บทความโดย:
สเตฟาน นูสส์ ประธานกลุ่มคลัสเตอร์ ดูแลประเทศไทย ลาว และเมียนมา ชไนเดอร์ อิเล็คทริค (Schneider Electric)
หากคุณเสิร์ชกูเกิลหา “อุตสาหกรรมที่ไม่เคยมีมาก่อน เมื่อ 30 ปีที่แล้ว” คุณจะพบว่ามีเยอะมาก ในความเป็นจริง เป็นเรื่องยากมากที่จะจินตนาการถึงการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นภายในระยะเวลาอันสั้น ในช่วง 30 ปีที่ผ่านมาก่อนที่จะมี อินเทอร์เน็ต เราไม่มีทั้งดิจิทัลแบงก์กิ้ง ไม่มีอีคอมเมิร์ซ และไม่มีอินเทอร์เน็ต ออฟ ธิงส์ (IoT) แต่ภายใน 2-3 ทศวรรษ หลังเหตุการณ์สำคัญที่พลิกโฉมประวัติศาสตร์โลก เรามีระบบไอทีที่บูมมากที่เข้ามาขับเคลื่อนการปฏิวัติพลังงานสีเขียวด้วยซอฟต์แวร์ และมียานยนต์ไร้คนขับที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูล เหล่านี้เป็นแค่บางตัวอย่าง
อย่างไรก็ตาม ผลกระทบที่มีต่อผู้คนนั้นมีมากและเป็นไปในเชิงลึกครึ่งหนึ่งของประชากรโลก ในปัจจุบันอยู่บนโซเชียลมีเดีย และเราอาจจะนึกภาพไม่ออกเลยว่าชีวิตที่อยู่โดยไม่มีแอปฯ ที่ให้บริการเพลงและวิดีโอสตรีมมิ่งจะเป็นอย่างไร
ปัจจุบันการเปลี่ยนแปลงดูจะเป็นสิ่งเดียวที่แน่นอนและเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว นับตั้งแต่เริ่มมีการแพร่ระบาดของโควิด-19 แต่การเปลี่ยนแปลง จะทำให้อุตสาหกรรมไปอยู่ ณ จุดไหน อยู่ที่ผลผลิตทั่วโลกและการพัฒนา เศรษฐกิจในรูปแบบเดิม ๆ หรือไม่? หากเรามองเจาะไปเรื่องการผลิต ซึ่งเป็นหนึ่งในภาคส่วนที่ถูกมองว่าเป็นภาคที่ ‘ต่อต้านการเปลี่ยนแปลง’ มากที่สุด แม้ว่าจะมี AI และแมชชีนเลิร์นนิ่งเข้ามาก็ตาม กระบวนการด้านการผลิตก็ยังยากที่จะเปลี่ยนแปลงตลอดระยะเวลา 50 ปีที่ผ่านมา ยิ่งไปกว่านั้นผู้ผลิตก็ยังคงต้องพึ่งพาซัพพลายเชนทั่วโลก และกระบวนการประกอบสินค้าที่มี ความซับซ้อน ซึ่งทำให้เกิดความเสี่ยงในเรื่องข้อจำกัดในช่วงที่เกิดการระบาด พร้อมกับทัศนคติของผู้บริโภคก็เปลี่ยนไปด้วยเช่นกัน
เมื่อโลกเปลี่ยน ผู้ผลิตเปลี่ยนตามหรือไม่?
