การประชุมรับฟังความคิดเห็น ร่างหลักเกณฑ์ โครงการโรงไฟฟ้าชุมชน Quick Win เพื่อความยั่งยืนของเศรษฐกิจฐานราก


การประชุมรับฟังความคิดเห็น ร่างหลักเกณฑ์ โครงการโรงไฟฟ้าชุมชน Quick Win เพื่อความยั่งยืนของเศรษฐกิจฐานราก

กระทรวงพลังงานจัดการประชุมรับฟังความคิดเห็น ร่างหลักเกณฑ์เงื่อนไขการพิจารณาคัดเลือกผู้ผลิตไฟฟ้าขนาดเล็กมาก โครงการ Quick Win ซึ่งเป็นโครงการโรงไฟฟ้าชุมชนเพื่อเศรษกิจฐานราก โดยมีการพิจารณาคัดเลือกจากโรงไฟฟ้าที่ก่อสร้างแล้วเสร็จหรือใกล้จะเสร็จเข้าร่วมดำเนินโครงการ และเป็นโครงการเพื่อเศรษฐกิจฐานรากและพัฒนาด้านพลังงานไฟฟ้า มุ่งเน้นให้มีการผลิตพลังงานไฟฟ้าในชุมชนตามศักยภาพเชื้อเพลิงพลังงานสะอาดที่หาได้ในพื้นที่ และมีการนำไปใช้ในพื้นที่เป็นหลัก ประชาชนสามารถเข้าถึงพลังงานไฟฟ้าได้อย่างทั่วถึง มีราคาถูก โดยอาจใช้กองทุนส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานและกองทุนพัฒนาไฟฟ้าเป็นเครื่องมือในการส่งเสริมการขับเคลื่อนโครงการ

นายกุลิศ สมบัติศิริ

นายกุลิศ สมบัติศิริ ปลัดกระทรวงพลังงาน กล่าวว่า โครงการโรงไฟฟ้าชุมชนเพื่อเศรษฐกิจฐานราก จะเป็นการส่งเสริมให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการผลิตใช้และจำหน่ายไฟฟ้าอย่างยั่งยืน และเพื่อส่งเสริมให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการเป็นเจ้าของโรงไฟฟ้า สิ่งสำคัญเลยก็คือการส่งเสริมโรงไฟฟ้าที่ผลิตจากพลังงานหมุนเวียนตามศักยภาพเชื้อเพลิง และให้สอดคล้องกับความต้องการใช้ไฟฟ้าในพื้นที่สร้างความมั่นคงระบบไฟฟ้าในพื้นที่ลดภาระการลงทุนของภาครัฐ ส่งเสริมเศรษฐกิจฐานรากให้มีรายได้จากการจำหน่ายเชื้อเพลิงจากวัสดุทางการเกษตร การจำหน่ายไฟฟ้าอีกทั้งยังสร้างการยอมรับของชุมชนในการพัฒนาโครงการโรงไฟฟ้า จะต้องมีความพร้อมในองค์ประกอบหลัก 4 ส่วนคือ 1) อยู่ในพื้นที่ที่มีสายส่งรองรับ 2) โรงไฟฟ้มีความพร้อมก่อสร้างแล้วเสร็จหรือใกล้เสร็จแล้ว 3) เกษตรกรมีความพร้อมในการผลิตเชื้อเพลิงป้อนโรงไฟฟ้าและ 4) มีความพร้อมด้านภูมิศาสตร์เช่นพื้นที่บริเวณนั้นจะต้องมีน้ำเพียงพอจะปลูกพืชพลังงาน

