การบริหารการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่และโอกาสที่เกิดขึ้นในยุคอุตสากรรม 4.0


ด้วยกำลังการผลิตยานยนต์ราว 2 ล้านคันต่อปี1 ทำให้ประเทศไทยเป็นผู้ผลิตรถยนต์รายใหญ่ที่สุดของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และทำให้เศรษฐกิจของประเทศกลายเป็นเป้าหมายสำคัญที่สุดของการใช้เทคโนโลยีเพื่อการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ อาทิ ระบบอัตโนมัติและเทคโนโลยีหุ่นยนต์ อย่างไรก็ดี ข้อมูลจากสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย ระบุว่า ประเทศจะต้องสูญเสียงานมากกว่า 3 ล้านงานในช่วง 20 ปีข้างหน้า หากล้มเหลวในการประยุกต์ใช้งานเทคโนโลยีเหล่านี้2

การบริหารการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่และโอกาสที่เกิดขึ้นในยุคอุตสากรรม 4.0

นโยบายไทยแลนด์ 4.0 ซึ่งแถลงไว้เมื่อปี ค.ศ. 2017 ถือเป็นก้าวแรกสู่การนำเทคโนโลยีใหม่เหล่านี้มาใช้งาน หากความท้าทายแท้จริงที่รออยู่ก็คือ การทำให้แรงงานในอุตสาหกรรมยานยนต์ของไทยมีทักษะที่จำเป็นต่อการค้นพบแนวทางการใช้เทคโนโลยีต่าง ๆ อย่างสัมฤทธิ์ผลและมีความมั่นใจเหนือกว่ากลยุทธ์ธุรกิจแบบเดิม ๆ มิฉะนั้น การโยกย้ายการผลิตขนาดใหญ่ไปยังแหล่งอื่นจะกลายเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ซึ่งแรงงานที่ไร้ทักษะจะต้องประสบความเดือดร้อนครั้งใหญ่หลวงที่สุด

แน่นอน… ด้วยจำนวนแรงงานไร้ทักษะกว่า 16.9 ล้านคน ซึ่งคิดเป็น 45% ของแรงงานทั้งหมด ทำให้รัฐบาลต้องพบกับแรงกดดันมากขึ้นในการเตรียมความพร้อมของแรงงานในประเทศสำหรับนโยบายไทยแลนด์ 4.0 หากทางออกอาจอยู่ใกล้แค่เอื้อม ด้วยการใช้กลไกหุ่นยนต์เพื่อการทำงานร่วมกับมนุษย์ (โคบอท) หรือหุ่นยนต์ ซึ่งเป็นกลุ่มธุรกิจที่เติบโตเร็วที่สุดในอุตสาหกรรมเทคโนโลยีหุ่นยนต์

การลบล้างความเชื่อผิด ๆ ที่ว่า “หุ่นยนต์จะมาแทนที่มนุษย์”

บริษัทหลายแห่งมีความเชื่ออย่างผิด ๆ ว่าโซลูชั่นระบบอัตโนมัติทุกชนิดจำเป็นต้องใช้ต้นทุนสูง เป็นเทคโนโลยีซับซ้อนที่จะยิ่งทำให้การโยกย้ายงานไปยังแหล่งอื่นย่ำแย่ลงกว่าเดิม แต่ความเชื่อเหล่านี้ไม่เป็นความจริงสำหรับโคบอท ซึ่งถูกออกแบบมาให้ส่งสริมการปฏิบัติงานของมนุษย์ ไม่ใช่มาแทนที่มนุษย์

โคบอทแตกต่างจากหุ่นยนต์เพื่องานอุตสาหกรรมแบบเดิม ๆ ที่จำเป็นต้องมีกรงครอบเพื่อความปลอดภัย เพราะโคบอทติดตั้งมาพร้อมกับฟีเจอร์เพื่อความปลอดภัยในตัว ซึ่งทำให้สามารถผสานเข้ากับสายการผลิตได้อย่างปลอดภัยโดยขึ้นอยู่กับการประเมินความเสี่ยง ด้วยความสามารถในการผ่อนแรงคนงานจากงานที่ต้องใช้แรงมาก น่าเบื่อหน่าย หรือมีอันตราย ทำให้โคบอทช่วยลดความตึงเครียดและการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุในสถานที่ปฏิบัติงาน คนงานจึงสามารถเลื่อนระดับไปทำงานที่ต้องใช้ทักษะสูงกว่าและได้ค่าตอบแทนมากกว่าได้ ซึ่งถือเป็นการยกระดับความได้เปรียบทางการแข่งขันของธุรกิจในภาพรวม

