เขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EECi) ตอนที่ 2


มาติดตามกันต่อ สำหรับเรื่องราวของ เขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EECi) จากที่ในตอนแรก ได้พูดถึง ARIPOLIS เมืองนวัตกรรมระบบอัตโนมัติ หุ่นยนต์ และอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ กันไปแล้ว ในตอนที่ 2 นี้ จะมาต่อกันที่เรื่องราวของ BIOPOLIS เมืองนวัตกรรมชีวภาพ, SPACE INNOPOLIS การมุ่งพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมแบบครบวงจร, FOOD INNOPOLIS การนำวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และนวัตกรรมผนวกเข้ากับการพัฒนาอุตสาหกรรมอาหาร รวมถึงสิทธิประโยชน์ต่างๆ ที่จะได้รับจากการลงทุนในเขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EECi)

BIOPOLIS เมืองนวัตกรรมชีวภาพ

มุ่งพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม รวมถึงการจัดเตรียมโครงสร้างพื้นฐานเพื่อการขยายผลงานวิจัยไปสู่การใช้ประโยชน์ (Translational Research) รองรับการพัฒนาอุตสาหกรรมเป้าหมายของประเทศทั้งในกลุ่มต่อยอดอุตสาหกรรมเดิมและอุตสาหกรรมแห่งอนาคต โดยในระยะแรก มีสาขาเทคโนโลยีเป้าหมาย (Strategic Technology Area) ประกอบด้วย (1) นวัตกรรมเกษตร (Innovative Agriculture) (2) การผลิตสารที่ให้ประโยชน์ เชิงหน้าที่ (Functional Ingredient) (3) เทคโนโลยีเคมีและชีวกระบวนการ (Chemical & Bioprocess Technology) เพื่อรองรับการพัฒนาผลิตภัณฑ์ของอุตสาหกรรมชีวภาพ

กลุ่มเทคโนโลยีที่มุ่งเน้นใน BIOPOLIS
กลุ่มเทคโนโลยีที่มุ่งเน้นใน BIOPOLIS

Innovative Agriculture

ทิศทางการเกษตรของประเทศไทยจะต้องมุ่งสู่การเกษตรแบบที่เน้นการเพิ่มมูลค่าและความยั่งยืน ด้วยการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมตอบโจทย์ทั้งการเพิ่มผลผลิตให้เพียงพอกับความต้องการที่เพิ่มขึ้น สร้างดุลยภาพระหว่างการเพิ่มปริมาณผลผลิตกับการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์สูงสุด ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และมีความสามารถในการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศโดยการปรับเปลี่ยนจากการทำเกษตรแบบดั้งเดิม (Traditional Farming) สู่การเกษตรสมัยใหม่ (Modern Farming) ด้วยการพัฒนาและใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมเข้มข้นมากขึ้น ตั้งแต่การปรับปรุงพันธุ์ การเพาะปลูกการเลี้ยงสัตว์ การแปรรูป จนถึงการตลาด เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและยกระดับรายได้เกษตรกรให้สูงขึ้น

การพัฒนานวัตกรรมเกษตรสนับสนุนการทำเกษตรสมัยใหม่ (Modern Farming) โดยจัดเตรียมโครงสร้างพื้นฐานสำคัญ ได้แก่ ระบบ High Throughput Phenotyping Screening ในระดับโรงเรือนและระดับภาคสนาม เป็นระบบตรวจสอบการทำงานของพืชที่ตอบสนองต่อสภาวะแวดล้อมที่เปลี่ยนไป ซึ่งเป็นเงื่อนไขความสำเร็จที่สำคัญของการร่นระยะเวลาของการปรับปรุงพันธุ์ให้ได้ลักษณะดีเด่นเร็วขึ้น ให้ทันกับความต้องการของตลาดและเกษตรกร รวมทั้งการพัฒนาเทคโนโลยีเกษตรแม่นยำ ระบบ Plant Factory เน้นการประยุกต์เพื่อพัฒนาต้นแบบและการสาธิตเทคโนโลยีการผลิตพืชมูลค่าสูงในระบบโรงเรือนแบบปิด โดยศูนย์ฯ แห่งนี้ทำหน้าที่ปรับแต่งเทคโนโลยีให้เหมาะสมกับชนิดพืชที่ปลูกของประเทศไทยและมีต้นทุนที่เกษตรกรเข้าถึงได้ ต้นแบบสาธิตระบบเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำแบบปิดที่มีการควบคุมสภาวะแวดล้อมภายในระบบเลี้ยงให้เหมาะสมกับการเติบโตของสัตว์น้ำแต่ละชนิดในสภาพความหนาแน่นสูงและมีการหมุนเวียนน้ำให้สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ รวมถึงใช้ในการทดสอบอาหาร วัคซีนและผลงานวิจัยด้านสัตว์น้ำในระบบเพาะเลี้ยงระดับก่อนเชิงพาณิชย์ การจัดตั้งศูนย์เพื่อพัฒนาอุปกรณ์ทางการเกษตรอัจฉริยะ เช่น เซนเซอร์ควบคุมการให้น้ำ การให้ปุ๋ย อุปกรณ์ตรวจเช็คสภาพแปลงอย่างแม่นยำ เพื่อเป้าหมายเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้ทรัพยากรและลดต้นทุนการผลิต นอกจากนี้ โครงสร้างพื้นฐานเหล่านี้ยังทำหน้าที่เป็นแหล่งในการบ่มเพาะสตาร์ตอัปทางด้านเทคโนโลยีการเกษตรสมัยใหม่เพื่อการสร้างและกระจายเทคโนโลยีสมัยใหม่ไปสู่เกษตรกรในวงกว้างและเป็นฐานผลักดันให้ประเทศก้าวสู่การเป็นผู้ส่งออกนวัตกรรมทางด้านการเกษตรสมัยใหม่

