ครม. ไฟเขียว อนุมัติ กฟน. เดินหน้าแผนงานเปลี่ยนระบบสายไฟฟ้าอากาศเป็นสายไฟฟ้าใต้ดินฉบับปฏิบัติการเร่งรัด (Quick Win)


ครม. มีมติเห็นชอบแผนงานเปลี่ยนระบบสายไฟฟ้าอากาศเป็นสายไฟฟ้าใต้ดินฉบับปฏิบัติการเร่งรัด (Quick Win) ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ ให้ กฟน. ดำเนินการภายใต้วงเงินลงทุนรวมทั้งสิ้น 3,673.40 ล้านบาท ใช้เงินกู้ในประเทศ 2,500 ล้านบาท และเงินรายได้ของกฟน. 1,173.40 ล้านบาท ระยะทางรวม 20.5 กม. จำนวน 3 โครงการ โดยเร่งดำเนินการในส่วนแนวรถไฟฟ้าก่อน

ครม. ไฟเขียว อนุมัติ กฟน. เดินหน้าแผนงานเปลี่ยนระบบสายไฟฟ้าอากาศเป็นสายไฟฟ้าใต้ดินฉบับปฏิบัติการเร่งรัด (Quick Win)

นางสาวไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่าคณะรัฐมนตรี (ครม) เห็นชอบให้การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) ดำเนินแผนเปลี่ยนระบบสายไฟฟ้าอากาศ เป็นสายไฟฟ้าใต้ดิน ระยะทางรวม 20.5 กิโลเมตร วงเงินลงทุนรวม 3,673.40 ล้านบาท

โดยแบ่งเป็น 3 เส้นทาง ได้แก่ 1] เส้นทางรถไฟฟ้าสายสีม่วง ถนนรัตนาธิเบศร์ ช่วงถนนราชพฤกษ์-ถนนกาญจนาภิเษก ระยะทาง 4.4 กิโลเมตร วงเงินลงทุน 745.2 ล้านบาท 2] เส้นทางถนนกรุงเทพฯ-นนทบุรี-ถนนติวานนท์ ระยะทาง 10.6 กิโลเมตร วงเงินลงทุน 1037.6 ล้านบาท และ 3] เส้นทางรถไฟฟ้าสายสีเขียว ถนนสุขุมวิท ซอยสุขุมวิท 81 – ซอยแบริ่ง ระยะทาง 5.5 กิโลเมตร วงเงินลงทุน 931 ล้านบาท ซึ่งคาดว่าการดำเนินการดังกล่าวจะแล้วเสร็จภายในระยะเวลา 3-4 ปี

สำหรับการอนุมัติแผนงานเปลี่ยนระบบสายไฟฟ้าอากาศเป็นสายไฟฟ้าใต้ดินฉบับปฏิบัติการเร่งรัด (Quick Win) สืบเนื่องจาก กฟน. ได้ดำเนินการเปลี่ยนระบบสายไฟฟ้าอากาศเป็นสายไฟฟ้าใต้ดินรวมระยะทาง 215.6 กิโลเมตร ซึ่งปัจจุบัน กฟน. ได้ดำเนินการแล้วเสร็จเป็นระยะทาง 46.6 กิโลเมตร และอยู่ระหว่างดำเนินการอีกกว่า 169 กิโลเมตร แต่การดำเนินการบางส่วนต้องรอดำเนินการพร้อมหน่วยงานสาธารณูปโภคอื่นๆ ทำให้แผนงานของ กฟน. มีความล่าช้า อีกทั้งภาครัฐมีนโยบาย ให้ กฟน. ดำเนินการลงทุนโครงการสายไฟฟ้าใต้ดินในพื้นที่เหมาะสมให้เร็วขึ้นจากแนวโน้มความต้องการใช้พลังงานที่เพิ่มขึ้น จึงมีความจำเป็นต้องเพิ่มขีดความสามารถของระบบจำหน่ายไฟฟ้าเพื่อรองรับความต้องการไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นให้มีเพียงพอ รวมถึงความพร้อมในการดำเนินโครงการ โดยมีการดำเนินการร่วมไปกับโครงการรถไฟฟ้า

ทั้งนี้ แผนการลงทุนทั้งหมดได้ผ่านการเห็นชอบจากคณะกรรมการการไฟฟ้านครหลวง สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) แล้ว


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เอง โดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save