การพยากรณ์อากาศที่เแม่นยำจากโซลูชันประมวลผลสมรรถนะสูง


เมื่อเร็วๆ นี้ บริษัท ฮิวเลตต์-แพคการ์ด เอ็นเตอร์ไพรส์ (Hewlett Packard Enterprise : HPE) แถลงถึงความร่วมมือกับกรมอุตุนิยมวิทยา (TMD) กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมในการนำโซลูชันประมวลผลสมรรถนะสูง (HPC) เพื่อให้สามารถพยากรณ์อากาศและคาดการณ์ภัยพิบัติทางธรรมชาติได้อย่างแม่นยำยิ่งขึ้น

การพยากรณ์อากาศที่เแม่นยำจากโซลูชันประมวลผลสมรรถนะสูง

บริษัท ฮิวเลตต์-แพคการ์ด เอ็นเตอร์ไพรส์ เป็นผู้นำด้านเทคโนโลยีระดับโลก มุ่งเน้นการพัฒนาโซลูชันอัจฉริยะที่จะช่วยให้ลูกค้าสามารถจับภาพ วิเคราะห์ และใช้งานข้อมูลได้อย่างต่อเนื่องจากการใช้งานที่ Edge ไปสู่คลาวด์ (Cloud) HPE จะช่วยให้ลูกค้าสามารถเร่งประสิทธิผลทางธุรกิจโดยการผลักดันรูปแบบธุรกิจใหม่ สร้างประสบการณ์ใหม่ๆ รวมถึงเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานทั้งในปัจจุบัน และมุ่งหน้าสู่อนาคต

เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพเพื่อตอบโจทย์ความต้องการด้านการดูแลรักษา การปรับขนาดตามรูปแบบงาน และเพิ่มความสามารถในการทำงานของแบบจำลองสภาพอากาศ Weather Research and Forecast (WRF) ที่จะช่วยในการวิจัยสภาพบรรยากาศและการดำเนินการพยากรณ์อากาศ กรมอุตุนิยมวิทยาได้เลือกเซิร์ฟเวอร์HPE Apollo 2000 ที่มีความสามารถโดดเด่นในการจัดเก็บข้อมูลโดยใช้ HPE 3PAR Storage ความจุรวมขนาด 3PB ซึ่งเป็นระบบจัดเก็บข้อมูลระดับโลก ที่ถูกออกแบบมาให้สามารถทำงานได้อย่างราบรื่นกับ HPE Apollo Server

ในฐานะที่เป็นองค์กรหลักของประเทศไทย ที่รับผิดชอบการพยากรณ์อากาศและภัยพิบัติทางธรรมชาติ กรมอุตุนิยมวิทยาได้วางแผนการบริหารจัดการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศทางอุตุนิยมวิทยาที่จะมาช่วยคำนวณข้อมูลขนาดใหญ่เพื่อสร้างแบบจำลองสภาพอากาศ เพื่อให้มั่นใจได้ว่าจะสามารถพยากรณ์สภาพอากาศและแนวโน้มการเกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติในพื้นที่ที่มีการระบุความเสี่ยงได้อย่างมีประสิทธิภาพและแม่นยำการพยากรณ์อากาศและภัยธรรมชาติจำเป็นต้องมีเทคโนโลยีที่ใช้คอมพิวเตอร์สมรรถนะสูงในการปรับระดับความถูกต้องแม่นยำในการคาดการณ์สภาพอากาศทั้งในปัจจุบัน การคาดการณ์ระยะสั้น และการคาดการณ์ในระยะยาว

ในการนี้ บุญเลิศ อาชีวระงับโรค ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านวิจัยและพัฒนาอุตุนิยมวิทยา กรมอุตุนิยมวิทยา กล่าวว่า “ประเทศไทย จำเป็นต้องใช้ข้อมูลของหน่วยงานของเราในการช่วยคาดการณ์สภาพอากาศอย่างแม่นยำ เพื่อนำข้อมูลไปบริหารจัดการประเทศในมิติต่างๆ ซึ่งไม่ใช่เพียงการคาดการณ์สภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง แต่ยังรวมถึงภัยพิบัติทางธรรมชาติขนาดใหญ่ เช่น พายุไซโคลนเขตร้อน หรือพายุชายฝั่งที่อาจจะสร้างความเสียหายต่อเศรษฐกิจ ต่อทรัพยากร รวมถึงประชาชน ทั้งทรัพย์สินและการดำเนินชีวิตของพวกเขา ซึ่งกรมอุตุนิยมวิทยาได้พิจารณาแล้วว่าบริษัท HPE มีโซลูชันที่มีความโดดเด่นในด้านไฮบริดไอทีโซลูชันอันล้ำสมัยในระดับโลกที่ตอบโจทย์ความต้องการของเรา โดยช่วยสนับสนุนระบบบริหารจัดการ Mission Critical ของหน่วยงานที่รับผิดชอบ และตอบสนองความต้องการของประเทศได้”

ระบบการจำลองสภาพอากาศ ที่ขับเคลื่อนด้วยระบบประมวลผลสมรรถนะสูง พร้อมช่วยให้กรมอุตุนิยมวิทยาสามารถคาดการณ์ปริมาณน้ำฝนในระยะพื้นที่ 4 ตารางกิโลเมตร และสามารถพยากรณ์สภาพอากาศล่วงหน้าได้มากกว่า 7 วัน ไม่ว่าจะเป็นรายเดือนหรือรายฤดูกาล ที่สำคัญยังช่วยให้กรมอุตุนิยมวิทยาสามารถสนับสนุนการพัฒนานโยบายของรัฐบาลในด้านการบริหารจัดการน้ำอย่างยั่งยืน และปรับปรุงระบบการป้องกันภัยพิบัติทางธรรมชาติโดยรวม

“กรมอุตุนิยมวิทยาได้มองหาโซลูชันในการบริหารจัดการปริมาณงานที่ไม่สามารถคาดการณ์ได้ เพื่อให้สามารถพยากรณ์อากาศได้อย่างถูกต้องแม่นยำ โซลูชันของเราจะช่วยให้กรมอุตุนิยมวิทยาสามารถบริหารจัดการระบบเทคโนโลยีสารสนเทศด้านอุตุนิยมวิทยาที่มีโครงสร้างที่ยืดหยุ่น ให้สามารถปรับขนาดได้ และสามารถบริหารต้นทุนให้คุ้มกับงบประมาณ โซลูชันของ HPE สามารถช่วยเร่งประสิทธิภาพการทำงานของ Mission Critical Application ที่สำคัญและปรับปรุงการคาดการณ์ได้” พลาศิลป์ วิชิวานิเวศน์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ฮิวเลตต์-แพคการ์ด เอ็นเตอร์ไพรส์ ประเทศไทยกล่าวปิดท้าย


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เอง โดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save