บมจ.โกลว์ พลังงาน พร้อมโชว์ศักยภาพเทคโนโลยีโรงไฟฟ้าในงาน IEEE PES GTD Asia 2019


บมจ.โกลว์ พลังงาน พร้อมโชว์ศักยภาพเทคโนโลยีโรงไฟฟ้าในงาน IEEE PES GTD Grand International Conference and Exposition Asia 2019

บริษัท โกลว์ พลังงาน จำกัด (มหาชน) หรือ โกลว์ ผู้ดำเนินธุรกิจด้านพลังงาน ซึ่งมีประสบการณ์ในการผลิตจำหน่ายกระแสไฟฟ้า ไอนํ้า นํ้าเพื่อการอุตสาหกรรมและนํ้าเย็น มาตลอดระยะเวลากว่า 20 ปี ปัจจุบันมีกำลังการผลิตไฟฟ้าที่ 3,207 เมกะวัตต์ ไอนํ้า 1,206 ตัน/ชั่วโมง หรือ 3,500 เมกะวัตต์เทียบเท่า โดยโกลว์เป็นหนึ่งในหลายบริษัทชั้นนำทางด้านอุตสาหกรรมพลังงานไฟฟ้าของไทย ที่พร้อมโชว์ศักยภาพด้านเทคโนโลยีโรงไฟฟ้า ในงานประชุมวิชาการและนิทรรศการระดับนานาชาติ IEEE PES GTD Grand International Conference and Exposition Asia 2019 ซึ่ง IEEE Power & Energy Society – Thailand และ สถาบันวิชาชีพวิศวกรไฟฟ้าและอิเลคโทรนิคส์แห่งประเทศไทย (IEEE Thailand Section) จัดขึ้นอย่างยิ่งใหญ่เป็นครั้งแรกในเอเชีย และครั้งแรกในประเทศไทย ภายใต้แนวคิด “Big Shift in Power and Energy” ในระหว่างวันที่ 19-23 มีนาคม พ.ศ. 2562 ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา

ปจงวิช พงษ์ศิวาภัย รองกรรมการผู้จัดการใหญ่สายการเงิน บริษัท โกลว์ พลังงาน จำกัด (มหาชน) หรือ โกลว์
ปจงวิช พงษ์ศิวาภัย

เผยมีบริษัทผลิตไฟฟ้าสัญชาติไทยแข่งขันมากขึ้นผู้บริโภคได้รับประโยชน์

ปจงวิช พงษ์ศิวาภัย รองกรรมการผู้จัดการใหญ่สายการเงิน บริษัท โกลว์ พลังงาน จำกัด (มหาชน) หรือ โกลว์ กล่าวว่า บริษัทโกลว์ถือหุ้นโดยบริษัทเอ็นจีผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนรายใหญ่ระดับโลก ซึ่งมีนโยบายในการทำงานเดียวกับผู้ถือหุ้นรายใหญ่ที่อยู่ในนระดับสากล ทำให้วิธีการบริหารงาน การเดินระบบเครื่องจักร รวมทั้งการบำรุงรักษาเครื่องจักรเป็นมาตรฐานเดียวกันทั่วโลก นับเป็นจุดแข็งที่ทำให้บริษัทฯ ได้เปรียบคู่แข่งรายอื่นๆ และด้วยประสบการณ์ในธุรกิจพลังงานมายาวนานกว่า 20 ปี จึงเห็นการเปลี่ยนแปลงธุรกิจด้านพลังงานมาโดยตลอด นับตั้งแต่รัฐบาลเปิดโอกาสให้บริษัทเอกชนประกอบธุรกิจผลิตไฟฟ้าในรูปแบบของผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนรายใหญ่ (Independent Power Producer : IPP) ผู้ผลิตไฟฟ้ารายเล็ก (Small Power Producer : SPP) และผู้ผลิตไฟฟ้าขนาดเล็กมาก (Very Small Power Producer : VSPP) จนถึงปัจจุบัน ตลาดอุตสาหกรรมผลิตไฟฟ้าในประเทศไทยมีการแข่งขันสูงมากขึ้น มีบริษัทที่ร่วมลงทุนในธุรกิจ IPP, SPP และ VSPP รวมทั้งพลังงานแสงอาทิตย์จำนวนมากกว่า 30 บริษัท โดยผู้ผลิตไฟฟ้าดังกล่าวเป็นบริษัทสัญชาติไทยที่ร่วมแข่งขันกับบริษัทต่างชาติสูงมากขึ้น นับเป็นเรื่องดีสำหรับประเทศไทย เนื่องจากการแขง่ ขันยิ่งมากขึ้น สุดท้ายแลว้ ผู้บริโภคจะได้รับประโยชน์สูงสุด

“ประเด็นการเพิ่มการแข่งขันในธุรกิจไฟฟ้าเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยสร้างเสริมความรู้ความสามารถของบุคลากรภายในประเทศ ซึ่งไม่ได้จำกัดอยู่ในเฉพาะหน่วยงานราชการเพียงอย่างเดียว บริษัทเอกชนเองก็ต้องมีความพร้อมในเรื่องของทรัพยากรมนุษย์ที่จะสามารถพัฒนาธุรกิจในด้านพลังงานไฟฟ้าได้หลากหลายทั้งจากพลังงานถ่านหิน ก๊าซธรรมชาติ หรือพลังงานทางเลือกได้” ปจงวิช กล่าว

