อีอีซี รุกคืบเปิด ToR รถไฟความเร็วสูง เชื่อม 3 สนามบิน


สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) ร่วมกับกระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงคมนาคม และการรถไฟแห่งประเทศไทย แถลงขั้นตอนการดำเนินการเพื่อคัดเลือกผู้ลงทุนในโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน พร้อมประกาศเชิญชวนเอกชนร่วมลงทุนปลายเดือนพฤษภาคมนี้

อีอีซี รุกคืบเปิด ToR รถไฟความเร็วสูง เชื่อม 3 สนามบิน

อุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ไพรินทร์ ชูโชติถาวร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม คณิศ แสงสุพรรณ เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก อานนท์ เหลืองบริบูรณ์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงคมนาคม ได้ร่วมกันระบุถึงกรอบเวลาของโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ซึ่งเป็นหนึ่งในโครงการเร่งด่วน เพื่อขับเคลื่อนโครงการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor : EEC) ว่า พร้อมจะประกาศเชิญชวนนักลงทุนภาคเอกชนที่มีศักยภาพทั้งไทยและต่างประเทศเข้าร่วมประกวดราคาแล้วในวันที่ 30 พฤษภาคม 2561 นี้ โดยมีเป้าหมายจะดำเนินการคัดเลือกผู้ลงทุนให้ได้ภายในปี 2561 นี้

เส้นทางรถไฟความเร็วสูงจากสนามบิน ดอนเมือง-สนามบินอู่ตะเภา

โครงการนี้ครอบคลุมเส้นทางรถไฟความเร็วสูงจากสนามบิน ดอนเมือง-สนามบินอู่ตะเภา โดยแบ่งเป็น 3 ช่วง รวมระยะทางประมาณ 220 กิโลเมตร

  1. รถไฟความเร็วสูงส่วนต่อขยายแอร์พอร์ตลิงก์ ดอนเมือง-พญาไท ระยะทาง 21 กิโลเมตร
  2. รถไฟแอร์พอร์ตลิงก์ พญาไท-สนามบินสุวรรณภูมิ ระยะทาง 29 กิโลเมตร
  3. ถไฟความเร็วสูงจากสนามบินสุวรรณภูมิ-สนามบินอู่ตะเภา ระยะทาง 170 กิโลเมตร
  4. พัฒนาพื้นที่สถานีและสนับสนุนการให้บริการผู้โดยสาร

อีอีซี รุกคืบเปิด ToR รถไฟความเร็วสูง เชื่อม 3 สนามบิน

กรอบการร่วมลงทุนในครั้งนี้ได้มีการนำเอาข้อเสนอและความคิดเห็นที่ได้รับจากนักลงทุนทั้งในและต่างประเทศมาพิจารณาอย่างจริงจัง เพื่อให้มีความสมบูรณ์และชัดเจนบนหลักการเปิดกว้างให้เกิดการแข่งขันของภาคเอกชน (International Bidding) เพื่อประโยชน์สูงสุดต่อภาครัฐ โดยจะดำเนินโครงการภายใต้ประกาศคณะกรรมการนโยบายเรื่องการร่วมลงทุนกับเอกชนหรือ PPP EEC Track

  • สถานีมักกะสันประมาณ 150 ไร่ สำหรับการเป็นสถานีหลักรถไฟความเร็วสูง
  • สถานีศรีราชาประมาณ 100 ไร่ สำหรับการเป็นสถานี เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟและโรงซ่อมหัวรถจักรของ รฟท.

คณิศ แสงสุพรรณ เลขาธิการอีอีซี กล่าวว่า “ด้วยการออกแบบกระบวนการให้รวดเร็วและกระชับในรูปแบบพีพีพี อีอีซี แทรค จะทำให้การเดินหน้าของโครงการรวดเร็ว สอดรับไปกับการพัฒนาของเขตพิเศษภาคตะวันออก สำหรับสถานีที่รถไฟจะวิ่งผ่านนั้น นอกเหนือไปจากเป็นการพัฒนาโครงข่ายคมนาคมสำหรับประชาชนแล้ว ยังเป็นส่วนหนึ่งที่รองรับการพัฒนาและการลงทุนที่จะเพิ่มขึ้นในเขตเศรษฐกิจภาคตะวันออก 3 จังหวัด อีกด้วย”


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เอง โดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save