จัดระเบียบสายสื่อสาร หนึ่งภารกิจเพื่อบริหารจัดการสินทรัพย์ของ PEA


บนเสาไฟฟ้าหนึ่งต้นไม่ได้มีแค่สายไฟฟ้าแรงสูงและแรงต่ำสำหรับจ่ายกระแสไฟฟ้าไปสู่บ้านเรือน อาคาร ร้านค้า สถานประกอบการต่างๆ เท่านั้น หากบนเสาต้นเดียวกันยังประกอบไปด้วยสายสื่อสาร หรือสื่อนำส่งสัญญาณโทรคมนาคมประเภทสายที่ขอเข้ามามีส่วนร่วมด้วย เพื่อความเป็นระเบียบ ไม่กระทบกับการให้บริการไฟฟ้า PEA จึงต้องมีการวางแผนบริหารจัดการอย่างเป็นระบบ

จัดระเบียบสายสื่อสาร หนึ่งภารกิจเพื่อบริหารจัดการสินทรัพย์ของ PEA

การจัดระเบียบสายสื่อสารเพื่ออนาคตในยุคดิจิทัล ไทยแลนด์ ที่มีการนำเทคโนโลยีต่างๆ เข้ามาใช้มากมาย โดยเฉพาะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เช่น โทรศัพท์ อินเทอร์เน็ต เรามักจะเห็นสายเหล่านี้ระโยงระยางอยู่ตรงชั้นล่างสุดของเสาไฟฟ้าของ PEA เกือบทุกหนแห่ง ดังนั้นเพื่อรองรับการเติบโตของเทคโนโลยีการสื่อสารด้านโทรคมนาคมในปัจจุบันและอนาคต การใช้ทรัพยากรของ PEA ให้เกิดประโยชน์สูงสุดตลอดจนเพิ่มมูลค่าและรายได้เสริม PEA จึงได้ปรับปรุงหลักเกณฑ์การพาดสายหรือติดตั้งอุปกรณ์สื่อสารโทรคมนาคมบนเสาไฟฟ้าให้มีความทันสมัยอยู่เสมอ โดยให้ความใส่ใจทุกขั้นตอน ตั้งแต่การวางแผนการจัดระเบียบสายสื่อสารและงบประมาณ ประสานงานติดตามและประเมินผลการจัดระเบียบสายสื่อสาร จัดทำหลักเกณฑ์และมาตรฐานด้านสื่อสารโทรคมนาคม ฝึกอบรมและชี้แจงระเบียบหลักเกณฑ์ด้านการสื่อสารโทรคมนาคมให้หน่วยงานต่างๆ ภายใน PEA รับทราบ บริหารจัดการข้อมูลทรัพยากรด้านสื่อสารโทรคมนาคม รวมถึงประสานงานกับหน่วยงานต่างๆ ทั้งภายนอกและภายใน เช่น คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เป็นต้น

‘TAMS’ ระบบบริหารจัดการทรัพยากรด้านสื่อสารโทรคมนาคมของ PEA

‘TAMS’ ระบบบริหารจัดการทรัพยากรด้านสื่อสารโทรคมนาคมของ PEA

นอกจากการปรับปรุงหลักเกณฑ์ในการพาดสายของ PEA ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน รองรับการเติบโตของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารยุคใหม่ที่พัฒนาอย่างรวดเร็วแล้ว การอนุญาตให้พาดสายและอุปกรณ์สื่อสารบนเสาไฟฟ้ายังเป็นการใช้ทรัพยากรให้เกิดความคุ้มค่าและเป็นช่องทางการหารายได้เสริมของ PEA ดังนั้นจึงต้องมีการเก็บบันทึกข้อมูลที่เป็นระบบ เพื่อสะดวกในการเข้าถึงข้อมูลและนำไปสู่การบริหารจัดการด้านข้อมูลและทรัพยากรที่ดี มีความน่าเชื่อถือ และเป็นประโยชน์กับทุกฝ่าย