ตัวอย่างโครงสร้างพื้นฐานของศูนย์นวัตกรรมการเกษตร

ภายใต้ศูนย์ฯ จะมีการดำเนินงานที่สอดคล้องกับ 5 ยุทธศาสตร์และแผนการดำเนินงานย่อย ดังนี้ 1) ตัวอย่างโครงสร้างพื้นฐานสำคัญของศูนย์ฯ ที่จะช่วยสนับสนุนการทำเกษตรสมัยใหม่ ได้แก่ ระบบ Plant Factory สำหรับการผลิตพืชสมุนไพร/พืชมูลค่าสูง ที่มีระบบการเตรียมต้นพันธุ์ การปลูก การเก็บเกี่ยวที่ครบวงจรและได้มาตรฐาน

อีกทั้งยังมีบริการหลักของศูนย์ฯ ที่ให้บริการแก่เกษตรกรสถาบันวิจัย/มหาวิทยาลัยทั้งไทยและต่างชาติ รวมถึงกลุ่มบริษัท/ Startups ที่เน้นเทคโนโลยีการเกษตรใหม่ๆ ได้แก่ (1) การให้บริการวิจัยและทดลองผลิตในระดับขยายขนาด (2) พื้นที่/ระบบสาธิตสำหรับเครือข่ายวิจัยหรือชุมชนวิจัย (ผลิต เก็บเกี่ยว และตลาด) และ (3) ให้บริการให้คำปรึกษา/ฝึกอบรมครบวงจรและแลกเปลี่ยนความรู้ทางเทคนิค โดยศูนย์ฯ จะทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการกำหนดโจทย์วิจัยร่วมกัน เพื่อให้งานวิจัยในระยะต่อไปตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ประโยชน์ได้ทันทีเมื่อแล้วเสร็จ โดยมีผู้ใช้ประโยชน์ร่วมอยู่ในเครือข่ายวิจัยตั้งแต่เริ่มต้น

ระบบ Plan Factory เพื่อเกษตรสมัยใหม่

กลุ่มเป้าหมาย บริการและกลไกในการทำงาน ของศูนย์นวัตกรรมการเกษตร
กลุ่มเป้าหมาย บริการและกลไกในการทำงาน ของศูนย์นวัตกรรมการเกษตร

ทั้งนี้ กลไกการทำงานของศูนย์ฯ นวัตกรรมแห่งนี้ ให้ความสำคัญกับการเชื่อมโยงการทำงานอย่างใกล้ชิดระหว่างผู้พัฒนาและผู้ใช้เทคโนโลยี การทำงานในลักษณะเครือข่ายวิจัยทั้งกับสถาบันการศึกษา สถาบันวิจัยทั้งในและต่างประเทศ รวมถึงเน้นการทำงานอย่างใกล้ชิดกับ ARIPOLIS โดยเฉพาะในส่วนของการพัฒนาอุปกรณ์ทางการเกษตรอัจฉริยะ (Agri-Electronics) ดังแสดงให้เห็นถึงความเชื่อมโยงการทำงานร่วมกันระหว่างศูนย์ฯ ที่ตั้งอยู่ใน EECi และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

Functional Ingredient

ทิศทางการพัฒนามุ่งสู่การสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลผลิตทางการเกษตร รวมถึงความหลากหลายทางชีวภาพ โดยเปลี่ยนจากการผลิตและจำหน่ายในรูปของสินค้าแปรรูปขั้นต้นไปสู่การจำหน่ายเป็นสารประกอบเชิงหน้าที่ (Functional Ingredient) เพื่อเป็นวัตถุดิบตั้งต้นของอุตสาหกรรมอาหาร อาหารสัตว์ เครื่องสำอาง และชีวเภสัชภัณฑ์ ทั้งนี้การปรับเปลี่ยนดังกล่าวต้องอาศัยฐานทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีและการลงทุนทางเทคโนโลยีที่เข้มข้นขึ้น