โคบอทช่วยสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันแก่ธุรกิจผ่านการเพิ่มกำลังการผลิต ได้ชิ้นงานที่มีคุณภาพสม่ำเสมอขึ้น และช่วยลดต้นทุนการดำเนินงาน บริษัทยังสามารถปรับเปลี่ยนขนาดงานในธุรกิจได้พร้อม ๆ กับการสร้างงาน ซึ่งไม่เฉพาะในบริษัท แต่ยังครอบคลุมทั้งส่วนบนและส่วนล่างของห่วงโซ่อุปทาน นอกจากการสร้างงาน คนงานยังสามารถคาดหวังความพึงพอใจต่อผลงานได้มากขึ้น รวมถึงค่าตอบแทนที่สูงขึ้นด้วย

การคิดให้ไกลกว่านโยบายไทยแลนด์ 4.0

ในขณะที่นโยบายไทยแลนด์ 4.0 กำหนดให้เทคโนโลยีขั้นสูงเป็นศูนย์กลางของการผลิต แนวทางอุตสาหกรรม 5.0 ของยูนิเวอร์ซัล โรบอทส์ (Universal Robots – UR) ก้าวไปไกลกว่านั้น โดยคาดหวังให้ผู้ปฏิบัติงานทักษะสูงและหุ่นยนต์ทำงานต่อเนื่องกันในการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ บริการ และประสบการณ์ที่มีความเฉพาะตัว และให้ความสำคัญกับสัมผัสของมนุษย์เป็นอันดับแรกในงานอุตสาหกรรม3

เนื่องจากอุปสงค์ของตลาดและความคาดหวังของผู้บริโภคได้เปลี่ยนแปลงจากการผลิตแบบปริมาณมาก ไปสู่การสร้างสินค้าที่มีรูปแบบเฉพาะตัวและการสั่งทำเฉพาะชิ้น การทำงานร่วมกันระหว่างมนุษย์และหุ่นยนต์จึงเป็นสิ่งจำเป็นในการสร้างสัมผัสแบบมนุษย์ที่เป็นธรรมชาติ พร้อมกับการรักษามาตรฐานขั้นสูงของคุณภาพผลงานและกำลังการผลิต การใช้ประโยชน์จากความเร็ว กำลังการผลิต และความสม่ำเสมอของโคบอท ร่วมกับความคิดสร้างสรรค์และงานฝีมือของมนุษย์ จะช่วยให้แนวทางอุตสาหกรรม 5.0 บรรลุผลสัมฤทธิ์ในทั้งสองด้าน ผ่านการผสานขีดความสามารถของหุ่นยนต์เข้ากับทักษะของมนุษย์

หุ่นยนต์เพื่อการทำงานร่วมกับมนุษย์ (โคบอท)