‘PEA Telecommunication Asset Management System : TAMS’ หรือระบบบริหารจัดการทรัพยากรด้านสื่อสารโทรคมนาคมของ PEA จึงเป็นเหมือนฐานข้อมูลเกี่ยวกับการพาดสายสื่อสารของบริษัทผู้ให้บริการต่างๆ โดยแผนกปฏิบัติการและบำรุงรักษา แผนกก่อสร้างและปฏิบัติการในพื้นที่ต่างๆ ของ PEA จะเป็นผู้เข้าไปดำเนินการเกี่ยวกับการสำรวจ ตรวจสอบ และนำเข้าข้อมูลสายสื่อสาร/อุปกรณ์ในระบบ TAMS

โดยมีกองบริการสารสนเทศและสื่อสาร แผนกบริหารศูนย์บริการสารสนเทศและสื่อสาร เป็นผู้พัฒนาระบบการบริหารการจัดการสื่อสาร ดูแลความมั่นคงปลอดภัยของอุปกรณ์ Hardware และ Software ของระบบ TAMS ให้พร้อมใช้งานตลอดเวลา ปรับปรุงข้อมูลบนระบบ TAMS ให้เชื่อถือได้และเป็นปัจจุบัน ติดตามการประสานงานในระบบที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการในระบบ TAMS ให้การสนับสนุนและแก้ไขปัญหาของผู้ใช้ระบบ ไปจนถึงการประเมินผลการให้บริการ เพื่อใช้ในการพัฒนาระบบ TAMS ต่อไป

ระบบ TAMS

ขั้นตอนการทำงานเพื่อนำเข้าข้อมูลในระบบ TAMS

ข้อมูลที่ได้จากการสำรวจและนำเข้าข้อมูลสายสื่อสารและติดตั้งอุปกรณ์สื่อสาร ในปัจจุบันการดำเนินการสำรวจสาย/อุปกรณ์และนำเข้าในระบบ TAMS มีด้วยกัน 2 แบบ คือ

  • PEA สำรวจและนำเข้าข้อมูลเอง ซึ่งหน่วยงานที่รับผิดชอบในการสำรวจ ตรวจสอบ และนำเข้าข้อมูลเองคือ แผนกปฏิบัติการและบำรุงรักษา แผนกก่อสร้างและปฏิบัติการของ PEA ในพื้นที่
  • PEA จ้างผู้รับจ้างสำรวจและนำเข้าข้อมูล ซึ่งผู้ควบคุมงานจะมีหน้าที่ในการตรวจสอบข้อมูลที่ผู้รับจ้างเป็นผู้นำเข้าข้อมูล ซึ่งถ้าข้อมูลที่ได้ไม่ถูกต้องครบถ้วน ผู้ควบคุมงานจะต้องแจ้งผู้สำรวจให้กลับไปแก้ไขข้อมูล ก่อนนำข้อมูลเข้าสู่ระบบ

ตรวจสอบข้อมูลจากระบบ TAMS

ข้อมูลของผู้รับช่วงหรือเป็นผู้รับจ้างสำรวจข้อมูลสายสื่อสาร/อุปกรณ์จะไม่ถูกบันทึกลงในฐานข้อมูล จนกว่าจะผ่านการตรวจสอบความถูกต้องครบถ้วนจากผู้ดูแลข้อมูลที่เป็นผู้จ้าง

ด้วยกระบวนการตรวจสอบความถูกต้องครบถ้วนของข้อมูลสายสื่อสารและอุปกรณ์ ทั้งก่อนและหลังนำเข้าระบบ TAMS จะทำให้เกิดฐานข้อมูลโครงข่ายสื่อสารและจำนวนอุปกรณ์ที่มีประสิทธิภาพ เพื่อนำไปใช้ในการพิจารณาการขออนุญาตพาดสายหรือติดตั้งอุปกรณ์สื่อสารต่อไปขณะเดียวกัน การบริหารจัดการที่เป็นระบบยังสนับสนุนการใช้ทรัพยากรของ PEA ให้เกิดความคุ้มค่าสูงสุดตามแนวทางของ Asset Management หรือการจัดการสินทรัพย์ของ PEA อีกด้วย


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เอง โดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save