กฟน. คลอดแผนแม่บทจัดงบจับสายไฟฟ้าลงใต้ดิน อีก 40 ปี กรุงเทพ-ปริมณฑล ปลอด ‘สายไฟ’


การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) ดำเนินการจัดทำแผนแม่บทโครงการเปลี่ยนระบบสายไฟฟ้าอากาศเป็นสายไฟฟ้าใต้ดิน 1,200 กิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่กรุงเทพมหานคร นนทบุรี และสมุทราปราการ เน้นพิจารณาตามสภาพแวดล้อม จุดที่ง่ายต่อการเข้าพื้นที่ รวมทั้งสภาพเศรษฐกิจและการขยายเมืองในแต่ละจุด คาดหากดำเนินการได้ตามแผนแม่บท เมืองหลวงและปริมณฑลจะใช้ระบบสายไฟฟ้าใต้ดินทั้งหมดในปี 2604

กฟน. คลอดแผนแม่บทจัดงบจับสายไฟฟ้าลงใต้ดิน อีก 40 ปี กรุงเทพ-ปริมณฑล ปลอด 'สายไฟ'

ตามที่ กฟน. ได้ดำเนินการจัดทำแผนแม่บทโครงการเปลี่ยนระบบสายไฟฟ้าอากาศเป็นสายไฟฟ้าใต้ดิน 1,200 กิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่กรุงเทพมหานคร นนทบุรี และสมุทราปราการ โดยในปีที่ผ่านมาได้มีการกำหนดพื้นที่ และได้ดำเนินการนำสายไฟฟ้าลงใต้ดินไปบ้างแล้วนั้น  ขณะนี้แผนแม่บทดังกล่าวได้ผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการบอร์ดไปแล้ว ซึ่งกฟน. ได้เสนอแผนไปยังสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) เพื่อให้พิจารณาเรื่องงบประมาณและแผนการทั้งหมด โดยทางผู้ที่เกี่ยวข้องเห็นควรจะดำเนินการทีละโครงการโดยแบ่งเป็นระยะทางและพื้นที่ให้มีความเหมาะสม

ดังนั้น กฟน. จึงจะพิจารณาดำเนินการในโครงการเปลี่ยนระบบสายไฟฟ้าอากาศเป็นสายไฟฟ้าใต้ดินฉบับเร่งรัด (Quickwin) ระยะทาง 22.5 กิโลเมตร แบ่งเป็น 2 ส่วนคือ ส่วนที่ 1 พื้นที่เมืองชั้นใน มีทั้งหมด 3 เส้นทางได้แก่ ถนนหน้าพระลาน-ถนนราชินี ถนนลูกหลวงข้างทำเนียบรัฐบาล และบริเวณริมคลองโอ่งอ่าง สะพานโอสถานนท์-สะพานดำรงสถิต ระยะทางรวม 1.75 กม. และในส่วนที่ 2 พื้นที่ตามแนวรถไฟฟ้าทั้งหมด 3 เส้นทางระยะทาง 20.5 กม. ได้แก่ ตามแนวรถไฟฟ้าสายสีม่วงถนนราชพฤกษ์-กาญจนาภิเษกตามแนวรถไฟฟ้าสายสีม่วงถนนกรุงเทพ-ถนนติวานนท์ และตามแนวรถไฟฟ้าสายสีเขียว ถนนสุขุมวิท 81-107 ซึ่งจะใช้งบประมาณทั้งสิ้น 3,673 ล้านบาท โดยจะต้องเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบ คาดว่าจะอนุมัติแผนฯ ได้ภายในปี 62 นี้

ซึ่งหากแผนดังกล่าวผ่านความเห็นชอบจาก ครม. แล้ว คาดว่าจะสามารถดำเนินการก่อสร้างได้ในช่วงประมาณปี 63-64 อย่างไรก็ตามในการจัดทำแผนแม่บทนั้นจะถือว่าเป็นการการเปลี่ยนระบบสายไฟฟ้าอากาศเป็นใต้ดินของกฟน. ที่จัดทำไว้เพื่อรองรับอนาคต หากดำเนินการแล้วเสร็จจะครอบคลุมพื้นที่ในกรุงเทพฯ นนทบุรี สมุทรปราการทั้งหมด โดย กฟน. ได้วางแผนเตรียมการไว้แล้วหากได้รับความเห็นชอบก็เริ่มดำเนินการทันที ซึ่งหลักในการที่จะนำสายไฟฟ้าอากาศลงใต้ดินนั้น จะพิจารณาตามสภาพแวดล้อม โดยยึดจากจุดที่ง่ายต่อการเข้าพื้นที่ รวมถึงสภาพเศรษฐกิจและการขยายเมืองในแต่ละจุดด้วย โดยหากสามารถดำเนินการได้ตามแผนแม่บทฯ เมืองหลวงและปริมณฑลจะใช้ระบบสายไฟฟ้าใต้ดินได้ทั้งหมดภายในปี 2604


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เอง โดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save