โคบอทยังช่วยลดข้อจำกัดของระบบอัตโนมัติได้อย่างมาก ทำให้การนำมาใช้งานสามารถทำได้จริงสำหรับธุรกิจทุกขนาด แม้แต่กับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ซึ่งผลิตสินค้าในปริมาณน้อยและต้องมีการเปลี่ยนแปลงสายการผลิตแบบยกชุดอยู่บ่อยครั้ง ด้วยคุณสมบัติน้ำหนักเบาและขนาดกระทัดรัด ทำให้กลไกแขนหุ่นยนต์เหล่านี้สามารถผสานเข้ากับสายการผลิตในปัจจุบันได้โดยไม่ต้องยกเครื่องโรงงานของส่วนนั้น ๆ ใหม่ทั้งหมด จึงช่วยลดต้นทุนการผสานการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง โคบอทที่เป็นมิตรต่อผู้ใช้งานนี้ยังช่วยให้ผู้ปฏิบัติงานที่ไม่ได้ผ่านการฝึกอบรมสามารถติดตั้งและตั้งค่าโปรแกรมเพื่อการใช้งานได้หลากหลายรูปแบบ ผ่านเทคโนโลยีการสร้างภาพ 3 มิติที่ใช้งานง่าย โดยบริษัท PT JVC Electronics Indonesia (JEIN) ได้ติดตั้งโคบอทรุ่น UR3 ของยูนิเวอร์ซัล โรบอทส์จำนวน 7 หน่วยในปี ค.ศ. 2016 เพื่อทดแทนขั้นตอนการทำงานด้วยมือแบบเดิม ๆ โดยให้ช่างเทคนิคของบริษัทเข้ารับการฝึกอบรมการใช้งานหุ่นยนต์เพียง 4 วันเท่านั้น แม้ในช่วงแรกช่างเทคนิคเหล่านั้นจะลังเลต่อการเปลี่ยนแปลง แต่ภายหลังก็สามารถใช้งานระบบอัตโนมัตินี้ได้อย่างคล่องแคล่วภายในเวลาไม่กี่อาทิตย์

การขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงด้วยการศึกษา

ในการทำความเข้าใจถึงความท้าทายของการเปลี่ยนแรงงานทักษะต่ำส่วนใหญ่ของเมืองไทยไปสู่เศรษฐกิจแบบอุตสาหกรรมไฮเทค รัฐบาลจึงได้เพิ่มความพยายามในการปรับปรุงระบบให้ทันสมัย ผ่านการจัดสรรงบประมาณปี 2562 จำนวน 29,467 ล้านบาท เพื่อการพัฒนาทักษะแรงงานให้พร้อมสำหรับการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี4

ส่วนภาคเอกชนก็ไม่ได้นิ่งนอนใจ บริษัทต่าง ๆ อย่างยูนิเวอร์ซัล โรบอทส์ ได้นำเสนอหลักสูตรและเว็บบินาร์ระบบออนไลน์เพื่อสอนทักษะการตั้งโปรแกรมโคบอทผ่านทางสถาบัน UR Academy ให้แก่ผู้ใช้งานฟรี โดยไม่จำเป็นต้องมีพื้นฐานด้านเทคโนโลยีหุ่นยนต์มาก่อน ปัจจุบัน มีทั้งหมด 9 หลักสูตรและมีผู้ใช้งานมากกว่า 63,000 คนจากมากกว่า 130 ประเทศสมัครเข้าเรียน นอกจากนี้ ทางบริษัทยังมีบริการหลักสูตรฝึกอบรมในชั้นเรียนโดยผู้สอนที่ผ่านการรับรองคุณวุฒิ ภายในเครือข่ายศูนย์การฝึกอบรมอย่างเป็นทางการ5 ของยูนิเวอร์ซัล โรบอทส์

เนื่องจากประเทศไทยกำลังสร้างนโยบายอุตสาหกรรม 4.0 (และเรื่องอื่น ๆ ) ให้เกิดขึ้นจริง จึงนับเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งยวดที่รัฐบาลจะต้องลงทุนอย่างต่อเนื่องกับแรงงานในประเทศ เพราะเป็นหนทางเดียวเพื่อการสร้างผลสัมฤทธิ์สูงสุดต่อโอกาสทางเศรษฐกิจที่มีกำลังกิดการปลี่ยนแปลงเนื่องจากเทคโยโลยีในยุคอุตสาหกรรม 4.0 นี้


แหล่งอ้างอิงข้อมูล

1 https://www.worldatlas.com/articles/the-biggest-industries-in-thailand.html
2 http://www.nationmultimedia.com/detail/Economy/30345396
3 https://blog.universal-robots.com/collaborative-robots-ushering-in-industry-5.0
4 http://www.bb.go.th/en/topic-detail.php?id=8562&mid=456&catID=0
5 https://www.universal-robots.com/academy/


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เอง โดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save