รถยนต์ไฟฟ้า ECO EV เกิดยาก 3 ค่ายรถยนต์เมินลงทุน


หลัง สศอ. ประชุมร่วม 4 ค่ายรถยนต์ เพื่อเปิดรับฟังข้อเสนอ และแนวทางในการแก้ไขปัญหามาตรการ EV ระยะแรก เพื่อหวังยกระดับให้ไทยเป็นฐานที่มั่นการผลิตรถยนต์ที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้า 3 บริษัทรถยนต์ทราบโจทย์และขอกลับไปศึกษาแนวทาง 1 เดือนนั้น ล่าสุดได้ข้อสรุป 3 บริษัทค่ายรถยนต์เห็นตรงกัน ยังไม่พร้อมที่จะลงทุนใน ECO EV ไม่มีข้อเสนอที่จะตอบโจทย์ ทั้ง 4 ข้อ ในการแก้ไขมาตรการ ECO EV ระยะแรกได้

รถยนต์ไฟฟ้า ECO EV เกิดยาก 3 ค่ายรถยนต์ เมินลงทุน

ตามที่ สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) ได้นำเสนอมาตรการในการส่งเสริมรถยนต์ไฟฟ้าเพิ่มเติม เพื่อสนับสนุนให้เกิดการลงทุนการผลิตชิ้นส่วนสำคัญ Core Technology ของรถยนต์ไฟฟ้า ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญในการยกระดับไปสู่การเป็นฐานการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าในอนาคต รวมทั้งต้องการส่งเสริมให้ประชาชนสามารถเข้าถึงรถยนต์ที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้าได้ในราคาประหยัด และยังช่วยบรรเทาผลกระทบจากฝุ่นละอองขนาดเล็ก หรือ อีโค อีวี (ECO EV)

โดยมาตรการ ECO EV ดังกล่าว มีวัตถุประสงค์หลัก เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการสามารถปรับโฉมการผลิตรถยนต์ ECO Car ซึ่งเป็นฐานการผลิตรถยนต์หลักของประเทศไทย ซึ่งได้รับผลกระทบจากมาตรากรภาษีสรรพสามิตของการส่งเสริม EV ในระยะแรก และเพื่อปิดจุดอ่อนของมาตรการส่งเสริมดังกล่าว เพราะจากข้อมูลโครงการที่บริษัทผู้ผลิตขอรับการสนับสนุนนนั้น มีปัญหา 3 ประเด็นคือ

ประเด็นแรก ร้อยละ 79.8 ของ รถยนต์ทุกคันที่ลงทุนผลิต HEV นั้น ไม่สามารถชาร์ตไฟฟ้าได้ จึงไม่เอื้อให้เกิดการพัฒนาโครงข่ายไฟฟ้าที่จำเป็นต่อการพัฒนาสูง BEV ในอนาคตได้ และกว่าร้อยละ 91.8 ของรถยนต์ที่ได้รับการสนับสนุนไม่ได้มีการลงทุนใน Core Technology ของ EV ในประเทศไทยเลย

นอกจากนี้แล้ว รถยนต์ที่ทุกบริษัทขอรับการสนับสนุนการลงทุนจาก BOI นั้น ล้วนแล้วแต่ไม่ได้ใช้ชิ้นส่วนหลักของรถยนต์ไฟฟ้าในไทยเลย แต่เป็นการนำเข้ามาจากต่างประเทศ และนำมาประกอบในขั้นตอนปลายสุดในประเทศไทย คือการประกอบในส่วนของตัวถังและแบตเตอรี่เท่านั้น และรถยนต์ทุกคันที่ทุกบริษัทขอรับการสนับสนนุนมีราคาที่สูงถึง 1-6 ล้านบาทต่อคัน ซึ่งเป็นราคาที่สูงเกินกว่าประชาชนส่วนใหญ่เข้าถึงได้ ทำให้มีผลต่อการจำหน่ายที่แพร่หลายทั่วไป ส่งผลต่อความจูงใจในการลงทุนผลิตชิ้นส่วนในประเทศ

หากมีการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าราคาประหยัด หรือ ECO EV ได้ จะช่วยให้ประชาชนสามารถเข้าถึงรถยนต์ไฟฟ้าได้ในราคา 500,000 – 600,000 บาทต่อคัน อีกทั้งยังจะช่วยให้เกิดการลงทุนผลิตชิ้นส่วนหลัก เช่น เมอเตอร์ไฟฟ้า แบตเตอรี่ ระบบบริหารจัดการแบตเตอรี่ ระบบควบคุมการขับขี่ ทำให้เกิดการถ่ายทอดเทคโนโลยี เกิดการพัฒนาโครงข่ายการพัฒนาไฟฟ้า ช่วยพัฒนาการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าราคาประหยัดสูงยานยนต์แห่งอนาคตได้

โดยในช่วง 10 เดือนที่ผ่านมา อก.โดย สศอ.ได้ทำงานร่วมกับ BOI และ กระทรวงการคลัง และได้มีการปรับปรุงและสรุปข้อเสนอของมาตรการการ ECO EV จนล่าสุดสามารถตอบวัตถุประสงค์ต่างๆ ได้ครบทุกข้อ อย่างไรก็ตามก่อนที่จะได้สรุปและประกาศมาตรการนี้ ได้รับทราบจาก กระทรวงการคลังว่า ได้รับหนังสือลงนามจากบริษัทผู้ผลิตรถยนต์ที่เสนอขอรับการส่งเสริม HEV 3 รายคือ Toyota Honda และ Nissan และบริษัทผู้จัดจำหน่ายรถปิกอัพ 1 รายคือ ตรีเพรชอิซูซุ ได้มีข้อท้วงติง และต้องการให้ภาครัฐดำเนินมาตรการในทิศทางอื่น

และในรอบ 3 เดือนที่ผ่านมา อก. โดย สศอ.ได้หารือกับผู้ผลิต HEV ทุกรายอีก ทั้งการหารือแบบรายบริษัท และกลุ่ม 3+1 รายตามข้อมูลข้างต้น ซึ่งทั้ง 3 ค่ายรถยนต์ ประกอบด้วย โตโยต้า ฮอนด้า และนิสสัน รับที่จะเสนอแนวทางในการปรับโครงการการลงทุนของแต่ละบริษัท เพื่อให้ไม่เป็นเพียงโครงการประกอบ HEV ขั้นสุดท้าย แต่จะเพิ่มให้มีการลงทุนเพื่อพยายามตอบโจทย์ทั้ง 4 ข้อ คือ 1.ราคาที่คนไทยต้องเข้าถึง EV ได้ 2.มีกระบวนการผลิตของชิ้นส่วน EV core technology 3.มีการก้าวไปสู่รถยนต์ที่สามารถชาร์ทไฟฟ้าได้ เพื่อเปิดโอกาสให้มีการพัฒนาโครงข่ายการพัฒนาไฟฟ้า 4.มีเส้นทางการพัฒนาฐานการผลิต ECO Car ไปสู่ยานยนต์แห่งอนาคต ที่มีการขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์ไฟฟ้า

นายณัฐพล รังสิตพล ผู้อำนวยการ สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) เปิดเผยภายหลังหารือร่วมกับค่ายรถยนต์ 3 ค่ายล่าสุด ประกอบด้วย โตโยต้า ฮอนด้า และนิสสัน หลังนำข้อมูลแนวทางในการลงทุนผลิตรถไฟฟ้าราคาประหยัด หรือ ECO EV กลับไปศึกษาแนวทาง 1 เดือน ว่า ผู้ผลิตรถยนต์มีข้อท้วงติงว่าปัจจุบัน สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) ให้สิทธิประโยชน์ยกเว้นภาษีนำเข้าชิ้นส่วนหลักและลดหย่อนภาษีสรรพสามิตสำหรับรถยนต์ไฟฟ้าไฮบริด (HEV) อยู่แล้ว ภาครัฐจึงไม่ควรเร่งส่งเสริม ECO EV ควรรอให้มาตรการภาษีส่งเสริมรถยนต์ไฟฟ้าไฮบริดสิ้นสุดลงก่อนในปี 2568 รวมทั้งหากภาครัฐส่งเสริมการลงทุน ECO EV สำหรับรถยนต์ไฟฟ้าปลั๊กอินไฮบริด (PHEV) และรถยนต์ไฟฟ้าแบบแบตเตอรี่ (BEV) ในภาวะที่ตลาดยังไม่ได้มีความต้องการมากนัก อาจไม่จูงใจให้เกิดการลงทุน เนื่องจากไทยยังไม่มีความพร้อมสถานีชาร์จไฟฟ้ามารองรับด้วย


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เอง โดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save