ความคืบหน้าโครงการ EEC เพื่อสร้างความเชื่อมั่นแก่นักลงทุน


สำนักงานเพื่อการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (สกรศ.) พร้อมด้วย สำนักงานส่งเสริมการลงทุน (BOI) และสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) ร่วมแถลงรายละเอียดความคืบหน้าการลงทุน การปรับตัวของภาคอุตสาหกรรมในพื้นที่โครงการระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) เพื่อสร้างความเชื่อมั่นแก่นักลงทุนชาวไทยและชาวต่างชาติในการเข้ามาร่วมลงทุนเพิ่มเติม

ความคืบหน้าโครงการ EEC เพื่อสร้างความเชื่อมั่นแก่นักลงทุน

ดร.วีรพงศ์ ไชยเพิ่ม ผู้เชี่ยวชาญพิเศษด้านการลงทุนอุตสาหกรรมเป้าหมาย คณะกรรมการนโยบายสำนักงานเพื่อการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (สกรศ.) กล่าวว่า นับตั้งแต่ พ.ศ. 2520 ที่ทางรัฐบาลได้ดำเนินโครงการอีสทิร์นซีบอร์ด จากนั้นกว่า 30 ปี ก็ไม่มีโครงการใหม่ๆ ที่จะมาต่อยอดโครงการอีสทิร์นซีบอร์ด ดังนั้นการพัฒนาโครงการระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ถือเป็นการต่อยอดโครงการเดิม โดย EEC นี้ จะขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยีตามนโยบาย Thailand 4.0

ดร.วีรพงศ์ ไชยเพิ่ม ผู้เชี่ยวชาญพิเศษด้านการลงทุนอุตสาหกรรมเป้าหมาย คณะกรรมการนโยบายสำนักงานเพื่อการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (สกรศ.)
ดร.วีรพงศ์ ไชยเพิ่ม

ตามแผนการดำเนินการนั้น ช่วง พ.ศ. 2560-2565 จะเป็น World-Class Economic Zone เร่งพัฒนาพื้นที่ Hub สำหรับภาคอุตสาหกรรม ครอบคุลมพื้นที่อีสเทิร์นซีบอร์ดเดิม และเพิ่มเติมพื้นที่ EEC ในพื้นที่ 3 จังหวัด ได้แก่ ฉะเชิงเทรา ชลบุรี และระยอง เพื่อพัฒนาศักยภาพอุตสาหกรรมไทย โดยเฉพาะอุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ของไทยและอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ที่นักลงทุนชาวญี่ปุ่นได้เข้ามาร่วมบุกเบิกกับนักธุรกิจชาวไทยในช่วงก่อตั้งอีสเทิร์นซีบอร์ดให้กลับมาเฟื่องฟูอีกครั้ง

ตลอดช่วง 1 ปีที่ผ่านมา การดำเนินงานได้คืบหน้าในระดับหนึ่งผู้ที่เกี่ยวข้องทุกหน่วยงานได้มีการประชุมติดตามรายงานผลความคืบหน้าการทำงานในส่วนต่างๆ เดือนละ 2-3 ครั้ง โครงการที่มีความคืบหน้า เช่น การลงทุนโครงสร้างพื้นฐานและระบบโลจิสติกส์การคมนาคมทางถนน ทางอากาศ และทางน้ำ ให้มีการเชื่อมโยงอย่างไร้รอยต่อ ความคืบหน้าไปถึงขั้นไหน มีปัญหาหรือข้อติดขัดอย่างไรบ้าง เพื่อให้โครงสร้างพื้นฐานและระบบโลจิสติกส์ซึ่งถือเป็นหัวใจหลักที่สำคัญต้องแล้วเสร็จก่อนภาคส่วนอื่นๆ เพื่อที่จะเข้าไปดำเนินการในพื้นที่ EEC ได้สะดวกยิ่งขึ้น

ในส่วนของงบประมาณการลงทุนนั้น รัฐบาลคาดว่าจะใช้งบการลงทุนไม่น้อยกว่า 1.5 ล้านล้านบาท ภายใน 5 ปี เพื่อรองรับการพัฒนาอุตสาหกรรมการลงทุนใน 10 อุตสาหกรรมเป้าหมาย ประกอบด้วย 1.อุตสาหกรรมปิโตรเคมีที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม 2.อุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่ 3.อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ อัจฉริยะและหุ่นยนต์ 4.อุตสาหกรรมแปรรูปอาหาร 5.การเกษตรเทคโนโลยีชีวภาพ 6.เชื้อเพลิงและเคมีชีวภาพ 7.อุตสาหกรรมการบิน 8.อุตสาหกรรมโลจิสติกส์ 9.อุตสาหกรรมดิจิทัล 10.การแพทย์ครบวงจร และเพิ่มเติมในส่วนอุตสาหกรรมป้องกันประเทศทุกรูปแบบ