เมื่อมีการแข่งขันกันภายในประเทศสูง มีผู้ผลิตไฟฟ้า หลายราย ประกอบกับบริษัทต่างๆ ต้องการพัฒนาธุรกิจด้านพลังงานให้เติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง บริษัทไทยจึงมีความจำเป็นที่จะต้องออกไปทำธุรกิจในต่างประเทศมากขึ้น ในส่วนของโกลว์ก็มีการขยายการลงทุนและการพัฒนาธุรกิจในต่างประเทศเช่นกัน อาทิ สปป.ลาว เวียดนาม และอินโดนีเซีย

การที่บริษัทไทยไปลงทุนในต่างประเทศ ทำให้ต้องพัฒนาศักยภาพในการทำธุรกิจมากยิ่งขึ้น เพราะจะต้องไปแข่งขันกับต่างชาติที่ดำเนินธุรกิจอยู่ในประเทศนั้นๆ หรือนักลงทุนต่างชาติที่เข้ามาแข่งขันรวมทั้งนักลงทุนชาวจีน ทำให้การแข่งขันไม่มีขีดจำกัด ดังนั้นบริษัทไทยจึงต้องพัฒนาให้ก้าวสู่ระดับ World Class ทั้งในด้านการลงทุน การติดต่อกู้ยืมเงินจากธนาคาร การตั้งทีมพัฒนา การดำเนินงานการเดินเครื่องจักร รวมถึงการบำรุงรักษาโรงไฟฟ้า

แผนธุรกิจของโกลว์ปี พ.ศ. 2562

แผนธุรกิจของโกลว์ปี พ.ศ. 2562 สอดรับกับแผน PDP ฉบับใหม่

ปจงวิช กล่าวว่า ทิศทางการพัฒนาโรงไฟฟ้าจะเปลี่ยนไปใช้พลังงานทางเลือกจากหลายๆ แหล่งมากขึ้น อย่างไรก็ตาม คงไม่ได้แปลว่าเราจะพึ่งพาพลังงานทางเลือกเพียงอย่างเดียว เพราะประเทศต้องรักษาสมดุลของการผลิตพลังงาน เนื่องจากโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่ยังต้องเป็นแหล่งผลิตไฟฟ้าที่มีความมั่นคง ดังปรากฏอยู่ในแผนพัฒนากำลังการผลิตไฟฟ้า (Power Development Plan : PDP 2018) พ.ศ. 2561-2580 ซึ่งสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) กระทรวงพลังงานจัดทำขึ้น ล่าสุดเมื่อวันที่ 24 มกราคม ที่ผ่านมา ที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) ได้มีมติเห็นชอบแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย พ.ศ. 2561-2580 (PDP 2018) ภายใต้แผนจะมีกำลังผลิตไฟฟ้าทั้งสิ้น ถึงปี พ.ศ. 2580 ที่ 77,211 เมกะวัตต์ โดยเป็นกำลังผลิตไฟฟ้าใหม่ ในช่วงปี พ.ศ. 2561-2580 ทั้งสิ้น 56,431 เมกะวัตต์ นอกจากนี้ที่ประชุมยังเห็นชอบต่ออายุสัญญาให้ครอบคลุม SPP ระบบ Co-Generation ให้สอดคล้องกับมติ กพช.เดิม เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2559 จำนวน 25 ราย จำหน่ายไฟตามสัญญา 1,787 เมกะวัตต์ แบ่งเป็นเชื้อเพลิงก๊าซธรรมชาติ 20 ราย และถ่านหิน 5 ราย ที่สิ้นสุดอายุสัญญา ในปี พ.ศ. 2559-2568 ได้รับการต่ออายุสัญญา หรือก่อสร้างโรงไฟฟ้าใหม่ อายุสัญญา 25 ปี โดยให้ใช้เชื้อเพลิงตามสัญญาเดิม

สำหรับแผนการดำเนินธุรกิจของโกลว์ในประเทศไทยในปี พ.ศ. 2562 นี้ จะสอดรับกับแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้า (PDP 2018) ฉบับใหม่ โดยปัจจุบันโกลว์ มีโรงไฟฟ้า IPP ขนาดใหญ่ในประเทศไทย 2 แหง่ ตั้งอยูที่นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด จังหวัดระยอง และนิคมอุตสาหกรรมดับบลิวเอชเอ ชลบุรี จังหวัดชลบุรี เมื่อรัฐบาลเปิดโอกาสให้เข้าแข่งขันในการพัฒนาโรงไฟฟ้า IPP โกลว์ก็พร้อมที่จะแข่งขันประมูล เนื่องจากบริษัทฯ มีความชำนาญอยู่แล้ว

กลุ่มธุรกิจที่ 2 คือ ธุรกิจผู้ผลิตไฟฟ้าพลังความร้อนร่วมและไอนํ้า (Co-Generation) ซึ่งจำหน่ายไฟฟ้าและไอนํ้าให้กับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (EGAT) และลูกค้าอุตสาหกรรมที่ตั้งอยู่ในนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุดและนิคมฯ ใกล้เคียง ทั้งนี้ สัญญาซื้อขายไฟฟ้า SPP ที่ทำกับ EGAT กำลังจะหมดสัญญาลงเป็นที่น่ายินดีที่รัฐบาลมีมติเห็นชอบต่ออายุโรงไฟฟ้า SPP ระบบ Co-Generation ทั้ง 25 โรง


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เอง โดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save