เป้าหมายเพื่อพัฒนานวัตกรรมสนับสนุนการผลิตสารประกอบเชิงหน้าที่ ด้วยกระบวนการผลิตที่ได้มาตรฐานและมีข้อมูลวิทยาศาสตร์รองรับผลิตภัณฑ์ โดยให้ความสำคัญกับการจัดเตรียมโครงสร้างพื้นฐานสำคัญ ได้แก่ ระบบการผลิตระดับขยายขนาดสำหรับพืชและจุลินทรีย์ที่ได้มาตรฐาน GMP (Good Manufacturing Practice) จัดให้มีห้องปฏิบัติการทดสอบคุณสมบัติของสารประกอบสำหรับการนำไปใช้ประโยชน์ต่อที่หลากหลายทั้งในด้านอาหารเสริมสุขภาพ เครื่องสำอาง เภสัชภัณฑ์ ที่ได้มาตรฐานสากล รวมถึงมีการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยเี พื่อให้มีขอ้ มูลวิทยาศาสตร์รองรับคุณสมบัติพิเศษของสารประกอบเชิงหน้าที่แต่ละชนิด

ตัวอย่างโครงสร้างพื้นฐาน
ตัวอย่างโครงสร้างพื้นฐาน

ทั้งนี้ กลไกการทำงานของศูนย์ฯ นวัตกรรมแห่งนี้ ให้ความสำคัญกับการเชื่อมโยงการทำงานอย่างใกล้ชิดในลักษณะ Public Private and Partnership (PPP) กับภาคเอกชนทั้งผู้ประกอบการรายใหญ่และ SMEs การทำงานเชื่อมโยงกับเครือข่ายวิจัยทั้งในและต่างประเทศ รวมถึง Food Innopolis

SPACE INNOPOLIS

SPACE INNOPOLIS มุ่งพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมแบบครบวงจร รวมถึงการใช้ประโยชน์ต่อเนื่องจากเทคโนโลยีด้านการบินและอวกาศ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีอุตสาหกรรมการบินและอวกาศ มีความสำคัญอย่างมากต่อการพัฒนาวิจัยอุตสาหกรรมอนาคต (New S-Curve) เนื่องจากประเทศไทยเป็นฐานการผลิตด้านอุตสาหกรรมเทคโนโลยีปานกลาง แต่ขาดการพัฒนาวิจัยอุตสาหกรรมด้านอุตสาหกรรมการบินและอวกาศที่ใช้เทคโนโลยีสูงกว่า และใช้เงินลงทุนค่อนข้างมาก

การจัดตั้ง SPACE INNOPOLIS เป็นการต่อยอดจากการใช้เทคโนโลยีอวกาศของประเทศไทยที่มีการพัฒนาแล้ว ประกอบไปด้วย 2 ส่วนหลัก คือ

  1. การวิจัยที่เห็นผลได้ในระยะสั้น (Quickwin) เป็นการต่อยอดจากเทคโนโลยีที่พัฒนาเกือบจะสมบูรณ์แล้ว ได้แก่ การวิจัยการใช้ข้อมูลตำแหน่งจากดาวเทียมระบุตำแหน่ง GNSS มาใช้ประกอบการทำการเกษตรความแม่นยำสูง และงานก่อสร้างความแม่นยำสูง และการวิจัยใช้งานแบบ Dual-Use กับทางทหาร การพัฒนาระบบจัดการการจราจรทางอากาศการสร้างแผนที่เส้นทางความละเอียดสูงสำหรับการขนส่งสมัยใหม่รวมถึงการเฝ้าติดตาม ตรวจสอบวัตถุอวกาศ ดังนั้น การวิจัยแบบ Quickwin จะเป็นการพัฒนาที่สามารถทำได้ทันทีโดยไม่ต้องรอโครงสร้างพื้นฐาน EECi ให้เสร็จทั้งระบบและสามารถเห็นผลเป็นรูปธรรมได้ใน 2-5 ปี
  2. การวิจัยแนวหน้า (Frontier) เพื่อเป็นผู้นำเทคโนโลยีเฉพาะทางการบินและอวกาศ ที่ทำให้ประเทศไทยมีเทคโนโลยีการบินและอวกาศขั้นก้าวหน้า โดยที่ไม่เคยมีในประเทศไทยมาก่อน แต่เป็นสิ่งจำเป็นต่อการพัฒนาของโลกในอนาคต โดยมุ่งเน้นการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีสำหรับอุตสาหกรรมอวกาศสมัยใหม่ ได้แก่ แพลตฟอร์มอากาศยานไร้คนขับเพดานบินสูงเพื่อใช้ทดแทนดาวเทียม และการวิจัยและพัฒนาระบบนำส่งรองรับการส่งดาวเทียมน้ำหนักเบาเข้าสู่วงโคจร