งบประมาณแบ่งเป็นการลงทุนในอุตสาหกรรมเป้าหมายประมาณ 5 แสนล้านบาท การลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐาน 3 เส้นทาง ครอบคลมุ ทางถนน ทางอากาศ และทางน้ำประมาณ 4 แสนล้านบาท การลงทุนเพื่อการพัฒนาเมืองใหม่ สร้างโรงพยาบาล โรงเรียน ที่อยู่อาศัยนักลงทุน ประชาชน ภาคส่วนต่างๆ ประมาณ 4 แสนล้านบาทและการลงทุนด้านการท่องเที่ยวเชิงคุณภาพและสุขภาพประมาณ 2 แสนล้านบาท

การส่งเสริมและพัฒนาจะแบ่งเป็น 6 เขต คือ

  1. เขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษไบโอเทคโนโลยีและอาหาร จังหวัดฉะเชิงเทรา
  2. เขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษยานยนต์อนาคต จังหวัดชลบุรี
  3. เขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษท่าเรือแหลมฉบัง จังหวัดชลบุรี
  4. เขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษอุปกรณ์อากาศยาน จังหวัดระยอง
  5. เขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษอุตสาหกรรมปิโตรเคมีและไบโออีโคโนมี จังหวัดระยอง
  6. เขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษสนามบินอู่ตะเภาและพื้นที่ข้างเคียงจังหวัดระยอง

นอกจากนั้น แบ่งพื้นที่เพื่อการลงทุนใน 10 กลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมายประมาณ 70,259 ไร่ โดยคำนึงถึงการใช้พื้นที่ให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ทุกๆ หน่วยงานพันธมิตรที่เข้ามาร่วมพัฒนาพื้นที่ รวมทั้งมีแผนการจัดการทางด้านสิ่งแวดล้อมในระดับสากล ประกอบด้วย อุตสาหกรรมปิโตรเคมีที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม 18,000 ไร่ อุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่ อิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะและหุ่นยนต์ 7,259 ไร่ อุตสาหกรรมแปรรูปอาหาร การเกษตรเทคโนโลยีชีวภาพ เชื้อเพลิงชีวภาพ 21,500 ไร่ อุตสาหกรรมการบิน 500 ไร่ อุตสาหกรรมโลจิสติกส์ 20,000 ไร่ อุตสาหกรรมดิจิทัลและการแพทย์ครบวงจร 3,000 ไร่ และอุตสาหกรรมป้องกันประเทศที่เพิ่มเข้ามาใหม่อีก 100 ไร่ เนื่องจากที่ผ่านมาอุตสาหกรรมป้องกันประเทศที่ใช้ในประเทศไทยนั้นเป็นการคิดค้นและใช้เองภายในประเทศ แต่ยังไม่สามารถที่จะทำการส่งออกเพื่อจำหน่ายเชิงพาณิชย์ไปยังต่างประเทศ ทั้งยุทโธปกรณ์ทางทหาร รถถัง จรวด อาวุธอื่นๆ ทางรัฐบาลต้องการให้นักลงทุนชาวไทยและชาวต่างชาติเข้ามาร่วมลงทุนและถ่ายทอดเทคโนโลยีเหล่านี้ร่วมกันในอนาคตด้วย ซึ่งในเบื้องต้นประเทศสหรัฐอเมริกา ประเทศในยุโรปที่เขามีการพัฒนาอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ ได้แสดงความสนใจที่จะเข้ามาลงทุนแล้ว 3-5 ราย ผ่านการโรดโชว์ทั้งในและต่างประเทศเพื่อชักชวนนักลงทุนทั่วทุกมุมโลกเข้ามาลงทุนและตั้งฐานการผลิตที่ประเทศไทยให้ในอุตสาหกรรมต่างๆ ตามที่กำหนดไว้ เพื่อสร้างความเชื่อมั่น เสริมความแข็งแกร่งในการดำเนินโครงการ EEC

