กฟผ. เตรียมเปิด TOR โซลาร์ลอยน้ำ 45 เมกะวัตต์ ลงทุน 2 พันล้าน ขายซอง 15 พ.ค. นี้


‘กฟผ.’ เตรียมเปิด TOR ประมูลติดตั้งโซลาร์บนทุนลอยน้ำ 15 พฤษภาคมนี้ โดยนำร่องเขื่อนสิรินธรที่แรก ขนาด 45 เมกะวัตต์ คาดใช้เงินลทุนกว่า 2 พันล้านบาท เน้นเงื่อนไขใช้ชิ้นส่วนและอุปกรณ์ในประเทศเป็นหลัก 

นายเทพรัตน์ เทพพิทักษ์ รองผู้ว่าการพัฒนาโรงไฟฟ้าและพลังงานหมุนเวียน การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เปิดเผยว่า กฟผ. เตรียมเปิดประมูลโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์บนทุนลอยน้ำ หรือ Hydro Floating Solar Hybrid ในพื้นที่เขื่อนของ กฟผ. โดยจะนำร่องแห่งแรกที่เขื่อนสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี กำลังการผลิต 45 เมกะวัตต์ โดยมีกำหนดออกประกาศเชิญชวน ขายซองประมูลในวันที่ 15 พฤษภาคม นี้ จากนั้นจะให้ผู้ประกอบการยื่นซองประมูลภายในสิ้นเดือนกรกฎาคม 2562 และจะประกาศผู้ชนะการรประมูลภายในสิ้นเดือนตุลาคม 2562 และคิดว่าจะสามารถดำเนินโครงการได้ภายในเดือนมกราคม 2563 เพื่อให้สามารถจ่ายไฟฟ้าเชิงพาณิชย์ หรือ COE ได้ในเดือนธันวาคม 2563

'กฟผ' เตรียมเปิด TOR โซลาร์ลอยน้ำ ภถ เมกะวัตต์ ลงทุน 2 พันล้าน ขายซอง 15 พ.ค. นี้

ทั้งนี้โครงการนำร่องที่เขื่อนสิรินธร กำลังการผลิต 45 เมกะวัตต์นัั้น ในเบื้องต้นคาดว่าจะใช้เงินลงทุนประมาณ 2 พันล้านบาท โดยจะใช้พื้นที่ผิวน้ำสำหรับการติดตั้ง 450 ไร่ ซึ่งโครงการนี้จะถือเป็นโครงการไฮบริดขนาดใหญ่ที่สุดแห่งแรกของโลก ที่จะช่วยให้เกิดความมั่นคงของระบบไฟฟ้าและบริหารจัดการน้ำให้เกิดประโยชน์สูงสุด ด้วยการเชื่อมโยงระบบพลังน้ำ และใช้ทรัพยากรร่วมกับเขื่อน ได้แก่ หม้อแปลง สายส่ง และสถานีไฟฟ้าแรงสูง ช่วยเสริมความมั่นคงในระบบไฟฟ้า และเป็นจุดแลนด์มาร์คใหม่สำหรับการท่องเที่ยว

โดย กฟผ. ได้รับโจทย์จากกระทรวงพลังงานให้ร่างเงื่อนไขและหลักเกณฑ์การประมูล โดยมุ่งเน้นที่ผู้ประกอบการใช้ชิ้นส่วนและอุปกรณ์ในประเทศเป็นหลัก ซึ่ง กฟผ. อยู่ระหว่างออกแบบเงื่อนไขต่างๆ เบื้องต้นมีผู้ประกอบการในประเทศที่ผลิตทุ่นลอยน้ำได้ ประมาณ 2-3 ราย ส่วนการใช้แผงโซลาร์เซลล์เน้นชนิด Double Glass เนื่องจากมีความเหมาะสมกับสภาพการใช้งานที่วางแผงโซลาร์เซลล์ใกล้ผิวน้ำ ซึ่งมีความชื้นสูงและยังมีการเคลื่อนไหวของผิวน้ำตลอดเวลา

ด้าน นายศิริ จิระพงษ์พันศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน กล่าวว่าโครงการติดตั้งแผงโซลาร์บนทุ่นลอยน้ำเพื่อผลิตไฟฟ้าของ กฟผ. ถือว่าเป็นการส่งเสริมผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนที่บรรจุไว้ในร่างแผนพัฒนากำลังการผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย ปี 2561-2580 หรือ PDP 2018 ซึ่งจะดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน 10 ปี และต้องการกระตุ้นให้ผู้ประกอบการติดตั้งโรงงานผลิตแผงโซลาร์ฯ ชนิด Double Glass ที่เป็นเกรดพรีเมี่ยมในประเทศและส่งออกไปยังต่างประเทศในอนาคตด้วย


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เอง โดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save