ดัชนีเชื่อมั่นอุตสาหกรรม มี.ค. สูงสุดรอบ 74 เดือน รับแรงหนุนการบริโภคภายในประเทศ


ส.อ.ท. เผยดัชนีเชื่อมั่นอุตสาหกรรม เดือนมีนาคม 2562 แตะ 96.3 สูงสุดรอบ 74 เดือน และเป็นการเพิ่มขึ้น 3 เดือนติดต่อกัน อย่างไรก็ตามคาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้ายังวิตกเหตุการเมืองหลังเลือกตั้ง และสถานการณ์เศรษฐกิจโลกชะลอตัว เอกชนหวังจัดตั้งรัฐบาลใหม่โดยเร็ว หนุนออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจระยะสั้น ขณะที่ยอดผลิตรถยนต์เดือนมีนาคม สูงสุดรอบ 68 เดือน ยอดขายในประเทศ และส่งออกโตต่อเนื่อง

ดัชนีเชื่อมั่นอุตสาหกรรม มี.ค. สูงสุดรอบ 74 เดือน รับแรงหนุนการบริโภคภายในประเทศ

นายสุพันธุ์ มงคลสุธี ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยผลการสำรวจความเชื่อมั่นผู้ประกอบการประจำเดือนมีนาคม 2562 จากการสำรวจจำนวน 1,207 ราย ครอบคลุม 45 กลุ่มอุตสาหกรรม พบว่า ค่าดัชนีความเชื่อมั่นอยู่ที่ระดับ 96.3 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากระดับ 95.6 ในเดือนกุมภาพันธ์ ซึ่งเป็นการปรับตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 และยังเป็นค่าดัชนีสูงสุดในรอบ 74 เดือน นับตั้งแต่กุมภาพันธ์ 2556

ทั้งนี้จากการสำรวจ พบว่า ความเชื่อมันปรับตัวเพิ่มขึ้นยังคงได้รับการหนุนจากการบริโภคภายในประเทศ ขณะเดียวกันการจัดกิจกรรมส่งเสริมการขายของผู้ประกอบการ ทำให้ยอดขายและยอดคำสั่งซื้อปรับตัวเพิ่มขึ้น อาทิ สินค้าในกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ กลุ่มอุตสาหกรรมก่อสร้าง อุตสาหกรรมสิ่งพิมพ์ และอุตสาหกรรมอาหาร เป็นต้น อีกทั้งผู้ประกอบการได้เร่งการผลิต เพื่อชดเชยในเดือนเมษายนที่มีวันทำงานน้อยกว่าปกติ เนื่องจากมีวันหยุดยาวต่อเนื่องในช่วงเทศกาลสงกรานต์ สะท้อนจากดัชนีปริมาณการผลิตและอัตราการใช้กำลังการผลิตที่ปรับตัวสูงขึ้น

โดยในกลุ่มอุตสาหรกรรมยานยนต์ มีการเติบโตเพิ่มขึ้นสูงสุดรอบ 68 เดือน จากการผลิตรถยนต์ของไทยที่มีทั้งสิ้น 198,821 คัน โดยเป็นการปรับเพิ่มขึ้นจากเดือนมีนาคม 2561 คิดเป็น 1.83% ส่งผลให้การผลิตรถยนต์ 3 เดือนแรกปีนี้ (ม.ค.-มี.ค. 62) มีทั้งสิ้น 561,487 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 4.04% โดยยอดขายรถยนต์ภายในประเทศเดือนมีนาคม 2562 อยู่ที่ 103,164 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 8.5% เนื่องจากมียอดจองจากงานบางกอก อินเตอร์เนชั่นแนล มอเตอร์โชว์ ครั้งที่ 40 กว่า 37,000 คัน

อย่างไรก็ตามดัชนีคาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้าปรับตัวลดลงอยู่ที่ระดับ 104.2 โดยลดจาก 105.4 ในเดือนกุมภาพันธ์ 2562 เหตุมาจากผู้ประกอบการมีความกังวลต่อสถานการณ์การเมืองไทยภายหลังการเลือกตั้ง การปรับขึ้นของอัตราค่าจ้างขั้นต่ำที่อาจกระทบต่อต้นทุนของผู้ประกอบการขนาดกลางและย่อม (เอสเอ็มอี) และการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกโดยเฉพาะเศรษฐกิจประเทศคู่ค้า รวมถึงราคาน้ำมัน และอัตราแลกเปลี่ยนด้วย


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เอง โดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save