กนอ. ยอมถอยแก้ TOR นำเข้า LNG มาบตาพุด เฟส 3


การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยเปิดเผยว่า นักลงทุนส่วนใหญ่มีข้อกังวลเงื่อนไข TOR โครงการท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุดเฟส 3 เรื่องของปริมาณความต้องการก๊าซธรรมชาติเหลวที่จะเกิดขึ้นว่ามีมากพอหรือไม่ เพราะระยะเวลาที่กำหนดให้สร้างโครงสร้างพื้นฐาน 3 ปี และสร้าง LNG terminal อีกเพียงแค่ 2 ปีนั้นสั้นเกินไปที่จะทำให้มีการนำเข้าก๊าซแอลเอ็นจีที่ 5 ล้านตัน โดย กนอ. สามารถปรับเงื่อนไขใน TOR ให้ได้ หากผู้ชนะการประมูลไม่สามารถดำเนินตามเงื่อนได้ด้วยเหตุสุดวิสัยได้

กนอ. ยอมถอยแก้ TOR นำเข้า LNG มาบตาพุด เฟส 3

นางสาวสมจิณณ์ พิลึก ผู้ว่าการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2562 กลุ่มกิจการร่วมค้ากัลฟ์ และพีทีที แทงค์ มายื่นซองข้อเสนอโครงการพัฒนาท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด ระยะ 3 (ช่วงที่1) มูลค่าโครงการรวม 55,400 ล้านบาท ของการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) เมื่อเวลาประมาณ 14.05 น. เป็นรายแรก ต่อคณะกรรมการการคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุนระหว่างภาครัฐและเอกชน (Public Private Partnertship : PPP) Net Cost โดยคณะกรรมการคัดเลือกจำดำเนินการตรวจสอบรายละเอียดตามหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข และกระบวนการตาม PPP คาดว่าจะสามารถประกาศผลรายชื่อผู้ที่ชนะการคัดเลือกเอกชน และสามารถลงนามในสัญญาได้ภายในเดือนพฤษภาคม 2562 รองรับปริมาณการขนถ่ายก๊าซได้ 10 ล้านตัน/ปี คาดว่าจะเปิดให้บริการได้ภายในปี 2568

อย่างไรก็ตามนับตั้งแต่โครงการท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุดเฟส 3 (ช่วง 1) ได้เริ่มทำ Market Sounding และตอบคำถามแก่นักลงทุนทั้ง 18 รายที่ซื้อซองไปแล้วนั้น นักลงทุนส่วนใหญ่รวมทั้งกัลฟ์ และพีทีที แทงค์ ยังมีข้อกังวลในเงื่อนไข TOR เรื่องของปริมาณความต้องการก๊าซธรรมชาติเหลว (LNG) ที่จะเกิดขึ้นว่ามีมากพอหรือไม่ เพราะระยะเวลาที่กำหนดให้สร้างโครงสร้างพื้นฐาน 3 ปี และกำหนดสร้ง LNG Terminal อีกเพียง 2 ปีนั้น สั้นเกินไปที่จะมีการนำเข้าก๊าซ LNG ที่ 5 ล้านตัน

อย่างไรก็ตาม ข้อกังวลดังกล่าว ทาง กนอ. สามารถปรับเงื่อนไขใน TOR ให้ได้ หากผู้ชนะการประมูลไม่สามารถดำเนินการตามเงื่อนไขได้ด้วย “เหตุสุดวิสัย” เช่น เกิดเหตุน้ำท่วม ภัยพิบัติ และที่ไม่ได้เกิดจากเอกชนเอง เช่น นโยบายของรัฐเปลี่ยนไป เป็นต้น หากเกิดจากเศรษฐกิจไม่ดีจนทำให้ปริมาณก๊าซลดลง ททำให้นำเข้าได้ไม่เป็นไปตามเงื่อนไขถือว่าไม่ใช่เหตุสุดวิสัย จะนำมาเป็นสาเหตุนำเข้าลดลงไม่ได้