อย่างไรก็ตาม มีข้อกังวลว่าหลังการเลือกตั้ง โครงการพัฒนาพื้นที่ EEC จะเกิดสุญญากาศ หรือต้องชะลอออกไปหรือไม่นั้น ตามแผนการพัฒนาพื้นที่ EEC มีการวางขั้นตอนการดำเนินการมีคณะกรรมการนโยบายสำนักงานเพื่อการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (สกรศ.) ดูแลในทุกๆ ส่วนของการทำงานให้เดินหน้าตามกำหนดการและแผนที่วางเอาไว้เป็นสัดส่วน แม้มีการเลือกตั้ง หรือยังไม่ได้รัฐบาลใหม่เข้ามาสานต่อโครงการ ก็สามารถขับเคลื่อนไปได้อย่างต่อเนื่องตามแผน 5 ปีอย่างแน่นอน

อุตสาหกรรมเป้าหมายจะได้รับยกเว้นภาษีสูงสุด

อัจฉรา สุนทรครุฑ ผู้อำนวยการกองยุทธศาสตร์และแผนสำนักงานส่งเสริมการลงทุน (BOI)
อัจฉรา สุนทรครุฑ

อัจฉรา สุนทรครุฑ ผู้อำนวยการกองยุทธศาสตร์และแผนสำนักงานส่งเสริมการลงทุน (BOI) กล่าวว่า BOI มีการจัดการส่งเสริมการลงทุนในทุกรูปแบบแก่นักลงทุนชาวไทยและชาวต่างชาติและมีสิทธิประโยชน์มอบให้แก่นักลงทุนที่เข้ามาลงทุนในพื้นที่ EEC ตามยุทธศาสตร์สำคัญ เช่น การถ่ายทอดเทคโนโลยีให้แก่ผู้ประกอบการชาวไทย โดยเฉพาะกลุ่มผู้ประกอบการรายย่อยหรือ SME การสร้างนวัตกรรมสีเขียว Green Industry การสร้างนวัตกรรมลดค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับพลังงาน ของเสียในรูปแบบต่างๆ ตามนโยบายของรัฐบาลได้วางเอาไว้ในแต่ละอุตสาหกรรม

ส่วนเรื่องการลดหย่อนภาษีนั้น ทาง BOI ได้หารือกับกรมสรรพากรเพื่อขอลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาให้กับผู้เชี่ยวชาญ นักวิจัย และบุคลากรที่อื่นๆ ที่จะเข้าไปร่วมทำงานในพื้นที่ EEC ลดหลั่นกันตามวัตถุประสงค์ในการลงทุน อาทิ ถ้าลงทุนในอุตสาหกรรม AI ซึ่งเป็นการลงทุนในอุตสาหกรรมฐานความรู้ที่เน้นงานวิจัย การออกแบบที่ทันสมัยตามเป้าหมาย ก็จะได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลสูงสุดคือ 8 ปี ไม่จำกัดวงเงิน เพราะถือเป็นการลงทุนเพื่อความมั่นคงและยั่งยืนตามเกณฑ์ Technology-Based Incentives ก็จะให้สิทธิประโยชน์พิเศษกับการลงทุนเพื่อพัฒนาเทคโนโลยีเป้าหมายที่ไทยมีศักยภาพ

สำหรับใน พ.ศ. 2560 ที่ผ่านมานักการลงทุนต่างชาติที่เข้ามาลงทุนใน EEC อันดับ 1 ได้แก่ นักลงทุนจากประเทศญี่ปุ่น อันดับ 2 เป็นนักลงทุนชาวจีน และอันดับ 3 เป็นนักลงทุนในยุโรปและประเทศในเอเชียเริ่มเข้ามาขอรับการลงทุนเพิ่มขึ้น และมีโครงการที่ได้รับอนุมัติลงทุนในประเทศไทยรวม 1,227 โครงการ มูลค่ารวม 625,080 ล้านบาท โดยเป็นการอนุมัติให้ส่งเสริมการลงทุนใน 10 อุตสาหกรรมเป้าหมาย จำนวน 588 โครงการ มีมูลค่ารวม 201,627 ล้านบาท โดยจำนวนนี้มีโครงการที่ได้รับอนุมัติลงทุนในพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก 259 โครงการ มูลค่ารวม 310,337 ล้านบาท ส่วนใน พ.ศ. 2561 นี้คาดว่าจะมียอดคำขอรับการส่งเสริมการลงทุนใน EEC เพิ่มเติมไม่น้อยกว่า 300,000 ล้านบาท ใน 600 โครงการ

เร่งส่งเสริมการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีใหม่ๆ เข้ามาร่วมทำ­งานมากขึ้น

สุพันธ์ มงคลสุธี ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.)
สุพันธ์ มงคลสุธี