โดยทั้ง 2 ส่วนจะตั้งอยู่ภายในพื้นที่ EECi รองรับการถ่ายทอดแบ่งปันเทคโนโลยีและทีมพัฒนา ร่วมกับหน่วยวิจัยอื่นในพื้นที่ รวมไปถึงการทำงานร่วมกับหน่วยงานเอกชนที่เชี่ยวชาญเทคโนโลยีเฉพาะด้านที่เกี่ยวข้อง ซึ่งได้ทำการหารือเพื่อหาแนวทางการพัฒนาโดยสังเขปกับตัวแทนของหน่วยงานเอกชนและหน่วยงานของรัฐ ในระดับประเทศและนานาชาติ

นอกจากโครงสร้างพื้นฐานด้านการวิจัยของ SPACE INNOPOLIS ในพื้นที่ EECi แล้ว ยังมีความร่วมมือกับ ARIPOLIS เพื่อที่จะเป็นตัวกลางเชื่อมโยงอุตสาหกรรมการบินและอวกาศแบบองค์รวม เทคโนโลยีเพื่ออุตสาหกรรมการบินและอวกาศ

แผนที่นำทางเทคโนโลยีอุตสาหกรรมการบินและอวกาศ

เทคโนโลยีเพื่อการอุตสาหกรรมการบินและอวกาศ
เทคโนโลยีเพื่อการอุตสาหกรรมการบินและอวกาศ

จะเห็นได้ว่าในห่วงโซ่คุณค่าของอุตสาหกรรมการบินและอวกาศต้องการองค์ประกอบหลายส่วนที่จำเป็นต้องเชื่อมโยงกับองค์ประกอบอื่นๆ เข้าด้วยกัน โดยจะเกิดเป็นองค์ความรู้เทคโนโลยีการบินและอวกาศทั้งระบบขึ้นที่ EECi และสามารถต่อยอดเชื่อมโยงเข้ากับอุตสาหกรรมอื่นๆ ได้ด้วยโดยสามารถเชื่อมโยงกับโครงสร้างพื้นฐานอื่นๆ ที่ได้วางแผนในการร่วมมือส่งเสริมนวัตกรรมอุตสาหกรรมการบินและอวกาศ เช่น

  • โครงสร้างพื้นฐานศูนย์ทดสอบ ประกอบดาวเทียมและการทดสอบอากาศยานมาตรฐานนานาชาติ ของสำนักงานพฒั นาเทคโนโลยอี วกาศและภมู สิ ารสนเทศ (สทอภ.) ตั้งอยู่ที่อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี
  • โครงการนิคมอากาศยาน (Aerotropolis) บริเวณท่าอากาศยานอู่ตะเภา จังหวัดระยอง เพื่อรองรับการซ่อมบำรุงอากาศยานและผลิตชิ้นส่วนอากาศยาน
  • โครงการสร้างศูนย์การเรียนด้านธุรกิจการบินของสถาบันการบินพลเรือน กทม. และเพื่อพัฒนาบุคลากรด้านการบิน รวมทั้งตลาดนักบินให้แก่ประเทศ
  • โครงการสร้างศูนย์การเรียนด้านการบินและอวกาศในมหาวิทยาลัยชั้นนำของประเทศ

การพัฒนาเทคโนโลยีสำหรับอุตสาหกรรมการบินและอวกาศของ SPACE INNOPOLIS และโครงสร้างพื้นฐานตามที่ได้กล่าวมา จะช่วยให้สามารถพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมการบินและอวกาศแบบครบวงจร ตั้งแต่การวิจัยขั้นต้นการทดสอบโมเดลจำลอง การใช้งานสภาพแวดล้อมเสมือนไปจนถึงการผลิตเพื่อใช้งานเชิงอุตสาหกรรม โดยสามารถมีการพัฒนาได้อย่างต่อเนื่องในทุกภาคส่วน ช่วยเสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขัน และผลักดันให้เป็นหนึ่งในประเทศแนวหน้าด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมการบินและอวกาศ

FOOD INNOPOLIS

มุ่งนำวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมมาผนวกกับการพัฒนาอุตสาหกรรมอาหาร เพื่อยกระดับอาหารของไทยให้มีคุณภาพมาตรฐานสากลด้านการตรวจสอบย้อนกลับและเป็นที่ยอมรับของประเทศคู่ค้า เพื่อเพิ่มมูลค่าในระบบนวัตกรรมอาหารอย่างครบวงจร และเพิ่มขีดความสามารถในการปรับตัวของอุตสาหกรรมให้เป็นดิจิทัล (Digital Transformation)