โลกไม่มีทางกลับมาเป็นเหมือนเดิมได้อีกต่อไป ปัจจุบันผู้บริโภคต้องการเห็นผลิตภัณฑ์ของตัวเองถูกผลิตขึ้นมาอย่างยั่งยืน ด้วยขุมพลังของพลังงานสะอาดและแหล่งพลังงานในพื้นที่ คนเหล่านี้ต้องการเห็นเม็ดเงินที่ตัวเองสนับสนุนไปอยู่ที่การลงทุนในระดับภูมิภาคในเรื่องของทักษะ นวัตกรรมและการสร้างงาน และจุดนี้เป็นสิ่งที่กระบวนการในระบบดิจิทัล และระบบออโตเมชันที่ก้าวหน้าในอุตสาหกรรมเข้ามามีบทบาทอย่างแท้จริง มันเป็นช่วงเวลาสำหรับภาคการผลิตที่จะตามรอยอุตสาหกรรมที่ประสบความสำเร็จในการปฏิรูปตัวเองสู่ความเป็นสีเขียวอย่างแท้จริงและมีความเป็นมนุษย์อยู่ในกระบวนการรวมถึงเป็นหนึ่งในภาคส่วนของเศรษฐกิจที่ดำเนินการได้มี ประสิทธิภาพยิ่งขึ้น วงจรด้านนวัตกรรมต่าง ๆ ที่สั้นลงอย่างมากพร้อมกับความต้องการที่มาเป็นช่วงเวลา ต้องอาศัยกลยุทธ์ใหม่เพื่อช่วยให้บรรลุเป้าหมายในระดับของผลผลิต ความคล่องตัว และผลกำไรจากผู้ที่มีบทบาทในอุตสาหกรรมปัจจุบัน
ระบบออโตเมชันที่ใช้งานได้ครอบคลุมทุกรูปแบบ (Universal Automation) คืออนาคต
หากยังจำสงครามที่เกิดขึ้นระหว่างฟอร์แมทวิดีโอ แบบ VHS และ VCR ได้ มีเพียง DVD และเทคโนโลยี สตรีมมิ่งที่เหนือชั้นเท่านั้นที่จะครองความเป็นหนึ่ง เนื่องจากผู้มาก่อนใช้ทั้งเวลาและพลังงานไปกับการปกป้องสิ่งที่เป็น ความล้ำค่าสืบทอดมาจากในอดีตมากกว่าการสร้างสรรค์ นวัตกรรมใหม่หรือไม่? ด้วยเหตุผลเดียวกันนี้เอง โลกในวันนี้ จึงถูกขับเคลื่อนด้วยขุมพลังของดาต้าเซ็นเตอร์สีเขียว
เราต่างยอมรับข้อจำกัดบางอย่างของระบบออโตเมชันของอุตสาหกรรม ทั้งข้อจำกัดเรื่องไม่มีการแยกการทำงานเป็นโมดูล รวมถึงอุปสรรคที่จำกัดความสามารถในการปรับเปลี่ยนและปิดกั้นนวัตกรรม ทั้งที่อุตสาหกรรมน่าจะรับมือกับการต่อต้านการเปลี่ยนแปลงได้ เนื่องจากการเติบโตของผลผลิตดำเนินไปได้ทีละนิดเป็นตัวเลขเปอร์เซ็นต์หลักเดียว สนับสนุนด้วยการเติบโตที่แข็งแกร่งของเศรษฐกิจ ในวันนี้คนที่ไม่สามารถเข้าถึงโรงงานอัจฉริยะ ระบบมอนิเตอร์การดำเนินงานจากระยะไกล และการวิเคราะห์การผลิตที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูลควรขวนขวายเพื่อตามเรื่องเหล่านี้ให้ทันทีมากกว่านั้นก็คือ ผู้ผลิตหลาย ๆ รายไม่สามารถใช้เทคโนโลยีด้านการผลิตที่ดีที่สุดมาตอบโจทย์ความต้องการได้อย่างรวดเร็ว ต้องทนทุกข์จากสถานการณ์ปัจจุบันที่ผู้จำหน่าย ปิดกั้นนวัตกรรมล้ำหน้าด้านนอุตสาหกรรมที่มีอยู่แล้ว