สุพันธ์ มงคลสุธี ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวว่า ผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรมของไทยมีหลายประเภท ทั้งคนรุ่นเก่าที่ไม่มีโอกาสได้ใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีใดๆ เข้ามาทำงานในโรงงานหรือในกิจการเลยกับผู้ประกอบการรายใหม่ๆ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นรุ่นลูกรุ่นหลานที่ได้มีโอกาสเรียนรู้ในนวัตกรรมและเทคโนโลยีต่างๆ ที่ทันสมัยที่เข้ามามีบทบาทสำคัญในการทำธุรกิจในยุค Thailand 4.0 เช่น การสร้างเครือข่ายการค้าขายการทำธุรกิจผ่านโซเชียลเน็ตเวิร์ก เข้าใจเรื่อง Startup, Big Data, Blockchain, Facebook, Line และ AI หากผู้ประกอบการรายใดที่สามารถเข้าถึงนวัตกรรมและเทคโนโลยีที่ทันสมัยเหล่านี้แล้วนำ? มาปรับใช้ให้เกิดประโยชน์ เชื่อว่าอุตสาหกรรมจะมีการพัฒนาและได้รับการเชื่อถือจากตลาดที่เปลี่ยนไปมากขึ้น แต่หากไม่เปิดใจยอมรับการเปลี่ยนแปลง คิดว่ายังไม่มีความจำเป็น ขายของแบบเดิมๆ ผลิตแบบเดิม ก็จะไม่สามารถที่จะอยู่ในธุรกิจแวดวงอุตสาหกรรมนั้นๆ ได้

อย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบการที่นำนวัตกรรมและเทคโนโลยีมาใช้ก็ควรที่จะรู้เท่าทันในสิ่งเหล่านั้นด้วย เพราะทุกๆ อย่างมีทั้งคุณและโทษ หากไม่มีความเข้าใจก็ควรมีที่ปรึกษา ซึ่งในปัจจุบันนี้ มีหน่วยงานภาครัฐและเอกชนมากมายที่พร้อมจะให้คำปรึกษาอุตสาหกรรมธุรกิจของท่าน ท่านไม่ได้ทำธุรกิจประกอบอุตสาหกรรมเพียงลำพัง เพียงแต่ควรเปิดใจรับสิ่งใหม่ๆ สิ่งที่ดีก็เลือกไปปรับใช้สิ่งที่ไม่ดีก็ทิ้งไป

อีกประเด็นที่ทำให้ผู้ประกอบการไทย โดยเฉพาะผู้ประกอบการ SME ที่อยู่รอด เข้มแข็งได้ในปัจจุบันมีจำนวนไม่มากนักนั้น ส่วนใหญ่มาจากการเข้าถึงแหล่งข้อมูลที่สนับหนุนค่อนข้างยาก เงินลงทุนในระยะยาวมีน้อย แนะนำว่าให้เข้าไปปรึกษาหน่วยงานของกระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงพาณิชย์มหาววิทยาลัยที่มีข้อมูล มีเจ้าหน้าที่คอยให้คำแนะนำและปรึกษาได้ตรงจุด ส่วนสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ซึ่งมีสมาชิกในสังกัดกว่า 20,000 คนนั้นก็พร้อมที่จะแนะนำการทำธุรกิจในอุตสาหกรรมต่างๆ เพียงแต่ต้องแจ้งความประสงค์ว่าต้องการองค์ความรู้ ต้องการให้ช่วยในเรื่องใด จะได้จัดเจ้าหน้าที่เข้าไปดูแลได้ตรงกับความต้องการ เชื่อว่าผปู้ ระกอบการทุกๆ คนอยากเป็นผู้ประกอบการที่ประสบความสำเร็จในการทำธุรกิจดด้วยกันทั้งนั้น ดังนั้นสิ่งแรกทีผู้ประกอบการที่ต้องการประสบความสำเร็จในยุคนี้ต้องมีคือ MindSet ปรับกระบวนการความคิด ไม่เข้าใจการทำงานขั้นตอนไหนรีบหาความรู้เพิ่มเติม ต้องทำบัญชีอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้ทราบรายรับรายจ่ายที่แท้จริง เพื่อนำมาประเมินกำไรขาดทุน

นอกจากนั้นต้องรู้จักนำประสบการณ์ของนักธุรกิจที่ประสบความสำเร็จทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติมาปรับใช้ เพื่อให้ภาคอุตสาหกรรมไทยเกิดการสร้างรายได้กระจายตัว ไม่ใช่โตกระจุกจนกระจายอย่างปัจจุบันอีกต่อไป


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เอง โดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save