Food Innopolis มีแผนจัดตั้งห้องปฏิบัติการในสภาวะจริง (Living Lab) บนพื้นฐานการประยุกต์ใช้ IoT เพื่อสร้างสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการนำเทคโนโลยี IoT มาแก้ไขปัญหาและส่งเสริมการพัฒนากระบวนการต่างๆ ในห่วงโซ่อุปทานอาหาร (Food Value Chain) อย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจน

การสาธิตการพัฒนาฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ และแอปพลิเคชัน IoT และการสร้างระบบ Smart Manufacturing เพื่อให้ประกอบการไปต่อยอดงานธุรกิจหรืออุตสาหกรรมอาหารได้ ทั้งนี้ การพัฒนาเทคโนโลยี IoT เพื่อการทวนสอบกลับในอุตสาหกรรมอาหาร 4.0 มีการพัฒนาเทคโนโลยีเป้าหมายสำคัญ 2 ส่วน คือ (1) สนามทดลอง (Test Bed) และ (2) ศูนย์ปฏิบัติการสั่งการและศูนย์ข้อมูล (Intelligent Operating Command (IOC) and Data Centre) ทั้งนี้แผนในระยะแรกจะพัฒนาเทคโนโลยี IoT เพื่อการทวนสอบกลับในผลไม้โคนม และกุ้ง/ปลา

สนามทดลอง (Test Bed)

สนามทดลองและสาธิตการใช้งาน IoT ในห่วงโซ่อุปทานอาหาร ถือเป็นสิ่งโครงสร้างพื้นฐานสำคัญที่ช่วยให้มีสถานที่ทดสอบและทดลองใช้ IoT อย่างเป็นระบบและครบวงจร ตลอดทั้งห่วงโซ่อุปทานอาหาร ตั้งแต่วัตถุดิบไปจนถึงจุดการจัดวางเพื่อซื้อ-ขาย เพื่อให้สามารถเข้าถึงข้อมูลในแต่ละขั้นตอนแบบ Real-Time การสื่อสารแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างระบบต่างๆ ได้อย่างถูกต้อง แม่นยำและรวดเร็ว รวมถึงเพื่อประเมินปัญหา ตลอดจนความน่าเชื่อถือของระบบ สำหรับสนามทดลองนี้ ครอบคลุมทั้ง 6 ขั้นตอนในห่วงโซ่อุปทานอาหาร ได้แก่ การพัฒนาการเกษตรแม่นยำ (Precision Farming) การพัฒนาการเก็บเกี่ยวและบรรจุภัณฑ์อัจฉริยะ (Smart Harvest and Packaging) การพัฒนาโรงงานต้นแบบอัตโนมัติที่รวบรวมและส่งข้อมูล (Automatic Pilot Plant) การพัฒนาระบบขนส่งอัจฉริยะ (Smart Logistic) การพัฒนาต้นแบบคลังสินค้าและร้านขายปลีกอัจฉริยะ (Smart Warehouse and Retail) และการพัฒนาการรวมระบบและการทดสอบการใช้งาน (System Integration and Demonstration)

การพัฒนาการเกษตรแม่นยำ (Precision Farming) สำหรับการเพาะเลี้ยงกุ้ง/ปลา และโคนม การทำเกษตรความแม่นยำสูง คือรูปแบบการเกษตรที่นำเทคโนโลยี IoT เซนเซอร์ (IoT Sensor) ที่มีความแม่นยำสูงเข้ามาติดตั้งบนแปลงทดลอง เพื่อตรวจวัด ควบคุม และเก็บข้อมูลที่เป็นปัจจัยต่อการเจริญเติบโต เช่น อุณหภูมิ แสงแดด แรงลม ปริมาณนํ้าฝน สารอาหาร ความชื้นในอากาศ พร้อมนำข้อมูลที่ได้มาพัฒนาต่อยอดเป็นองค์ความรู้ใหม่ในการวางแผนให้พร้อมรับมือ และแก้ไขปัญหาที่จะเกิดขึ้นได้อย่างตรงจุดและทันท่วงที ทำให้สามารถคำนวณวันเก็บเกี่ยวผลผลิตอัตราผลตอบแทนโดยประมาณ และเฝ้าระวังความเสี่ยงในการเกิดโรค อีกทั้งเกิดการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด

