มติ ครม. ลดภาษี รถกระบะ รถยนต์ไฟฟ้า แก้ไขปัญหาฝุ่นละออง ยอมสูญรายได้ 1,300 ล้าน แลกสภาพสิ่งแวดล้อมที่ดีขึ้น


มติ ครม. ลดภาษี รถกระบะ รถยนต์ไฟฟ้า แก้ไขปัญหาฝุ่นละออง แนะปรับเครื่องยนต์รับเติมดีเซล B20 ปล่อย PM ไม่เกิน 0.005 เก็บภาษีลดลง พร้อมยกเว้นภาษีรถยนต์ไฟฟ้าก่อนปี 2566 ยอมสูญเสียรายได้เข้ารัฐ 1,300 ล้าน แลกกับสภาพสิ่งแวดล้อมทางอากาศที่ดีขึ้น

นายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เผยถึงผลการประชุมคณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบมาตรการภาษีเพื่อยกระดับมาตรฐานการปล่อยมลพิษจากท่อไอเสียรถยนต์กระบะ และรถยนต์ไฟฟ้า ที่ทางกระทรวงการคลังนำเสนอ โดยในส่วนรถยนต์กระบะเครื่องยนต์ดีเซลที่มีค่า PM ไม่เกิน 0.005 กรัมต่อกิโลเมตร หรือใช้เครื่องยนต์ที่สามารถใช้น้ำมัน B20 ได้ จะได้รับการปรับลดภาษีสรรพสามิตลงประมาณ 0.5-2% ส่วนรถยนต์ไฟฟ้า EV ที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนจาก BOT จะได้รับการปรับลดภาษีสรรพสามิต จากที่ได้รับการส่งเสริมที่อัตราภาษี 2% จะเหลือ 0% ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2563 จนถึง 31 ธันวาคม 2565 รวมระยะเวลาทั้งสิ้น 3 ปี หลังจากนั้นในช่วง วันที่ 1 มกราคม 2566 จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2568 ให้กลับมาใช้อัตราภาษีเดิมที่ 2% ทั้งนี้เพื่อส่งเสริมให้มีการผลิตรถยนต์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยการปรับลดภาษีในครั้งนี้คาดอาจทำให้รัฐสูญเสียรายได้ประมาณ 1,300 ล้านบาทต่อปี

ตามที่รัฐบาลกำหนดนโยบายการแก้ไขปัญหาฝุ่น PM2.5 – PM10 ให้เป็นวาระแห่งชาติ และได้มอบหมายให้ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดลำดับความแร่งด่วนเพื่อแก้ไขปัญหาอย่างจริงจัง กรมสรรพยามิต กระทรวงการคลังได้นำปัจจัยเรื่องการปล่อยมลพิษฝุ่น PM มาเป็นหลักในการกำหนดอัตราภาษีควบคู่กับหลักการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ที่ใช้อยู่เดิม มาตั้งแต่ปี 2559 ซึ่งมาตรการหลักการจัดเก็บภาษีตามอัตราการปล่อย CO2 จะมีส่วนช่วยลดปัญหาก๊าซเรือนกระจก แต่ไม่ครอบคลุมถึงมลพิษจากท่อไอเสียที่ก่อให้เกิดปัญหาฝุ่นควันและมลพิษทางอากาศ โดยเฉพาะรถยนต์ที่ใช้เครื่องยนต์ดีเซล์ เช่น รถกระบะ ในปัจจุบันรถยนต์ที่ผลิตและจำหน่ายในประเทศต้องมีการทดสอบค่ามลพิษโดยอ้างอิงตามมาตรฐานยูโร 4 ซึ่งกำหนดให้ใช้เครื่องยนต์ดีเซล์ที่ปล่อยฝุ่น PM ได้ไม่เกิน 0.025 กรัมต่อกิโลเมตร

ดังนั้นการยกระดับมาตรฐานการปล่อยมลพิษจากท่อไอเสียของรถยนต์จากมาตรฐานยูโร 4 ที่ใช้ในปัจจุบัน มาเป็นการใช้มาตรฐานยูโร 5 ให้เร็วขึ้น จะช่วยลดอัตราการปล่อยฝุ่นจากท่อไอเสียของรถยนต์รุ่นใหม่ ซึ่งเป็นผลดีต่อสภาพแวดล้อมและมีความคุ้มค่ากับการลงทุนในภาคอุตสาหกรรม ประกอบกับการนโยบายสนับสนุนรถยนต์พลังงานไฟฟ้า ที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน หรือ BOI ให้ลดภาษีสรรพสามิตรถยนต์ไฟฟ้าจากเดิม 8% เป็น 2% ยังไม่ได้รับความนิยมเท่าที่ควร เนื่องจากรถยนต์ไฟฟ้ามีราคาที่สูงเมื่อเทียบกับรถยนต์สันดาปในขนาดที่ใกล้เคียงกัน กรมสรรพสามิตจึงเห็นควรให้สนับสนุนรถยนต์ไฟฟ้าที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนด้วยอัตราภาษีพิเศษ เนื่องจากรถยนต์ไฟฟ้าไม่ก่อให้เกิดมลพิษจากท่อไอเสีย