โดยต้องมีหลักเกณฑ์ดังนี้

ผู้เสนอขอขายไฟฟ้า ต้องมีคุณสมบัติดังนี้

  1. เป็นนิติบุคคลที่จดทะเบียนตามกฎหมายไทย มีสำนักงานตั้งอยู่ในประเทศไทย
  2. จำนวนสมาชิกวิสาหกิจชุมชน หรือเครือข่ายวิสาหกิจชุมชน ไม่น้อยกว่า 200 ครัวเรือน
  3. โรงไฟฟ้า Hybrid ที่เสนอในครั้งนี้ต้องตั้งอยู่ในบริเวณเดียวกัน มีจุดเชื่อมโยงไฟฟ้าที่เดียวกัน
  4. มีเอกสารแสดงว่าพื้นที่ตั้งโรงไฟฟ้าไม่ขัดต่อกฎหมายผังเมือง หรือ กฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องในการตั้งโรงงาน
  5. ต้องมีเอกสารผลการตรวจสอบจุดเชื่อมโยงวงจรไฟฟ้าของสายส่งไฟฟ้า
  6. มีเอกสารแสดงหลักฐานผลการรับฟังความเห็นของชุมชน และเสนอหลักฐานการยอมรับของชุมชน
  7. มีเอกสารให้ความเห็นชอบในการตั้งโรงไฟฟ้าจากศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้
  8. ต้องเป็นโรงไฟฟ้าที่ไม่มีสัญญาผูกพันกับภาครัฐ และไม่ใช่โรงไฟฟ้า
  9. มีเอกสารในใบอนุญาตให้ก่อสร้างโรงงาน เช่น ตามระเบียบหรือกำหมายที่เกี่ยวข้องกำหนด
  10. ระบุความยินยอมในการติดตั้งระบบตรวจวัดและส่งข้อมูลให้ พพ.

การพิจารณาคะแนนด้านผลประโยชน์

  1. ส่วนแบ่งรายได้ที่เกิดจากการจำน่ายไฟฟ้าที่ยังไม่ได้หักค่าใช้จ่ายใด ๆ
  2. เงินพิเศษค่าเชื้อเพลิง
  3. สัดส่วนหุ้นบริสุทธิให้แก่วิสาหกิจชุมชน (ไม่น้อยกว่าร้อยละ 10)
  4. การรับประกันอัตราเงินปันผลประจำปีให้กับวิสาหกิจชุมชน
  5. เงินพิเศษสำหรับกิจกรรมเพื่ชุมชน
  6. การจ้างแรงงานภายในพื้นที่จังหวัดที่ตั้งโรงไฟฟ้า สำหรับดำเนินงานในการควบคุมและบำรุงรักษาโรงไฟฟ้า
  7. ผลประโยชน์หรือโครงการพัฒนาชุมชนด้านอื่น ๆ  ผู้ยื่นขอผลิตไฟฟ้าจะต้องมี้อเสนอว่า โรงไฟฟ้าจะเข้าไปมีส่วนร่วมยกระดับคุณภาพชีวิตของคนในชุมชนให้ดีขึ้นจากเดิม และต่อยอดให้เกิดความยั่งยืนในด้านต่าง ๆ ได้อย่างไร ช่วยให้เศรษฐกิจชุมชนมีความเข็มแข็งขึ้นได้อย่างไร

นายกุลิศ กล่าวเพิ่มเติมอีกว่า “ถ้าหากเป็นโครงการโรงไฟฟ้าชุมชนประเภทชีวมวลนั้น ที่มีการใช้วัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เช่น ฟางข้าว ซังข้าวโอ้ต ใบอ้อยสด ผู้ยื่นขอผลิตไฟฟ้าจะต้องบรรยายให้เห็นภาพว่าการตั้งโรงไฟฟ้าชุมชนจะช่วยลดการเผากลางแจ้งที่ก่อให้เกิดปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM. 2.5 ได้อย่างไรบ้าง และจะมีการสร้างรายได้จากการขายวัตถุดิบให้กับโรงไฟฟ้าเพิ่มขึ้นอย่างไร”

ดังนั้นโครงการโรงไฟฟ้าชุมชนเพื่อเศรษฐกิจฐานราก คือ โครงการจัดตั้งโรงไฟฟ้าที่ชุมชนนั้นมีส่วนร่วมในการดำเนินโครงการ และชุมชนจะต้องมีการรับรู้และเห็นชอบในก่อสร้างมีส่วนแบ่งรายได้ของโรงไฟฟ้าคืนกลับสู่ชุมชนผ่านกองทุนหมู่บ้าน โดยชุมชนเป็นหุ้นส่วนในการประกอบธุรกิจผลิตและจำหน่ายไฟฟ้าร่วมกับภาคเอกชนหรือองค์กรณ์ของรัฐผ่านทางวิสาหกิจชุมชน หากท่านใดสนใจสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.energy.go.th และสามารถสแกน QR Code เพื่อศึกษาหลักเกณฑ์เพิ่มเติม

 


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เอง โดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save