การใช้เทคโนโลยีการเกษตรแม่นยำและ IoT Sensor ในการเลี้ยงกุ้งหรือปลาจะช่วยให้เกิดการพัฒนาซอฟต์แวร์เพื่อคาดการณ์คุณภาพของน้ำในบ่อเลี้ยงและสิ่งแวดล้อมที่เป็นอันตรายต่อกุ้งหรือปลา เกษตรกรจึงสามารถจัดการแก้ไขได้ทันท่วงที ส่วนการใช้เทคโนโลยีการเกษตรแม่นยำและ IoT Sensor กับฟาร์มโคนมจะสามารถติดตามและเก็บข้อมูล Real-Time พฤติกรรมสัตว์แต่ละตัวและสรุปปริมาณการบริโภคของสัตว์ ทำให้บริหารจัดการระบบการให้อาหารและหญ้าได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น รวมถึงสามารถคำนวณประสิทธิภาพของสัตว์แต่ละตัวในการเปลี่ยนอาหารเป็นเนื้อและนมได้อีกด้วย

การพัฒนาการเก็บเกี่ยวและบรรจุภัณฑ์อัจฉริยะ (Smart Harvest and Packaging) สำหรับการเพาะเลี้ยงกุ้ง/ปลาและโคนม การใช้เทคโนโลยีการเก็บเกี่ยวที่มีประสิทธิภาพ สามารถลดการใช้แรงงานคน ช่วยเก็บรักษาให้ผลผลิตยังคงสดและใหม่ ส่วนบรรจุภัณฑ์อัจฉริยะ ผู้ผลิตสามารถบันทึกข้อมูลสำคัญต่างๆเกี่ยวกับสินค้าลงไปช่วยในการเสริมสร้างภาพลักษณ์ของสินค้า ไม่ว่าจะเป็นรายละเอียดของวัตถุดิบ ข้อมูลอายุการใช้งาน และการเก็บรักษา สารประกอบที่อาจก่อให้เกิดภูมิแพ้ วันหมดอายุ หรือข้อมูลอัปเดตอื่นๆ ที่สำคัญ รวมถึงยังสามารถติดตามตรวจสอบสินค้าระหว่างการขนส่งไปจนถึงมือผู้บริโภค นอกจากนี้ บรรจุภัณฑ์และฉลากอัจฉริยะกลายเป็นเครื่องมือป้องกันการปลอมแปลงสินค้าปัญหาการปนเปื้อนสินค้า การขโมยสินค้า ทั้งยังเป็นตัวช่วยยืดอายุสินค้าให้กับธุรกิจอาหารและบรรจุภัณฑ์

การพัฒนาด้านหุ่นยนต์เพื่อการเก็บเกี่ยวและบรรจุภัณฑ์อัจฉริยะสำหรับผลไม้ (Fruit Harvesting Robot and Smart Packaging) หุ่นยนต์เริ่มมีทบาทสำคัญมากขึ้นสำหรับการทดแทนแรงงาน ซึ่งสามารถช่วยในการควบคุมงบประมาณได้เป็นอย่างดี เพิ่มความแม่นยำของการทำงาน การเก็บเกี่ยวผลไม้ โดยใช้หุ่นยนต์จะสามารถแยกผลไม้สุกและดิบ จากนั้นจึงคัดแยกผลไม้ตามคุณภาพและระดับความสุกบรรจุลงในบรรจุภัณฑ์อัจฉริยะ ดังนั้นการพัฒนาด้านหุ่นยนต์เพื่อการเก็บเกี่ยวผลไม้จึงช่วยทำงานทดแทนแรงงานมนุษย์ และส่งผ่านข้อมูลสำหรับตรวจสอบได้อย่างดีทีเดียว

การพัฒนาโรงงานต้นแบบอัตโนมัติ (Automatic Pilot Plant) รวบรวมและส่งข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการผลิตของการเลี้ยงกุ้ง/ปลา โคนม และผลไม้ การควบคุมคุณภาพแบบระบบอัตโนมัติเพื่อประมวลข้อมูลที่ได้ การสร้างระบบที่มีเซนเซอร์ตรวจจับอย่างใกล้ชิดและละเอียดในทุกขั้นตอนการผลิตอาหาร ถือเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อเชื่อมต่อระหว่างเครื่องจักรต่างๆ และบริหารจัดการการผลิตแบบ Real-Time มีระบบเฝ้าติดตามสถานะของอุปกรณ์ต่างๆ จากระยะไกลในโรงงาน เพื่อลดค่าใช้จ่ายในการซ่อมบำรุงและปฏิบัติการช่วยให้การผลิตมีความแม่นยำ ลดการสูญเสีย และการบริหารการผลิตมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น นำไปสู่การใช้ข้อมูลการผลิตมาพัฒนาสินค้าใหม่ หรือสร้างสินค้าที่มีมูลค่าสูงขึ้น ทั้งนี้โรงงานต้นแบบอัตโนมัติมีการเชื่อมโยงกับข้อมูลกับเครือข่ายอุทยานวิทยาศาสตร์ในแต่ละภูมิภาค เพื่อให้เกิดบูรณาการเครื่องมือและเข้าถึงข้อมูลในส่วนภูมิภาคนี้ผ่านช่องทาง EECi

