับอานิสงส์จากปริมาณเหล็กในตลาดโลกลดลง ทำให้ราคาเหล็กโลกปรับตัวสูงขึ้น ผู้ผลิตจึงมีการเร่งผลิตเพื่อทำกำไรในช่วงที่ยังมีภาวะขาดแคลนสินค้า

น้ำตาล ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 26.89 เนื่องจากปีนี้โรงงานปิดหีบช้ากว่าปีก่อน และผลผลิตอ้อยสดมีคุณภาพสามารถหีบสกัดเป็นน้ำตาลได้สูงกว่าปีก่อน

เฟอร์นิเจอร์ ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 42.76 จากเครื่องเรือนทำด้วยไม้เนื่องจากมีคำสั่งซื้อจากสหรัฐอเมริกาอย่างต่อเนื่อง

อาหารสัตว์สำเร็จรูป ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 15.48 จากการขยายตลาดของกลุ่มอาหารสัตว์เลี้ยง และสุกร โดยเฉพาะคำสั่งซื้ออาหารแมวจากสหรัฐอเมริกาที่มีเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ผู้ผลิตยังได้ขยายตลาดผ่านช่องทางออนไลน์เพิ่มขึ้นเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคที่ใช้ชีวิตตามวิถีใหม่


Source: กระทรวงอุตสาหกรรม


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เอง โดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save