ภาษีสรรพสามิต รถกระบะ

สำหรับการปรับโครงสร้างภาษีสรรพสามิตรถยนต์กระบะ จัดเก็บภาษีทั้งหมด 4 ประเภท คือ

รถยนต์กะบะไม่มีแค็ป (No Cab) การปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ไม่เกิน 200 กรัมต่อกิโลเมตร โครงสร้างภาษีปัจจุบัน (ค่า CO2) เก็บภาษีในอัตรา 2.5% ส่วนโครงสร้างภาษีใหม่ (ค่า C02 และค่า PM) นั้น หากมีค่า PM เกิน 0.005 คิดอัตราภาษีที่ 2.5% แต่หากค่า PM ไม่เกิน 0.005 หรือสามารถใช้น้ำมันดีเซล B20 ได้ จะคิดอัตราภาษีที่ 2% ส่วนรถยนต์ที่ปล่อยปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เกิน 200 กรัมต่อกิโลเมตร โครงสร้างภาษีปัจจุบัน (ค่า CO2) เก็บภาษีในอัตรา 4% ส่วนโครงสร้างภาษีใหม่ (ค่า C02 และค่า PM) นั้น หากมีค่า PM เกิน 0.005 คิดอัตราภาษีที่ 4% แต่หากค่า PM ไม่เกิน 0.005 หรือสามารถใช้น้ำมันดีเซล B20 ได้ จะคิดอัตราภาษีที่ 3%

รถยนต์กระบะ (Space Cab) การปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ไม่เกิน 200 กรัมต่อกิโลเมตร โครงสร้างภาษีปัจจุบัน (ค่า CO2) เก็บภาษีในอัตรา 4% ส่วนโครงสร้างภาษีใหม่ (ค่า C02 และค่า PM) นั้น หากมีค่า PM เกิน 0.005 คิดอัตราภาษีที่ 4% แต่หากค่า PM ไม่เกิน 0.005 หรือสามารถใช้น้ำมันดีเซล B20 ได้ จะคิดอัตราภาษีที่ 3% และในส่วนรถยนต์ที่ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เกิน 200 กรัมต่อกิโลเมตร จะถูกเก็บภาษีเพิ่มขึ้นอีก 2%

รถยนต์กระบะ 4 ประตุ (Double Cab) การปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ไม่เกิน 200 กรัมต่อกิโลเมตร โครงสร้างภาษีปัจจุบัน (ค่า CO2) เก็บภาษีในอัตรา 10% ส่วนโครงสร้างภาษีใหม่ (ค่า C02 และค่า PM) นั้น หากมีค่า PM เกิน 0.005 คิดอัตราภาษีที่ 10% แต่หากค่า PM ไม่เกิน 0.005 หรือสามารถใช้น้ำมันดีเซล B20 ได้ จะคิดอัตราภาษีที่ 9% และในส่วนรถยนต์ที่ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เกิน 200 กรัมต่อกิโลเมตร จะถูกเก็บภาษีเพิ่มขึ้นอีก 3%

รถยนต์กระบะ 4 ประตู (Double Cab) แบบผสมที่ใช้เชื้อเพลิงและไฟฟ้า การปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ไม่เกิน 175 กรัมต่อกิโลเมตร โครงสร้างภาษีปัจจุบัน (ค่า CO2) เก็บภาษีในอัตรา 8% ส่วนโครงสร้างภาษีใหม่ (ค่า C02 และค่า PM) นั้น หากมีค่า PM เกิน 0.005 คิดอัตราภาษีที่ 8% แต่หากค่า PM ไม่เกิน 0.005 หรือสามารถใช้น้ำมันดีเซล B20 ได้ จะคิดอัตราภาษีที่ 6%

ภาษีสรรพสามิต รถยนต์ไฟฟ้า

สำหรับการปรับโครงสร้างภาษีสรรพสามิตรถยนต์แบบพลังงานไฟฟ้า (Electric Powered Vehicle) แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ

รถยนต์ EV ที่ไม่ได้รับการส่งเสริมจาก BOI อัตราภาษีปัจจุบัน 8% อัตราภาษีใหม่ระหว่าง 1 มกราคม 2563 – 31 ธันวาคม 2565 และอัตราภาษีใหม่ ระหว่าง 1 มกราคม 2566 – 31 ธันวาคม 2568 อยู่ที่ 8% เท่ากับภาษีในปัจจุบัน

รถยนต์ EV ที่ได้รับการส่งเสริมจาก BOI อัตราภาษีปัจจุบัน 2% อัตราภาษีใหม่ระหว่าง 1 มกราคม 2563 – 31 ธันวาคม 2565 ที่ 0% และอัตราภาษีใหม่ ระหว่าง 1 มกราคม 2566 – 31 ธันวาคม 2568 อยู่ที่ 2%


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เอง โดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save