การพัฒนาระบบโลจิสติกส์อัจฉริยะ (Smart Logistic) สำหรับการขนส่งกุ้ง/ปลาที่มีชีวิต การพัฒนาระบบโลจิสติกส์อัจฉริยะ สามารถทำให้วางแผนปฏิบัติและควบคุมการไหลและการจัดเก็บของสินค้าบริการและข้อมูลที่เกี่ยวข้องอย่างมีประสิทธิภาพมีความรวดเร็วในการขนส่งอย่างถูกต้อง แม่นยำ สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลกันตลอดเวลา การติดตามวัตถุดิบได้ Real-Time ส่งผลให้บริหารจัดการคลังสินค้า ลดระดับสินค้าคงคลัง เพิ่มอัตราการใช้ประโยชน์จากปริมาตรในคลังสินค้า ลดค่าแรงงานในการบริหารโลจิสติกส์ ช่วยเพิ่มความพึงพอใจในการให้บริการแก่ลูกค้า เป็นการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบการ

นอกจากนี้ ระบบโลจิสติกส์อัจฉริยะได้เชื่อมโยงการทำงานร่วมกันระหว่างศูนย์ฯ ที่ตั้งอยู่ใน EECi กับเทคโนโลยีการสื่อสารระหว่างยานยนต์กับสิ่งอื่น (Connected Vehicle Technology) การสื่อสารสิ่งของจากในรถบรรทุกเข้าสู่อินเทอร์เน็ต เพื่อพัฒนาการประยุกต์ใช้เทคโนโลยียานยนต์ยุคหน้าที่ไร้คนขับเข้ากับระบบโลจิสติกส์อัจฉริยะนี้

การพัฒนาต้นแบบคลังสินค้าและร้านขายปลีกอัจฉริยะ (Smart Warehouse and Retail) คลังสินค้าอัจฉริยะช่วยให้สามารถควบคุมการเคลื่อนย้ายจัดเก็บสินค้าภายในคลังสินค้ามีประสิทธิภาพสูงที่สุด โดยจัดเก็บสินค้าคงคลังให้น้อยลง และให้มีอัตราการหมุนเวียนสินค้าสูง ช่วยลดความสลับซับซ้อนยุ่งยากและมีโอกาสที่จะผิดพลาดได้สูงจากการบริหารจัดการคลังสินค้าแบบเดิมๆ ช่วยเพิ่มความเชื่อถือด้านความปลอดภัยในบุคลากรและสินทรัพย์ นำมาซึ่งความตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้าได้รวดเร็วและถูกต้องแม่นยำมากขึ้น

ร้านขายปลีกอัจฉริยะเป็นร้านค้าปลีกที่ช่วยทดลองขายสินค้าที่ได้ โดยมีการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ในการบริหารจัดการ Stock สินค้า การชำระเงิน สามารถตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคโดยทำการปรับเปลี่ยนวิธีการขายในรูปแบบใหม่ ทำให้เลือกซื้อของได้สะดวกและรวดเร็วมากยิ่งขึ้น โดยไม่ต้องต่อคิว ไม่ต้องจ่ายเงินกับพนักงาน การใช้เทคโนโลยีร้านค้าอัจฉริยะเข้ามาช่วยสามารถสร้างความพึงพอใจในการบริการได้มากยิ่งขึ้น ลูกค้าสามารถตรวจสอบย้อนกลับไปยังกระบวนการผลิตสินค้าทุกชนิดได้ เช่น การติดตั้งเซนเซอร์ตู้เย็นที่สามารถเปิดประตูอัตโนมัติเมื่อลูกค้ายืนอยู่หน้าตู้ และปิดประตูอัตโนมัติเมื่อหยิบสินค้าเสร็จ ในส่วนการจัดการสินค้าบนชั้นและคลังสินค้าทำได้แบบ Real-Time ทำให้มีสินค้าและการให้บริการครบถ้วนสม่ำเสมอ สามารถประเมินและตัดสินใจบริหารจัดการสต๊อกสินค้าให้สอดคล้องกับฤดูและเทศกาล รวมถึงประเมินยอดขายแต่ละผลิตภัณฑ์ได้ง่ายมากขึ้น อีกทั้งยังมีการเก็บข้อมูลพฤติกรรมของลูกค้าเพื่อนำไปเป็นข้อมูลในการพัฒนาสินค้าต่อไป

การพัฒนาการรวมระบบและการทดสอบการใช้งาน (System Integration and Demonstration) System Integration เป็นส่วนสำคัญในการเลือกอุปกรณ์หลัก ออกแบบ ติดตั้งระบบเขียนโปรแกรมและจัดการ ตอนการทำงานของระบบอัตโนมัติและหุ่นยนต์เพื่อให้ระบบใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพแท้จริง รวมถึงมีการทดสอบการใช้งาน แก้ไขการใช้งานได้