ในขณะที่การคิดค้นนวัตกรรมยุคแรก ๆ เช่น คอมพิวเตอร์เมนเฟรม ถือเป็นสิ่งล้าสมัยไปแล้วสำหรับ ปัจจุบัน ความจริงก็คือการเปลี่ยนแปลงเป็นเรื่องที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ในแง่ของอุตสาหกรรม เราควรจะตอบรับอนาคตและยอมรับความเป็นไปได้ต่าง ๆ ที่มาจากมาตรฐานระบบออโตเมชันของอุตสาหกรรมที่ให้ความเหนือชั้นในการใช้งานได้อย่างกว้างขวาง มีสถาปัตยกรรมระบบเปิดที่เป็นมาตรฐาน และมีระบบนิเวศในการสร้าง และใช้งานแอปพลิเคชันได้ง่าย ซึ่งจะช่วยปรับปรุงการดำเนินงานเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงที่จำเป็นต่อการดำเนินธุรกิจได้อย่างรวดเร็วให้เท่าทันต่อโลกดิจิทัล สิ่งนี้เรียกว่า Universal Automation หรือระบบออโตเมชันที่เป็นสากลรองรับการใช้งานได้ทั่วไป และได้มาตรฐาน IEC 61499 ซึ่งมีอยู่แล้วในปัจจุบัน
ทั้งนี้ เมื่อแยก Universal Automation ออกจากวงจรการทำงานของฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ ทั้งนวัตกรรมและการอัปเกรดสามารถพัฒนาไปในเชิงการแข่งขันได้ ด้วยความสามารถพิเศษด้านวิศวกรรมและการลงทุนที่เทน้ำหนักไปในทิศทางเดียวกัน แนวทางที่มีมาตรฐานที่แก้ปัญหาใหญ่ที่สุดของอุตสาหกรรมได้ นับเป็น แนวทางเดียวที่จะทำให้อุตสาหกรรมของเรามีความคล่องตัวขึ้นยั่งยืนขึ้น และรองรับอนาคตได้ดี
การเปลี่ยนแปลงจากรากฐานต้องใช้ทั้งเวลาและทรัพยากร อีกทั้งยากที่จะเกิดขึ้นได้ภายในชั่วข้ามคืน อย่างไรก็ตาม เรามีหน้าที่รับผิดชอบในการพึ่งพาเทคโนโลยีเหล่านี้ที่มอบโอกาสที่ดีที่สุดสำหรับอนาคต ซึ่งการที่เราทุ่มเทพลังงานและทรัพยากรในวันนี้ จะเป็น ตัวกำหนดอนาคตของเราในวันหน้า และหากเราเรียนรู้บางสิ่งจากอดีต ก็จะพบว่าเทคโนโลยีล้ำหน้าที่ให้ประโยชน์หลากหลายและอำนวยความสะดวกได้มากที่สุด จะช่วยให้เราเอาชนะได้ในที่สุด
นวัตกรรมคือหัวใจหลักสู่ความยืดหยุ่น และคล่องตัว
เมื่อเรามองไปยังอนาคต เราไม่สามารถทำนายได้ว่าจะเกิดอะไรขึ้นต่อไปในอนาคต แต่เราสามารถเตรียมพร้อมรับมือกับความท้าทายครั้งใหญ่ที่สุดที่ทำให้เราตื่นขึ้นมา กลางดึกด้วยความกังวลใจ ตั้งแต่โควิด-19 สู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอย ตลอดจนการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การคิดค้นนวัตกรรมและนำโซลูชันที่ดีที่สุดมาใช้ได้ในแบบที่ต้องการ จะช่วยให้เราสามารถก้าวต่อไปได้อย่างเข้มแข็งยิ่งขึ้น การปฏิวัติในลักษณะเดียวกันที่ส่งผลมากถึงภาคไอทีสามารถเกิดขึ้นได้อีก แต่ครั้งนี้เกิดกับภาคการผลิต อย่างไรก็ตาม ก่อนที่จะเกิดการปฏิวัติดังกล่าวอุตสาหกรรมต้องลืมวิธีคิดแบบเก่า ระบบงานแบบเดิม ๆ และ การดำเนินการแบบไซโลที่ไม่เคยเพียงพอ พร้อมกับตอบรับการมาของแนวทางการดำเนินงานที่มีซอฟต์แวร์เป็นศูนย์กลาง ซึ่งรองรับการใช้งานได้หลากหลาย (Universal Software) อีกทั้งขับเคลื่อนการทำงานด้วยข้อมูล จะช่วยให้รองรับอนาคตได้แบบ 100 เปอร์เซ็นต์เต็ม
เรารู้ดีว่าเราต้องตอบโจทย์ความท้าทายในภาคการผลิตกันอย่างเร่งด่วน ทั้งด้านผลผลิต ความน่าเชื่อถือ และ ความยั่งยืน อย่างไรก็ตาม เราจะไม่มีทางรู้เลยว่าระบบออโตเมชันที่ใช้งานได้ครอบคลุมทุกรูปแบบในอุตสาหกรรม จะเปลี่ยนแปลงโลกได้มากขนาดไหนก่อนที่เราจะนำมันมาใช้อย่างเต็มที่ด้วยความเต็มใจ