ขณะเดียวกันยังคงต้องรอคำตอบจากกระทรวงพลังงาน เพื่อให้ขอรับการสนับสนุนการนำเข้า LNG ในการดำเนินโครงการท่าเรือมาดตาพุตเฟส 3 กับผู้รับสัมปทาน โดยให้เอกชนร่วมดำเนินงานในกิจกรรมของรัฐรูปแบบ PPP สอดคล้องกับการเปิดเสรีกิจการ LNG ตามนโยบายของกระทรวงเอง หลังจากที่กระทรวงอุตสาหกรรมได้ส่งหนังสือขอให้มีการปลดล็อกเรื่องดังกล่าว ไปเมื่อ 20 พฤศจิกายน 2561

แหล่งข่าวในภาคอุตสาหกรรมกล่าวว่า เหตุที่มีเอกชนเพียงรายเดียวเข้าร่วมยื่นข้อเสนอซองประมูล จากผู้ซื้อซองทั้งหมด 18 รายนั้น อาจเป็นเพราะเงื่อนไขการนำเข้าก๊าซ LNG กำหนดไว้ในช่วงของการขนถ่ายระยะแรกที่ 5 ล้านตันนั้นเป็นไปได้ยาก และยังคงกังวลกับผลตอบแทนทางการเงิน 2.5% ว่าน้อยเกินไปหากเทียบกับโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ที่คิดที่อัตรา 6% ซึ่งในทางเทคนิคถือว่ายาก และจะส่งผลต่อการกู้เงินลงทุนที่จะยากยิ่งกว่า รวมถึงเรื่องที่เอกชนบางราย อาจจะยังไม่มีความชำนาญในเรื่องท่าเรือที่มากพอ

สำหรับการพัฒนาโครงการท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด ระยะที่ 3 แบ่งออกเป็นภาครัฐ 12,900 ล้านบาท และ เอกชน 42,500 ล้านบาท โดยแบ่งเป็น 2 ช่วง คือ การพัฒนาและการบริหารโครงการ

การพัฒนาช่วงที่ 1 เป็นการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure) มีมูลค่าการลงทุนทั้งสิ้น 47,900 ล้านบาท โดย กนอ. จะเข้าร่วมลงทุนไม่เกิน 12,900 ล้านบาท และภาคเอกชน 35,000 ล้านบาท ซึ่งจะมีการขุดลอกและถมทะเล พื้นที่ 1,000 ไร่ แบ่งเป็นพื้นที่ใช้ประโยชน์ 550 ไร่ และพื้นที่เก็บกักตะกอน 450 ไร่

นอกจากนั้น จะเป็นงานขุดลอกร่องน้ำ และแอ่งกลับเรือ การก่อสร้างเขื่อนกันคลื่น การก่อสร้างสาธารณูปโภคพื้นฐานการติดตั้งอุปกรณ์ควบคุมการเดินเรือท่าเทียบเรือบริการ และท่าเรือก๊าซ รองรับปริมาณการขนถ่ายก๊าซได้ 10 ล้านตันต่อปี โดยเอกชนที่ได้รับการคัดเลือกเข้าพัฒนาโครงการในช่วงที่ 1 จะได้รับสิทธิในการบริหารและพัฒนาพื้นที่ท่าเรือ (Superstructure) ประมาณ 200 ไร่ เพื่อเพิ่มความคล่องตัวในการบริหารท่าเรือ และเพื่อรองรับการใช้บริการท่าเรือที่เพิ่มขึ้นในอนาคต

สำหรับแผนการพัฒนาในช่วงที่ 2 จะเป็นการลงทุนก่อสร้างท่าเรือ (Superstructure) ใช้เงินลงทุนประมาณ 4,300 ล้านบาท โดยเอกชนจะเป็นผู้ดำเนินการลงทุนและพัฒนาท่าเทียบเรือสินค้าเหลว รองรับปริมาณขนถ่ายสินค้าเหลวได้ 4 ล้านตันต่อปี คาดว่าจะเริ่มก่อสร้างในปี 2566 และเปิดให้บริการได้ภายในปี 2568 และงานก่อสร้างพื้นที่หลังท่า จำนวน 150 ไร่ เงินลงทุน 3,200 ล้านบาท เพื่อรองรับธุรกิจเกี่ยวเนื่อง


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เอง โดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save