ศูนย์ควบคุมสั่งการและศูนย์ข้อมูล (Intelligent Operating Command (IOC) and Data Center)

ศูนย์ควบคุมสั่งการ ทำหน้าที่การประมวลผลวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) กลั่นกรองและคัดเลือกข้อมูลที่มีความสำคัญที่เก็บรักษาไว้ในศูนย์ข้อมูล เพื่อช่วยในการบริหารจัดการ Testbed โดยให้ IoT ประมวลผลข้อมูลในบริบทของตน การทำงานของศูนย์ควบคุมสั่งการจำเป็นต้องอาศัยการทำงานของโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมการทำงาน (Middleware) ระหว่าง Application และ Network อีกทั้งช่วยส่งข้อมูลที่ต้องการ Privacy Protection และสร้างความเสถียรภาพให้ระบบ พร้อมรองรับข้อมูลตลอดเวลา นอกจากนี้ การทำงานของศูนย์ควบคุมสั่งการยังอาศัยปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence : AI) ที่พัฒนาจากเทคนิคการประมวลผลแบบ Machine Learning หรือ Deep Learning เพื่อการเรียนรู้สร้างระบบการทำงานแบบอัตโนมัติ การเชื่อมต่อสื่อสารและทำงานร่วมกันระหว่างเครื่องจักร ข้อมูล และมนุษย์ ช่วยสนับสนุนการตัดสินใจที่รวดเร็วและมีความถูกต้องแม่นยำสูง ช่วยวิเคราะห์เทรนด์การซื้อขาย พฤติกรรมผู้บริโภค และอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องอีกมากมาย สามารถปรับปรุงกระบวนการผลิตได้อย่างทันที

ศูนย์ข้อมูลเป็นฐานข้อมูลที่สนับสนุนการบริหารจัดเก็บข้อมูลทั้งหลายที่ได้จากเทคโนโลยี ที่ช่วยให้สรรพสิ่งรับรู้ข้อมูลในบริบทที่เกี่ยวข้อง เช่น เซนเซอร์ และข้อมูลจากเทคโนโลยีที่ช่วยให้สรรพสิ่งมีความสามารถในการสื่อสาร ทั้งนี้ ข้อมูลที่ได้อาจจะอยู่ในรูปแบบของภาพที่ได้จากดาวเทียม เมื่อต้องเผชิญหน้ากับข้อมูลจำนวนมหาศาล และมีรูปแบบที่หลากหลายที่ได้มาจาก Testbed ศูนย์ข้อมูล จึงต้องการพื้นที่การจัดเก็บข้อมูล (Data Storage) ที่มากพอ มีความปลอดภัยสูง (Block Chain) ระบบ Private Cloud ซึ่งช่วยบริหารจัดการข้อมูลได้ง่ายและมีประสิทธิภาพมากขึ้น รวมถึงการคัดกรองข้อมูลที่มีคุณค่าหรือมีประโยชน์กับการทำงานต้องอาศัยคอมพิวเตอร์สมรรถนะสูง High Performance Computing (HPC) สำหรับปัญญาประดิษฐ์ เข้ามาช่วยทำการประมวลผลสมการทางคณิตศาสตร์ที่มีความซับซ้อน เพื่อให้ได้โมเดลสำหรับการบริหารจัดการหรือการวิเคราะห์ข้อมูลที่รวดเร็ว แม่นยำขึ้น

สิทธิประโยชน์ที่จะได้รับ

  • สิทธิการเช่าที่ดินระยะยาวสำหรับจัดตั้งศูนย์วิจัย และการเช่าพื้นที่ในอาคารเพื่อการวิจัยและพัฒนา
  • โครงสร้างพื้นฐานที่สามารถใช้สอยร่วมกัน อาทิ อุปกรณ์/เครื่องมือวิเคราะห์ทดสอบ โรงผลิตชิ้นงานต้นแบบ โคเวิร์คกิ้งสเปซสนามทดลองและทดสอบ
  • ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลสูงสุด 13 ปี
  • อัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา 17% คงที่ สำหรับผู้เชี่ยวชาญ
  • ยกเว้นอากรนำเข้าวัตถุดิบสำหรับการทำวิจัยและพัฒนา
  • วีซ่าทำงานสำหรับผู้เชี่ยวชาญต่างชาติ
  • พื้นที่ผ่อนปรนกฎระเบียบในการทำนวัตกรรม (Regulatory Sandbox) และเป็นแหล่งรวมนักวิทยาศาสตร์ นักวิจัย และผู้เชี่ยวชาญ


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เอง โดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save