ดีอียกระดับเคเบิลใต้น้ำเพิ่มศักยภาพไทยก้าวสู่ศูนย์กลางดิจิทัลอาเซียน


ปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) กล่าวถึงระยะขยายโครงข่ายเคเบิลใต้น้ำคืบหน้า เร่งเพิ่มประสิทธิภาพระบบเคเบิลใต้น้ำระหว่างประเทศของไทย รองรับทราฟิกกลุ่มประเทศอาเซียนตอนบน พร้อมสู่การเป็นดิจิทัลฮับของอาเซียน

ดีอียกระดับเคเบิลใต้น้ำเพิ่มศักยภาพไทยก้าวสู่ศูนย์กลางดิจิทัลอาเซียน

นางสาวอัจฉรินทร์ พัฒนพันธ์ชัย ปลัดกระทรวงดีอี กล่าวว่า ในขณะนี้ความคืบหน้าการเร่งดำเนินโครงการยกระดับโครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคมเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ ระยะที่ 2 : เพิ่มประสิทธิภาพโครงข่ายอินเทอร์เน็ตระหว่างประเทศสู่การเป็นศูนย์กลางการแลกเปลี่ยนข้อมูลดิจิทัลของภูมิภาคอาเซียน (ASEAN Digital Hub) ซึ่ง บมจ. กสท โทรคมนาคม(CAT) เป็นผู้ดำเนินการ 3 ระยะโดยมุ่งสู่เป้าหมายผลักดันไทยเป็นศูนย์กลางข้อมูลดิจิทัลอาเซียนและส่งเสริมศักยภาพของไทยให้มีบทบาทสำคัญในการเปลี่ยนผ่านของอาเซียนสู่ยุคดิจิทัลระยะที่ดำเนินใกล้แล้วเสร็จ ระยะที่ 1.มีการขยายความจุโครงข่ายภายในประเทศเชื่อมโยงไปยังชายแดด เพื่อเชื่อมต่อประเทศกัมพูชา ลาว และ เมียนมา รวมความจุที่ขยายเพิ่ม 2300 Gbps อยู่ในระหว่างการทดสอบและติดตั้งอุปกรณ์ใน 151 สถานีทั่วประเทศ และระยะที่ 2. การขยายความจุระบบโครงข่ายเคเบิลใต้น้ำระหว่างประเทศที่มีอยู่ในเส้นทางสิงคโปร์ จีน (ฮ่องกง)และสหรัฐอเมริกา จำนวน 3 ระบบ คือ AAG, APG, FLAG โดยรวมความจุที่ขยายเพิ่ม1,770 Gbps ซึ่ง CAT ได้ดำเนินการครบถ้วนแล้วสามารถรองรับปริมาณทราฟิกทั้งประเทศซึ่งปัจจุบันอยู่ที่ประมาณ 7,512 Gbps ช่วยลดต้นทุนค่าใช้บริการอินเทอร์เน็ตลดลง เพิ่มโอกาสให้ประชาชนเข้าถึงข้อมูลและบริการภาครัฐที่เป็นประโยชน์

อัจฉรินทร์ พัฒนพันธ์ชัย
นางสาวอัจฉรินทร์ พัฒนพันธ์ชัย ปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี)

สำหรับระยะที่ 3 การลงทุนก่อสร้างเคเบิลใต้น้ำระหว่างประเทศระบบใหม่เพื่อเชื่อมโยงประเทศในเอเชียแปซิฟิก ได้แก่ สิงคโปร์ ฮ่องกงญี่ปุ่น ไทย จีน เวียดนาม มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และเกาหลีใต้ งบประมาณ 2,000ล้านบาท ล่าสุดผ่านการเสนอต่อ ครม.รับทราบและอยู่ระหว่างดำเนินการ โดยคาดว่าจะมีการลงนามในเอกสารข้อตกลงระหว่างภาคีสมาชิกภายในเดือนกรกฎาคม 2562 และลงนามสัญญาจ้างภายในเดือนสิงหาคม 2562 ซึ่งจะก่อสร้างแล้วเสร็จและสามารถทดสอบระบบรวมถึงส่งมอบสิทธิการใช้งานให้กระทรวงดีอีภายในปี 2564

พันเอกสรรพชัย หุวะนันทน์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ CAT ขณะนี้การดำเนินในแต่ละระยะมีความคืบหน้า จะมีการเซ็นสัญญาร่วมระหว่างอาเซียนกับจีนในการเชื่อมโยงโครงข่าวร่วมกัน และประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการติดต่อสื่อสารสำหรับกลุ่มอาเซียนตอนบนซึ่งจะส่งผลดีต่อโครงการระเบียบเศรษฐกิจพิเศษ หรือ EEC ทำให้การติดต่อสื่อสารระหว่างกันทำได้สะดวกและรวดเร็วยิ่งขึ้น นับว่าเป็นโอกาสอันดีที่ประเทศไทยจะสามารถดึงดูดความสนใจของผู้ประกอบกิจการคอนเทนต์ รายใหญ่มาตั้งฐานข้อมูลในประเทศไทย

สรรพชัย หุวะนันทน์
พันเอกสรรพชัย หุวะนันทน์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ กสท. การโทรคมนาคม (CAT)

โครงการ Digital Park Thailand ซึ่งเป็นพื้นที่ส่งเสริมพิเศษตามนโยบาย EEC สำหรับรองรับนักลงทุนด้านดิจิทัลประเทศไทยและจากต่างประเทศเข้ามาลงทุนทำธุรกิจเกี่ยวเนื่องกับเทคโนโลยีต่าง ๆ เช่น 5G,AI, Cloud, IoTs, Smart City, Big Data รวมถึงเป็นจุดสนใจสำหรับผู้ประกอบกิจการคอนเทนต์ระดับโลก โดยประเทศไทยตั้งอยู่ ณ จุดภูมิศาสตร์ที่เหมาะสมต่อการเป็นศูนย์กลางการติดต่อสื่อสารสำหรับกลุ่มประเทศอาเซียนตอนบน ได้แก่ กัมพูชา ลาวและเมียนมา ซึ่งประเทศเหล่านี้มีการเติบโตของอินเทอร์เน็ตทราฟิกสูง อันจะทำให้ประเทศไทยสามารถพัฒนาศักยภาพก้าวสู่การเป็น ASEAN Digital Hub ตอนบนได้อย่างมั่นคง


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เอง โดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save